คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คล้ายคลึง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้สินค้าต่างประเภท
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้น ส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่ง ส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า "LION" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโต อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกัน ระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ในกรอบรูปไข่สองชั้นส่วนบนเป็นรูปลายฝรั่งส่วนล่างมีอักษรโรมันคำว่า 'LION'ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า สิงโตอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมทับบนกรอบรูปไข่ ส่วนของจำเลยเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรง อ้าปากคำรามอยู่ภายในกรอบรูปวงกลมสองชั้น ไม่มีตัวอักษร ที่ใต้วงกลมมีรูปช่อรวงข้าวสองช่อโค้งรองรับตามขอบวงกลม แต่ไม่จรดกันระหว่างรวงข้าวทั้งสองช่อมีโบผูกห้อยชายอยู่ตรงกลาง หากพิจารณาแต่เพียงส่วนประกอบก็จะเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารวมทั้งหมดจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก เพราะเป็นรูปหัวสิงโตหน้าตรงอ้าปากคำรามอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นสารสำคัญของเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่าย ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีประชาชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยเลือกใช้เครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จะใช้สำหรับสินค้าคนละประเภทกับโจทก์ ก็เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตวัตถุประสงค์บริษัท: การค้ำประกันทำได้หากมีวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
ตามหนังสือบริคณห์สนธิของจำเลยที่ 3 ปรากฏในข้อ 3(6) ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจำนอง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้าประกันเพื่อชำระหนี้ ดังนี้ ต้องถือว่าการค้ำประกันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าจากความคล้ายคลึงกัน และการใช้โดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตราหัวสิงโตหน้าตรง ของจำเลยก็เป็นหัวสิงโตหน้าตรง อันเป็นจุดเด่นคล้ายกันมาก กรอบล้อมต่างกันบ้างเป็นส่วนปลีกย่อย ของโจทก์จดทะเบียนมากว่า 10 ปี โจทก์จำเลยขอจดทะเบียนใช้ในการค้าประเภทอื่นอีกซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน มีลูกค้าของโจทก์หลายคนหลงว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนี้ เป็นการที่จำเลยละเมิดหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต ต้องระงับการใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรเล็กน้อย
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC สำหรับสินค้าจำพวก 3 จำพวกเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า VIPEXของจำเลยซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อน เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำประดิษฐ์ซึ่งเป็นตัวอักษรโรมัน สองพยางค์ท้ายอ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันว่า ไวเป๊ก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า TA เพิ่มข้างหน้าอีกพยางค์หนึ่ง แม้ตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์ขึ้นจะต่างกันก็จริง แต่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปก็มิได้พิจารณาตัวหนังสือ หากแต่อาศัยฟังจากเสียงตามสำเนียงเรียกขานแม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรตัวท้ายจาก X เป็น C สำเนียงที่อ่านก็ยังอ่านอย่างเดียวกัน การที่เพิ่มพยางค์อีกพยางค์หนึ่ง ก็ยังมีคำว่า VIPEC อยู่ บางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่า ไวเป๊ก ก็ได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับยาช่วยระงับไอและขับเสมหะส่วนจำเลยใช้สำหรับยาอมแก้ไอและยาทาแก้โรคผิวหนัง การที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC อาจทำให้เกิดสับสนเข้าใจผิดได้ กล่องและคำอธิบายสำหรับสินค้าจะแตกต่างกันอย่างไรไม่สำคัญ เมื่อจำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า VIPEX และจดทะเบียนไว้ก่อนโดยสุจริต โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า อันมีถ้อยคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันหรือคล้ายกันใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 779/2506 และ 105/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน แม้มีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรเล็กน้อย
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC สำหรับสินค้าจำพวก 3 จำพวกเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า VIPEXของจำเลยซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อน เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำประดิษฐ์ซึ่งเป็นตัวอักษรโรมัน สองพยางค์ท้ายอ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันว่า ไวเป๊ก แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า TA เพิ่มข้างหน้าอีกพยางค์หนึ่ง แม้ตัวอักษรโรมันที่ประดิษฐ์ขึ้นจะต่างกันก็จริง แต่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปก็มิได้พิจารณาตัวหนังสือ หากแต่อาศัยฟังจากเสียงตามสำเนียงเรียกขานแม้จะเปลี่ยนแปลงตัวอักษรตัวท้ายจาก X เป็น C สำเนียงที่อ่านก็ยังอ่านอย่างเดียวกันการที่เพิ่มพยางค์อีกพยางค์หนึ่ง ก็ยังมีคำว่า VIPEC อยู่ บางคนอาจเรียกย่อ ๆ ว่าไวเป๊กก็ได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์สำหรับยาช่วยระงับไอและขับเสมหะส่วนจำเลยใช้สำหรับยาอมแก้ไอและยาทาแก้โรคผิวหนัง การที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า TAVIPEC อาจทำให้เกิดสับสนเข้าใจผิดได้ กล่องและคำอธิบายสำหรับสินค้าจะแตกต่างกันอย่างไรไม่สำคัญ เมื่อจำเลยเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า VIPEX และจดทะเบียนไว้ก่อนโดยสุจริต โจทก์จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันมีถ้อยคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันหรือคล้ายกันใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน อันอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดหาได้ไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 779/2506 และ 105/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN'ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมันใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกันของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน' หรือ 'กานตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน' หรือ 'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมากเม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และการใช้สิทธิโดยสุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมดทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า "ตราหมี" จำเลยเรียกของตนว่า "ตราหมีทอง" ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนมไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันโดยสุจริต ไม่ทำให้สับสน ไม่ขัดสิทธิการจดทะเบียน
โจทก์จำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้า ที่อ่านแล้วมีสำเนียงคล้ายคลึงกัน คือ HI-PEX และ HYPEX กับสินค้าของตนซึ่งเป็นคนละชนิด โดยโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยาและเครื่องหอม ส่วนจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องเล่นจานเสียง บันทึกเสียง ฯลฯ ทั้งโจทก์จำเลยต่างได้ใช้กันมาโดยสุจริตและนานมาแล้วจำเลยมิได้ลอกหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีเป็นเรื่องโจทก์จำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนโดยสุจริตเป็นเวลาช้านานสำหรับสินค้าของตน ไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดหรือหลงผิดว่าสินค้าจำเลยเป็นสินค้าโจทก์ หรือทำให้ความเป็นเจ้าของสับสนแต่อย่างใดจำเลยจึงมีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1)
ฟ้องบรรยายเล่าเรื่องว่า จำเลยได้ผลิตแป้งน้ำปิดรูปเครื่องหมายอักษรไทยว่า แพนเค้กน้ำ มีลักษณะรูปเครื่องหมายตัวอักษรสำเนียงเรียกเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์นำออกจำหน่าย ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ เช่นนี้ เห็นได้ว่า คำฟ้องได้รวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุมาตรา 272 ไว้ แสดงให้เห็นเจตนาว่าประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 272(1) ด้วย
จำเลยที่ 2 - 3 รู้อยู่ดีแล้วว่า สินค้าเครื่องสำอางค์แป้งน้ำ PAN-CAKE ของโจทก์เป็นชื่อแพร่หลายคนรู้จักทั่วไป จำเลยจึงเอาคำว่า แพนเค้ก มาใช้กับสินค้าแป้งน้ำของจำเลยบ้างเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นสินค้า PAN-CAKE ของโจทก์ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) ส่วนจำเลยที่ 4 - 5 เป็นเพียงผู้จำหน่าย ไม่ปรากฎว่าได้รู้ว่าสินค้านั้นเอาคำว่า PAN-CAKE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้ จึงไม่มีความผิด.
of 5