คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความปลอดภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และไม่อนุมัติมาตรการพิเศษด้านความปลอดภัย
แม้นายดาบตำรวจ ส. และจ่าสิบตำรวจ จ. พยานโจทก์จะเบิกความว่า จำเลยเคยถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมาก่อนแต่ก็ไม่ปรากฏว่าในขณะกระทำผิดคดีนี้ จำเลยเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ จึงไม่อาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49 มาใช้บังคับแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการสระว่ายน้ำที่ไม่จัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตและเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย ทำให้ผู้ใช้บริการเสียชีวิต ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ตระเตรียมพนักงานประจำสระว่ายน้ำไว้คอยช่วยเหลือผู้ใช้บริการสระว่ายน้ำของจำเลยที่ 1 กับไม่ได้เตรียมอุปกรณ์การช่วยชีวิตผู้ใช้สระว่ายน้ำในทันทีทันใดที่เกิดการช็อคหรือจมน้ำ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้จำเลยที่ 1 จะได้ปิดประกาศไว้ที่สระว่ายน้ำว่าจำเลยที่ 1 จะไม่รับผิดชอบใด ๆ เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการ ประกาศดังกล่าวก็ไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จะให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด จำเลยที่ 1จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการใช้วิธีการที่อยู่ในดุลพินิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ผู้ควบคุมงานของนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดที่พักแรมชั่วคราวที่ศาลาการเปรียญวัดซึ่งใช้ในระหว่างออกปฏิบัติงานก่อสร้างขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า การทำความสะอาดที่พักจำเป็นต้องใช้น้ำด้วย การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นลูกจ้างจะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของลูกจ้างเพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อลูกจ้างเลือกวิธีโดยไปยืมมอเตอร์สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบน้ำเพื่อทำความสะอาดที่พักถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของนายจ้างและถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง เมื่อลูกจ้างถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ที่ยืมมาดังกล่าวสูบน้ำขึ้นจากสระเพื่อจะทำความสะอาดที่พักแรม นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็กเล็ก และความละเลยของพนักงานช่วยชีวิต
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำ โดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไปในรูปการจำหน่ายบัตรให้แก่ผู้ใช้บริการ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีหน้าที่และมาตรการให้ความปลอดภัยและดูแลความเรียบร้อยของสระว่ายน้ำในระดับที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่เป็นเด็กเล็ก สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการให้บริการในลักษณะนี้ของสระว่ายน้ำ ได้แก่การจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ประกาศที่ทางสระว่ายน้ำระบุให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองนั้น ไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้ แม้จำเลยที่ 2 จะจ้างพนักงานช่วยชีวิตไว้ประจำสระว่ายน้ำก็ตาม แต่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำลงสู่พื้นสระว่ายน้ำไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์เลย ถือได้ว่าเป็นความละเลยของพนักงานช่วยชีวิตที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังกล่าวของพนักงานช่วยชีวิตซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยผู้ใช้บริการ และความรับผิดของลูกจ้างที่ทำการในทางการจ้าง
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำโดย มีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไป จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ประกาศที่ให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้เมื่อพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำของจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของพนักงานช่วยชีวิตที่อยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทจากการฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
เครื่องหมายจราจรเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้ขับรถได้ระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น การที่ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนขับรถยนต์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรทำให้เกิดเหตุขึ้นไม่ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งหยุดงานเพื่อความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า
ที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดงานชั่วคราวก็เพื่อถวายการอารักขาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ คำสั่งจำเลยที่ให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ทั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว โจทก์มิได้ ทักท้วงหรือโต้แย้งแต่ประการใด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการ หรืออำนวยความสะดวกให้โจทก์เข้าทำงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นการ ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอัน เกิดจากคำสั่งของจำเลย ดังกล่าวนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแซงรถใกล้ทางแยก: ผู้ขับขี่ต้องหยุดแซงหากไม่สามารถแซงได้ทันก่อนถึงทางแยก
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 46(2)ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซง เพื่อขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตรก่อนถึงทางแยกนั้นหมายความรวมถึงว่า แม้เริ่มขับรถแซงก่อนระยะ 30 เมตร แต่เมื่อมาถึงในระยะดังกล่าวยังแซง ไม่ได้ผู้ขับขี่ก็ต้องหยุดแซง ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถผิดวิธีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้ไม่กีดขวางการจราจรหรือก่ออันตราย
การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยชัดแจ้งโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่า การจอดรถดังกล่าวเป็นการกีดขวางการจราจรหรือไม่ และเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263-5264/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับขี่และการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน กรณีรถชนท้ายรถเสีย
พนักงานสอบสวนพบรอยห้ามล้อท้าย รถยนต์ ของ โจทก์ที่ 2 ยาวประมาณ30 เมตร แสดงว่าก่อนเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 ขับรถมาด้วยความเร็วสูงเพราะแม้ห้ามล้อห่างถึง 30 เมตรก็ยังไม่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยการที่โจทก์ที่ 2 ห้ามล้อรถของตนถึง 30 เมตรยังแสดงว่าเห็นรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 1 ห่างกว่า 30 เมตร พนักงานสอบสวนเบิกความด้วยว่าตามสภาพที่เห็นมีทางเป็นไปได้ว่ามีกองไฟก่อด้วยกิ่งไม้อยู่ทางด้านหลังรถยนต์ บรรทุก โจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุมีรถยนต์บรรทุกและรถยนต์เล็กเปิดไฟสูงแล่นสวนทางมา พอไฟจางจึงเห็นรถจำเลยที่ 1 จอดอยู่ข้างหน้า การที่โจทก์ที่ 2 ไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าได้พอแก่ความปลอดภัย โจทก์ที่ 2 ควรลดความเร็วลงแต่โจทก์ที่ 2 กลับขับรถด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ชนท้าย รถยนต์ บรรทุกของจำเลยที่ 1 ที่จอดอยู่โดยได้ทำสัญญาณรถเสียไว้แล้ว ฉะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังของโจทก์ที่ 2 ฝ่ายเดียว และมิใช่เหตุสุดวิสัยเพราะกรณีดังกล่าวสามารถที่จะป้องกันมิให้เกิดเหตุได้.
of 12