คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดชอบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมาย 'ทรัพย์ของบริษัท' ในข้อบังคับบริษัท – การยักยอกทรัพย์
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท... คำว่า "บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบคองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนิติบุคคลจากละเมิดของเจ้าหน้าที่ แม้ไม่ใช่ความรับผิดโดยตรง
รถยนต์โดยสารของโจทก์ได้เกิดอุบัติเหตุมีผู้โดยสารตกจากรถของโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีฐานะเป็นผู้ช่วยพนักงานสอบสวนได้กระทำการโดยนำรถคันที่เกิดเหตุมาจอดไว้ที่ริมถนนหน้าสถานีตำรวจเพื่อมิให้กีดขวางทางจราจรตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ต่อมาอุปกรณ์ในรถของโจทก์สูญหายในขณะอยู่ในความครอบครองดูแลของพนักงานสอบสวน เหตุละเมิดซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว หากแต่มิได้เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 แต่เกิดขึ้นในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนมีคำสั่งยึดรถเนื่องจากรถที่สั่งยึดเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อพนักงานสอบสวนนำรถไปจอดอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจโดยมิได้จัดให้มีผู้ดูแลรักษาตามสมควร เป็นเหตุให้อุปกรณ์ในรถสูญหายไปบางส่วน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ไม่ว่าผู้แทนของโจทก์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นจะเป็นจำเลยที่ 1 หรือพนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ก็ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในคดีล้มละลาย และความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ถูกเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันร่วม: ความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม, อัตราดอกเบี้ย, และการบังคับคดี
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กัน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นการทำตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 108ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาททั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้ายประมวลรัษฎากร ก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้นข้อ 17(ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไปกำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อสัญญาค้ำประกันดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1อย่างลูกหนี้ร่วม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเว้นแต่เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบ โจทก์ประกอบธุรกิจธนาคารมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมายซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 ดอกเบี้ยระหว่างจำเลยผิดนัดอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกัน อันจะมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยการสร้างสะพาน แม้เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็ต้องรับผิดชอบหากทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างสะพานกว้าง 1 เมตรยาว 50 เมตร ลงในคลองสำโรง ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ในระยะห่างประมาณ 1 ถึง 2 เมตร สะพานมีลักษณะมั่นคงและถาวร การปลูกสร้างสะพานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็น ที่เล็งเห็นได้ว่า สะพานนั้นน่าจะหรืออาจทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ ที่ดินของโจทก์เป็นทางขึ้นหรือทางลงคลองสำโรง ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้อาศัยและทำประโยชน์อยู่ในที่ดินขณะปลูกสร้างสะพาน และการปลูกสร้างได้กระทำลงในคลองสาธารณะและ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนดังข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และ 4 โจทก์ก็มีสิทธิจะฟ้องขอให้รื้อถอนสะพานที่ผ่านหน้าที่ดินของโจทก์เพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่เกิดเหตุสำคัญ: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาใหม่เรื่องสถานที่ทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินการเลิกจ้าง
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่าเหตุทำร้ายร่างกายที่ทำให้ ส. ลูกจ้างจำเลยได้รับบาดเจ็บกระดูกใบหน้าด้านขวาและกระดูกข้อเท้าซ้ายแตกได้เกิดขึ้นขณะที่โจทก์และ ส. เดินออกจากบริษัทจำเลยห่างจากรั้วและป้อมพนักงานรักษาความปลอดภัยประมาณ 5 เมตรซึ่งอยู่นอกบริเวณบริษัทจำกัด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลับวินิจฉัยว่า โจทก์ทำร้ายร่างกาย ส. จนได้รับอันตรายสาหัสภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งขัดกับคำรับของคู่ความดังกล่าว จึงเป็นการมิชอบ หนังสือเลิกจ้างและคำให้การจำเลยระบุว่า เหตุเกิดขณะส. จะเดินไปขึ้นรถรับส่งพนักงานที่จำเลยจัดไว้ให้และโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส. ในสถานที่ที่จำเลยรับผิดชอบอยู่มิใช่ภายในบริเวณบริษัทจำเลย การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริง ว่าเหตุเกิดภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งไม่ตรงกับหนังสือเลิกจ้างและคำให้การดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน เมื่อศาลฎีกาไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่มีความผิด กรณีทำร้ายร่างกาย ส. โจทก์จะมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องหรือไม่ซึ่งเป็นกรณีข้อเท็จจริงได้มาจากการที่ศาลแรงงานรับฟังมาโดยมิชอบและไม่พอแก่การวินิจฉัย โดยที่ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเองได้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่อง สถานที่เกิดเหตุว่าเกิดเหตุ ณ ที่ใด และอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือไม่ เสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,56 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแยกความรับผิดชอบ การบังคับคดีเฉพาะผู้ผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว ได้ระบุข้อตกลงในการปฏิบัติการชำระหนี้ไว้อย่างชัดแจ้งโดยข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว เป็นผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนข้อ 2 ระบุให้จำเลยทั้งสองหรือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ในการชำระหนี้ และในข้อ 3 ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสองแยกกันรับผิดในการปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 เพียงคนเดียว จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้นส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 ที่ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อหนึ่งข้อใดให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที มีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยคนใดผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่จำเลยคนนั้นตามสัญญา แต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับ ดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลังฆ่าผู้อื่น และประเด็นความสามารถในการรับผิดชอบทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช
การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ภายหลังจากฆ่าผู้ตายโดยจะขุดมาแบ่งกับพวกเมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
แม้จำเลยที่ 1 จะเคยป่วยเป็นโรคจิตชนิดจิตเภทและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ แต่การที่จำเลยที่ 1 ออกจากโรงพยาบาลดังกล่าวมา หลังจากนั้นไม่ได้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลอีกเลย และยังคงรับราชการตำรวจอยู่จนถึงวันเกิดเหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้หายป่วยหรือมีอาการทุเลาขึ้นจนสามารถปฏิบัติราชการได้แล้ว อีกทั้งสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายก็เนื่องจากผู้ตายด่าว่าดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างร้ายแรงต่อบุพการีวงศ์ตระกูล และตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้สำนึกต่อการกระทำของผู้ตายดังกล่าวจึงได้บันดาลโทสะและฆ่าผู้ตาย นอกจากนี้ยังได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซ่อนเร้นศพผู้ตายโดยทิ้งศพพร้อมด้วยรถยนต์กระบะของผู้ตายลงไปในบ่อดินลูกรังเพื่อปิดบังการตายและนำทรัพย์ต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ตายมาฝังดินซุกซ่อนไว้อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงชัดว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังคงมีความโกรธต่อการถูกด่าว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามจากผู้ตาย มีความกลัวต่อการที่จะต้องรับโทษจากการกระทำความผิดของตนและยังมีความโลภที่จะได้ทรัพย์สินของผู้อื่น ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายในขณะที่ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบครู/อาจารย์ต่อศิษย์ตาม ป.อ.มาตรา 285: การกระทำนอกเหนือหน้าที่ดูแล
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตามป.อ.มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้าน พ. และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการงดสืบพยานจำเลย: ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความบกพร่องในการรับทราบวันนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนั้น โจทก์ไม่ค้านการขอเลื่อนและแถลงว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปโดยนัดสืบพยานจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานจำเลยไว้แล้ว ดังนั้นหากเสมียนทนายจำเลยจดเวลานัดผิดพลาดหรือแจ้งเวลานัดสืบพยานจำเลยแก่ทนายจำเลยผิดพลาด ก็เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ในวันนัดสืบพยานจำเลยที่เลื่อนมา ซึ่งจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานที่จะสืบ ให้งดสืบพยานจำเลยและให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้นจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งโดยชอบ มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันจำเลยจะขอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะขอเช่นนั้นก่อนหรือหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม
of 33