คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสับสน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้า 'น้ำมันมวย' เลียนแบบ สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีข้อความว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรไทยคำว่า "น้ำมันมวย" และอักษรโรมันคำว่า "BOXINGLINIMENT" ก็ตาม แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"รวมทั้งรูปภาพลวดลายและรูปรอยประดิษฐ์ที่ปรากฏบนกล่องสินค้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2498และผลิตน้ำมันสำหรับใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชา ออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้านั้นมาตลอด โจทก์ได้โฆษณาสินค้าผ่านสื่อสารมวลชน ป้ายโฆษณา โดยการทำของชำร่วย และโฆษณาในรายการอุปถัมภ์กีฬาจำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย" กับสินค้าน้ำมันสำหรับทาถูนวด แก้ปวดเมื่อย และเหน็บชาที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายมาเป็นวลานาน จำเลยมีเจตนาใช้คำว่า "น้ำมันมวย" เป็นส่วนหนึ่งในการ-ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์ได้ผลิตแล้วนำออกขายภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวย"มาก่อนจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" ถึง30 ปีเศษ สินค้าของโจทก์เป็นสินค้าที่แพร่หลายจนทำให้เครื่องหมายการค้าคำว่า"น้ำมันมวย" เกิดลักษณะบ่งเฉพาะ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นแล้ว แม้คำว่า"น้ำมันมวย" โจทก์จะไม่มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม การที่จำเลยเจตนาจะใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" กับสินค้าน้ำมันนวดกล้ามอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ก็โดยอาศัยคำว่า "น้ำมันมวย"เป็นหลักอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยที่จะผลิตต่อไปเป็นของเจ้าของเดียวกัน หากจำเลยมีเจตนาสุจริตก็สามารถใช้คำอี่นที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแทนเพื่อไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การที่จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง"กับสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันมวยมุมแดง" เป็นเครื่องหมาย-การค้าในสินค้าจำพวก 3 น้ำมันนวดกล้ามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสนถือเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะทราบและรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อแล้ว
ชื่อของโจทก์เป็นภาษาอังกฤษเขียนว่า ACME INDUSTRIESCO.,LTD. ส่วนชื่อของจำเลยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ACME INDUSTRY CO.,LTD. ชื่อโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกันมาก เช่นนี้ ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่ติดต่อค้าขายกับโจทก์เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดว่าโจทก์คือจำเลย หรือจำเลยคือโจทก์ได้ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่าบริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่า บริษัทเอ็กมี่ อินดัสทรี จำกัด สาระสำคัญของชื่อโจทก์และจำเลยที่ใช้เรียกขานอยู่ที่คำว่าแอคมิหรือเอ็กมี่ ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ ACME แม้จะเขียนเป็นภาษาไทยแตกต่างกัน แต่ก็อ่านออกเสียงคล้ายกันมาก ส่วนคำว่า อุตสาหกรรมและอินดัสทรี ก็เป็นคำคำเดียวกัน เพียงแต่ของจำเลยเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษเท่านั้นชื่อของจำเลยจึงพ้องหรือคล้ายกับชื่อของโจทก์แล้ว การประกอบธุรกิจต่างกันหรือมีลูกค้าคนละกลุ่มกันไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาพิจารณาว่าชื่อโจทก์กับจำเลยพ้องหรือคล้ายกันหรือไม่ แม้ขณะที่จำเลยขอจดทะเบียนชื่อของจำเลย จำเลยอาจจะกระทำโดยสุจริตซึ่งอาจจะไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อใหม่เพราะชื่อซ้ำกับชื่อของโจทก์ และทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงทนายโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้แล้วว่าชื่อจำเลยพ้องหรือคล้ายกับชื่อโจทก์ แต่จำเลยก็เพิกเฉย หาได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อไม่โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากวันที่จำเลยรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อเกือบ 6 เดือน เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยนำชื่อที่ซ้ำหรือคล้ายกับของโจทก์มาใช้โดยมิชอบแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจริง ดังนั้น แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยดังกล่าวแล้วศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า AngelFace ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่าAlla Puff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกัน ส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมัน A ตัวแรกของคำว่าAngel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่า Puff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่าAlla Puff และคำว่า Angel Face ก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษรP และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า Alla Puff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่าPOND'S ซึ่งอยู่เหนือคำว่า Angel Face นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์ รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้เกิดความสับสน
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงหรือความสับสนของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า "STANLEY"อ่านว่า "แสตนเล่ย์" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักหักเหลี่ยมออกนอกกรอบ มีรูปลักษณะคล้ายใบมีดโกน พื้นเป็นสีทึบ ตัวอักษรโปร่งเรียงติดเป็นคำเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันคำว่า"STAND UP" อ่านว่า "แสตน อัพ" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักมนครึ่งวงกลมอยู่ภายนอกกรอบมีรูปลักษณะคล้ายไม้นวดแป้ง พื้นโปร่งไม่มีสี ตัวอักษรเป็นสีทึบและแยกออกจากกันเป็นสองส่วนสองคำ ตามปกติวิสัยของบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะผู้ที่เป็นช่างก่อสร้างและช่างไม้ที่ใช้สินค้าเทปตลับสำหรับวัดความยาวซึ่งมีโอกาสเห็นสินค้าชนิดนี้ในท้องตลาดและมีความชำนาญในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าสาธารณชนโดยทั่วไป ย่อมต้องมีและควรใช้ความสังเกตเห็นข้อแตกต่างดังกล่าวได้โดยไม่ยากนัก แม้ชื่อสินค้าประเภทนี้จะเป็นภาษาต่างประเทศปรากฏอยู่ก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือน และไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด หรือทำให้สับสนได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเหมือน/ต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาจากลักษณะ, การอ่านออกเสียง, และกลุ่มเป้าหมายเพื่อป้องกันความสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า"STANLEY" อ่านว่าแสตนเลย์ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักหักเหลี่ยมออกนอกกรอบ มีรูปลักษณะคล้ายใบมีดโกน พื้นเป็นสีทึบตัวอักษรโปร่ง เรียงติดเป็นคำเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า "STANDUP" อ่านว่า "แสตนอัพ" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวา มีรอยหยักมน ครึ่งวงกลมอยู่ภายนอกกรอบมีรูปมีลักษณะคล้าย ไม้นวดแป้ง พื้นโปร่งไม่มีสี ตัวอักษรเป็นสีทึบและแยกออกจากกัน เป็นสองส่วนสองคำ ตามปกติวิสัยของบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะผู้ที่ เป็นช่างก่อสร้างและช่างไม้ที่ใช้สินค้าเทปตลับสำหรับวัด ความยาวซึ่งมีโอกาสเห็นสินค้าชนิดนี้ในท้องตลาดและมีความชำนาญ ในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าสาธารณชนโดยทั่วไป ย่อมต้องมีและควรใช้ความสังเกตเห็นข้อแตกต่างดังกล่าว ได้โดยไม่ยากนัก แม้ชื่อสินค้าประเภทนี้จะเป็นภาษาต่างประเทศปรากฏอยู่ก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนและไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด หรือทำให้สับสนได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสนและเสียหาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
กล่องสินค้าของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องสินค้าของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกันสีสัน และลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน ด้านหน้ากล่องของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน ด้านหลังของกล่องมีอักษรโรมันของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" เป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน ฝากล่องด้านบนของโจทก์มีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"ส่วนของจำเลยมีรูปสิงห์ 5 ตัวเหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์ เหยียบโลก" แม้จะมีลักษณะแตกต่างกันในส่วนนี้ แต่รูปและข้อความดังกล่าวมีลักษณะเล็กมากและอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบสามชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยัก ในลักษณะเหมือนกัน นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ปี 2498 ก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยประมาณ 30 ปี จึงเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 421.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าและการเกิดความสับสน: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการประเมินผลกระทบต่อสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา"เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือลา โค และโว แต่ทั้งสามพยางค์นั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโวเท่านั้นที่เป็นพยางค์สุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึงขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนเกิดความสับสน และการไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าโดยการครอบครองปรปักษ์
รูปร่างลักษณะของกล่องฝากับกระป๋องขนมปังกรอบของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันเหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเท่ากัน และมีคำที่เหมือนกัน 2 คำ ถึงจะมีคำอักษรโรมันอีก 2 คำ ที่ต่างกัน แต่แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังนั้น การที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญามิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนเกิดความสับสน และการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฎอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่ง เดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่ง เดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า"CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT" ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือ ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB&COS" ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB'S"ของจำเลยใช้ คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้ เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่าง เวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้ เลยเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดย ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้ กรรมสิทธิ์มาโดย การครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382.
of 8