คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสมบูรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์, หนังสือมอบอำนาจ, ความสมบูรณ์ของเอกสาร, และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ไม่ชัดแจ้ง
การมอบอำนาจให้ ก.ฟ้องคดีของโจทก์นั้น เมื่อโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์แล้ว แม้ ก.ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับ-มอบอำนาจด้วย เพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ก.จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่สมบูรณ์ ก.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในต่างประเทศ มีการรับรองโดยโนตารี ปับลิก และหัวหน้าฝ่ายกงสุล-เมืองจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียรับรองอีกชั้นหนึ่งว่า ได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริง หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมาย ก.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าว เพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย (อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้ คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง เพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดก: สิทธิการขอเป็นผู้จัดการมรดก ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมเฉพาะส่วน และข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ส. มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกับ ต. เฉพาะที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่5195ตำบล บ้านไผ่จังหวัดขอนแก่นเท่านั้นส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่736ตำบล บ้านไผ่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นมีชื่อ ต. เป็นเจ้าของคนเดียวซึ่งเมื่อทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเอกสารหมายร.1ไม่ใช่ของ ส. พินัยกรรมดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ฟังไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็หาทำให้พินัยกรรมเอกสารหมายร.1เป็นโมฆะไม่เพราะพินัยกรรมเฉพาะที่ดินในส่วนที่เป็นสิทธิของเจ้ามรดกย่อมสมบูรณ์ทั้งชั้นนี้เป็นเพียงการขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นยังไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งมรดกซึ่งถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้คัดค้านฎีกาก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบธรรมดาเมื่อพินัยกรรมแบบเอกสารลับไม่สมบูรณ์ และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของ ว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" ส่วนลายมือชื่อของ ว.มีข้อความต่อท้ายว่า "ผู้พิมพ์" และ ว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรม ทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียว กรณีจึงมีข้อสงสัยว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 11 จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1653 วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะ แต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1656ทุกประการ พฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา กรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 136เดิม พินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการ ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบเอกสารลับและธรรมดา การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ลายมือชื่อของผู้ร้องอยู่เหนือลายมือชื่อของว. และไม่มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"ส่วนลายมือชื่อของว.มีข้อความต่อท้ายว่า"ผู้พิมพ์"และว.เบิกความว่าตนเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมทั้งโดยปกติน่าจะพิมพ์คนเดียวกรณีจึงมีข้อสงสัยว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหรือไม่ซึ่งต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียหายในการนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จึงจะฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้พิมพ์พินัยกรรมด้วยหาได้ไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1653วรรคแรกอันจะทำให้พินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา1705เมื่อพินัยกรรมได้ทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารลับอันทำให้ตกเป็นโมฆะแต่พินัยกรรมดังกล่าวก็ได้ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ทุกประการพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่าถ้าเดิมทีผู้ทำพินัยกรรมรู้ว่าพินัยกรรมที่ตนทำนั้นไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารลับก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดากรณีเข้าลักษณะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา136เดิมพินัยกรรมจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และตามพินัยกรรมดังกล่าวระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรมทั้งได้ความว่าการจัดการมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องในการจัดการผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมและกรรมสิทธิ์ในสินสมรส, ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินโดยอ้างว่านายแก้วผู้ตายทำพินัยกรรมให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผู้ตายไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ เพราะที่ดินตามพินัยกรรมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลย จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยดังนี้ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าพินัยกรรมสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยจะถือเป็นฟ้องแย้ง เมื่อศาลฟังว่า พินัยกรรมสมบูรณ์และโจทก์ได้รับมรดกที่ดินพิพาทไปตามพินัยกรรม จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขและเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องค่าไถ่ถอนจำนองไม่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นความสมบูรณ์ของพินัยกรรม จึงไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินโดยอ้างว่านายแก้วผู้ตายทำพินัยกรรมให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผู้ตายไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์เพราะที่ดินตามพินัยกรรมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยดังนี้ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าพินัยกรรมสมบูรณ์หรือไม่เพียงใดส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยจะถือเป็นฟ้องแย้งเมื่อศาลฟังว่าพินัยกรรมสมบูรณ์และโจทก์ได้รับมรดกที่ดินพิพาทไปตามพินัยกรรมจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขและเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การปฏิเสธความสมบูรณ์ของสัญญาและการปฏิเสธความรับผิดในฐานะตัวแทน ไม่ถือว่าขัดแย้งกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจำเลยให้การว่าได้นำเช็คของบริษัทบ. ไปขายแก่โจทก์จริง แต่รับเงินมาไม่ครบทุกฉบับ และอย่างไรก็ตามการทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์นั้นจำเลยทำในฐานะตัวแทนของ ธ. โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้วจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของสัญญาเพราะยังรับเงินไปไม่ถูกต้องส่วนที่จำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนของ ธ. ก็เป็นการปฏิเสธความรับผิดของจำเลยอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับประการแรก คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177วรรคสอง แล้วหาขัดแย้งกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา และการเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายผิดสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
การที่จำเลยทั้งสองตกลงจะคืนเงินมัดจำให้โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองขายที่ดินได้นั้น จำเลยทั้งสองจะขายที่ดินได้หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ความพอใจหรือสมัครใจของจำเลยทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้จะซื้อด้วยว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจจะซื้อตามข้อเสนอของจำเลยทั้งสองหรือไม่เงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวจึงไม่ใช่เงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 190
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ชั้นชี้สองสถาน ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 เป็นบันทึกการรับสภาพหนี้หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามบันทึกดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ ข้อที่โจทก์ฎีกาว่า แม้ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโฆมะ จำเลยทั้งสองก็จะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์เพราะคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่งผลต่อการฟ้องบังคับคดี แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตม์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาล-อุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาท และความสมบูรณ์ของคำฟ้อง การปรับบทลงโทษซ้ำซ้อน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไรและการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
of 24