พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อชี้ขาดสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอน จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ประเด็นแห่งคดีเดิมจึงมีว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง 1.5 เมตรยาวประมาณ 37.4 เมตร เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินสาธารณะ มีความสัมพันธ์กับฟ้องเดิม จึงพิจารณารวมกันได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนจำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง1.5เมตรยาวประมาณ37.4เมตรเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้นเป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาทเท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิมและเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ถือว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ฟ้องแย้งในส่วนจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมของผู้เยาว์ในความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและการกระทำชำเราที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยพา จ. ผู้เยาว์อายุ17ปีอยู่ในความปกครองของ ว.ไปค้างคืนนอกบ้านและ จ. ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราด้วยความสมัครใจโดย จ. กับจำเลยรักใคร่ชอบพอกันประสงค์จะเป็นสามีภริยากันเช่นนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดการระบุความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย ทำให้จำเลยที่ 2 (ผู้รับประกันภัย) ไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่2ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์คันเกิดเหตุที่จำเลยที่1ขับชนรถยนต์ของโจทก์โดยละเมิดแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะอะไรหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่1เท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6607/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีประกันภัย: จำเป็นต้องระบุความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันกับผู้ขับขี่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นความวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ เมื่อโจทก์กล่าวบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ อ.ขับประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยรับประภันภัยไว้คือใคร และ อ.ขับรถยนต์คันนั้นในฐานะอะไร หรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการทำละเมิดของ อ. จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนย่อมไม่มีโอกาสทราบได้เลยว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับ อ.ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างไร และย่อมไม่อาจให้การต่อสู้คดีของโจทก์ได้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษา และความสัมพันธ์ของคำฟ้อง-ฟ้องแย้ง
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้น คดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 จีงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัด จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัด แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ฎีกา คดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ส่วนจำเลยที่ 3 ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่ 2 และที่ 3
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉิน โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้ว ทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่า โจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่ 1 ให้ได้รับความเสียหาย มิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉิน โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้ว ทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่า โจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่ 1 ให้ได้รับความเสียหาย มิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิด
บ. ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่1ให้จำเลยที่1ทำงานแทนเมื่อจำเลยที่1ขับรถบรรทุกซึ่งอยู่ในระหว่างส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยร่วมที่1ด้วยความประมาทเลินเล่อชนโรงภาพยนตร์ของโจทก์เสียหายการละเมิดนี้ย่อมนับว่าอยู่ในกรอบแห่งการที่จำเลยร่วมที่1จ้างจำเลยร่วมที่1จะอ้างว่า บ. มิใช่ลูกจ้างและจำเลยที่1บุตร บ. เป็นผู้กระทำละเมิดเพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างคำพิพากษาคดีอาญาและคดีแพ่ง: การถือข้อเท็จจริงเมื่อคดีอาญาถึงที่สุด
ในการพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46ขณะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในคดีแพ่งว่า เหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น คดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคดีส่วนอาญามาถึงที่สุดในชั้นนี้ โดยที่โจทก์ได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา แม้คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่า เหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าต้องจดทะเบียน การแสดงตนมีความสัมพันธ์กับสามีที่ยังไม่จดทะเบียนหย่าทำให้ภริยามีสิทธิเรียกค่าทดแทน
โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนิน คดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผย ว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ในทำนองชู้สาวโจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภริยาฟ้องเรียกค่าทดแทนหญิงแสดงตนมีความสัมพันธ์กับสามี
ภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 วรรคสอง ค่าทดแทนนี้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งมีความหมายรวมถึงความเสียหายแก่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของภริยา ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้รับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว จะฟ้องเรียกค่าทดแทนโดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 447 ให้ชำระค่าเสียหายเป็นรายเดือน นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกแสดงตนและเลิกมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามีอีกไม่ได้