พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อสมาคมที่คล้ายคลึงกันจนประชาชนทั่วไปสับสน และการดำเนินธุรกิจซ้ำกัน ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาเลียนแบบ
โจทก์และจำเลยที่1มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกันโจทก์ใช้ชื่อ"จตุรเสนาสมาคม"มาก่อนจำเลยที่2เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อนโดยเป็นเหรัญญิกแล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่1จำเลยที่2มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อนและจำเลยที่2ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมาหลังจากจำเลยที่2ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่โดยจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่1รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนนั้นและจำเลยที่2ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่1จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคม และดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี7พยางค์และจำเลยที่1มี5พยางค์และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกันประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้การที่จำเลยที่1กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งสิทธิเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, เจตนาลวง, และสิทธิก่อน
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย แต่จำเลยปฏิเสธ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่า MARKS &SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencer ต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกัน คงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่ และมีตัว "S" ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว "S" ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตาม แต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกัน ทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือมาร์คส์หรือมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่า จำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้ว อ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS & SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่า MARKS &SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencer ต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกัน คงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่ และมีตัว "S" ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว "S" ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตาม แต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกัน ทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือมาร์คส์หรือมาร์ค แอนด์ สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่า จำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้ว อ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS & SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงจนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศ ใช้อักษรโรมัน มี 2 พยางค์เท่ากัน โดยเฉพาะพยางค์ต้นของโจทก์ใช้คำว่า PLAY แต่ของจำเลยดัดแปลงตัวอักษร A ให้ต่างกันเล็กน้อยเป็น play ซึ่งทั้งสองคำก็อ่านออกเสียงเหมือนกันว่าเพลย์ ส่วนพยางค์หลังของโจทก์คำหนึ่งอ่านว่า BOY และอีกคำหนึ่งอ่านว่า MATE แต่ของจำเลยได้ดัดแปลงให้ออกเสียงแตกต่างไปจากคำว่า MATE เล็กน้อยโดยเปลี่ยนใหม่ว่า man เมื่ออ่านออกเสียงคำว่า playman (เพลย์แมน) ของจำเลย จึงมีสำเนียงเรียกขานเกือบเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำว่า PLAYMATE (เพลย์เมท) ของโจทก์ ลักษณะตัวอักษรและจำนวนตัวอักษรก็ไล่เลี่ยกัน ของโจทก์ใช้อักษร 7 ตัว และ 8 ตัว ของจำเลยใช้อักษร 7 ตัว อักษรส่วนใหญ่เป็นตัวพิมพ์เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าคำว่าplayman ที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนจึงมีลักษณเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในสินค้าได้ เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปกระทิง 2 ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่า กระทิงคู่ อยู่ใต้รูปโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้า ทำท่าขวิดแบบที่ 3 เป็นกระทิง 2 ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กัน และแบบที่ 2เป็นรูปกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่ 2 แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงคำว่า กระทิงแดง อยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่เมื่อรูปกระทิงแตกต่างกันอย่างชัดเจนจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าที่มีรูปกระทิงเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายกระทิง2ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่ากระทิงคู่อยู่ใต้รูปดังกล่าวโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แบ่งออกได้3แบบคือแบบที่1เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดแบบที่2เป็นกระทิง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงดขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันและแบบที่3เป็นรูปกระทิงสีแดง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่2แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงดำว่ากระทิงแดงอยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วยลักษณะของรูปกระทิงของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้งดังนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตามเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้เกิดความสับสนและหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกเมื่อ พ.ศ.2520 คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับ กุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของสาธารณชน ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2532 ในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือ คำว่า COOK MATE กับ กุ๊คเมทโดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายประเภทคำ มีอักษรโรมันคำว่า COOKซ้ำกันและเขียนด้วยตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่า กุ๊ค แต่การ-ออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่า COOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่าย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าคำว่า COOK MATE และ กุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า COOK และ กุ๊ก ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK MATE และ กุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกเมื่อพ.ศ.2520คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับกุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จัดแพ่งหลายของสาธารณชนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อพ.ศ.2532ในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือคำว่าCOOKMATE กับกุ๊คเมท โดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำมีอักษรโรมันคำว่าCOOK ซ้ำกันและเขียนด้วยอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่ากุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่ากุ๊คแต่การออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่าCOOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่ายการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK และกุ๊ก ของCOOKที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการขอให้ถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" มีอักษรโรมันรวม 8 ตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX" มีอักษรโรมันรวม 7 ตัว และในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคงมีแตกต่างกันที่ตัวอักษรโรมันเพียง 2 ตัว คือตัวอักษร "ul" และ "E" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกคือตัวอักษร "D" ตัวอักษรอื่นเป็นตัวพิมพ์เล็ก ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ "D" เหมือนกัน และลงท้ายด้วยตัวอักษรโรมันคำว่า "COLAX" เหมือนกัน ทั้งการอ่านก็ออกเสียงเป็น 3 พยางค์ เหมือนกันซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งแม้แต่ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบ ก็ยากที่จะสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของโจทก์และจำเลยตามแผงบรรจุเม็ดยาต่างก็เป็นสินค้าประเภทยาระบายใช้สำหรับอาการท้องผูกเหมือนกันทั้งเม็ดยาและซองบรรจุยาก็มีลักษณะกลมนูนและมีขนาดเท่ากัน เม็ดยามีผิวเคลือบสีน้ำตาลเหลืองเหมือนกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้วย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX"จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดแล้ว โจทก์ได้ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์คำว่า "Dulcolax" เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX" ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ความคล้ายคลึง, สินค้าประเภทเดียวกัน, และการมอบอำนาจฟ้องแทน
หนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ตามกฎหมายต่างประเทศหาใช่ใบมอบอำนาจที่ทำได้ในเมืองต่างประเทศและศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47ไม่ดังนี้แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะไม่มีกงสุลไทยรับรองก็รับฟังได้ โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมคำแปลเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าโดย ฮ.ผู้ช่วยเลขานุการมอบอำนาจให้ บ.ฟ้องคดีแทนโจทก์โดยมี จ. โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐ นิวยอร์ครับรองว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวมีอำนาจลงชื่อในนามของโจทก์ได้ น.เสมียนมณฑลและเสมียนศาลสูงสุดมณฑล นิวยอร์คลงชื่อรับรองอำนาจและลายมือชื่อของ จ. และมี ส. กงสุลไทยแห่งสถานกงสุลใหญ่นคร นิวยอร์คลงชื่อรับรองลายมือชื่อของ น. ด้วยดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในเมืองต่างประเทศจึงมีการรับรองกันมาเป็นลำดับฟังได้ว่าผู้แทนโจทก์ดังกล่าวในเมืองต่างประเทศได้มอบอำนาจให้บ.ฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์ได้ผลิตและจำหน่ายยารักษาโรคชนิดต่างๆที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ตั้งแต่พ.ศ.2515และส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆทั่วโลกสำหรับประเทศไทยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2515สำหรับสินค้าจำพวกที่3 ประเภทยารักษาโรคผิวหนังบริษัทในเครือของโจทก์เป็นผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2518และได้โฆษณาสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยในหนังสือนิตยสารวงการแพทย์ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำเดียวกันกับของโจทก์ในพ.ศ.2532หลายปีจำเลยทราบว่ามีเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ใช้กับสินค้าจำพวกยารักษาผิวหนังก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ไม่มีคำแปลส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยก็ไม่มีคำแปลเช่นเดียวกันและออกสำเนียงเรียกขานว่า ฮาลอกหรือเฮลอกเหมือนกันทั้งสองคำต่างกันแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้นดังนี้เครื่องหมายการค้าคำว่า halog ของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOG ของโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดได้แม้จำเลยจะได้รับการจดทะเบียนสำหรับจำพวกที่48ประเภทเครื่องสำอางก็ถือได้ว่าสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้เมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่าHALOG กับสินค้าครีมทาผิวหนังมาก่อนจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า HALOGกับhalog ในสินค้าครีมทาผิวหนังและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลยและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการ-ค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้า สลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญ หาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสาร สลากเครื่องหมาย-การค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้ว การสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7