คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบคุมอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย: ข้อบัญญัติควบคุมอาคารและการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ด้านหน้าอาคารพิพาทมิได้ร่นแนวอาคาร และด้านหลังอาคารพิพาทมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสาม และข้อ 76 (1) และ(4) ตามลำดับ ซึ่งโดยสภาพเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ส่วนชั้นลอยที่ต่อเติมจากแบบแปลนซึ่งตามแบบแปลนชั้นลอยอยู่ช่วงหลังของอาคารระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นสองของอาคารถูกต่อเติมพื้นจนจดด้านหน้าของอาคารมีลักษณะเป็นการเพิ่มชั้นของอาคารขึ้นอีกหนึ่งชั้นมีเนื้อเกินกว่าร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้อง ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 วรรคท้าย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้เช่นกันโจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของอาคารพิพาทรื้อถอนอาคารทั้งสามส่วนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (เดิม)และมีอำนาจร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการรื้อถอนตาม มาตรา 42 วรรคสาม (เดิม)
สำหรับชั้นดาดฟ้าซึ่งถูกก่อสร้างต่อเติมผิดไปจากแบบแปลน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 30 (1) นั้น เป็นกรณีที่อาจขออนุญาตได้ โจทก์ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง (เดิม)คือสั่งให้จำเลยที่ 3 แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้านั้นให้ถูกต้องเสียก่อน หากจำเลยที่ 3ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงจะมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 3 รื้อถอนชั้นดาดฟ้าที่ก่อสร้างไม่ถูกตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม (เดิม) เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตาม มาตรา 43 (เดิม)จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
อาคารชั้นเดียวขนาด4.00x3.00เมตรที่ก่อสร้างต่อเติมขึ้นใหม่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)ซึ่งเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนอาคารสูง4ชั้นที่จำเลยต่อเติมนั้นเมื่อรื้ออาคารชั้นเดียวแล้วก็จะทำให้มีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเกินกว่า30ใน100ส่วนของพื้นที่และยังมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันไม่น้อยกว่า2.00เมตรซึ่งจะไม่ขัดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)(4)ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารสูง4ชั้นจึงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ซึ่งโจทก์มีอำนาจสั่งให้จำเลยยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นเดียวขนาด4.00x4.00เมตรปรากฏว่าอาคารดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้รื้อถอนและไม่มีอาคารดังกล่าวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงอาคารดังกล่าวมาเป็นการบรรยายโดยสับสนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวด้วยนั้นจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณา
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลพิพากษาๆได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2 ทั้งสองฟาก ฯลฯ ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 และมาตรา 13แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตร จากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดกับประกาศกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคาร
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตาม แต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ริมถนนสุขาภิบาล 2ทั้งสองฟาก ฯลฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9และมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล 2 และยังมีผลใช้บังคับอยู่ ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร แม้ไม่มีข้อห้ามในตอนแรก แต่มีข้อห้ามใช้บังคับในภายหลัง
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบในฐานะเป็นหุ้นส่วนกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำความผิด แสดงว่าได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิด เพราะการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องสอบสวนดำเนินคดีผ่านทางกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 แล้ว
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ.2525, พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 หมวด 4 ข้อ30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 เช่น อาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง หาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้รื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2528และ พ.ศ. 2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาตและการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21,22และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30และขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างพ.ศ.2479และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่พ.ศ.2525,พ.ศ.2528และพ.ศ.2529แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการ ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30ทั้งขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลงจึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกและวรรคสาม(เดิม)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ และรั้วเข้าข่าย 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณะไม่ตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการให้ผู้อุทิศอาจทำหลักฐานเป็นหนังสืออุทิศที่ดินหรืออุทิศโดยปริยายก็มีผลทำให้ที่ดินที่อุทิศตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วหาจำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้ให้คำอธิบายคำว่า "อาคาร" หมายความว่าตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพคลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงรั้ว ฯลฯ ดังนั้นรั้วเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น จึงเป็นอาคารตามความหมายแห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
of 10