คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำหมิ่นประมาท: ความหมายพิเศษ vs. ความหมายธรรมดา และอายุความ
ศาลล่างฟังว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ไม่มีความหมายเป็นถ้อยคำที่ใส่ความโจทก์ โจทก์ฎีกาว่า ถ้อยคำนั้นมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความหมายพิเศษเป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์เช่นนี้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมายของ 'ข้าว' ใน พ.ร.บ.สำรวจกักกันข้าว: ข้าวสารเหนียวไม่อยู่ในข่าย
ข้าวสารเหนียว ไม่รวมอยู่ในความหมายของคำว่า "ข้าว"ตาม พระราชบัญญัติสำรวจกักกันข้าว (อ้างฎีกาที่ 72/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์ที่ถูกลักยอก ไม่ใช่ของตกหาย ตามความหมายกฎหมาย มาตรา 318
โจทก์ฟ้องบรรยายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปแล้วต่อมาจำเลยได้เก็บทรัพย์ซึ่งถูกคนร้ายลักไปนั้นได้แล้ว จำเลยมีเจตนาทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเสียไม่กระทำตามกฎหมายที่บังคับไว้สำหรับการเก็บของตกของหาย ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 318 ดังนี้ทรัพย์ที่หาว่ายักยอกเป็นทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักไปยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นของตกหาย ตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 318จำเลยจึงยังไม่ผิดตามที่โจทก์ฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 138/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินตราไม่ใช่ 'ของ' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การนำออกนอกประเทศไม่ผิด พ.ร.บ.ศุลกากร
นำเงินตราออกนอกประเทสโดยไม่ได้รับอนุญาตเงินตราไม่ใช่ของอันจะต้องเสียอากรตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2489

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของฟ้องฆ่าคนตายโดยเจตนา: การตีความคำว่า 'เจตนา' ในฟ้องอาญา
โจทก์ฟ้องกล่าวว่าจำเลยบังอาจสมคบกับพวกใช้ไม้ด้ามเสียมเป็นศาตราวุธตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตายโดยเจตนาอ้างบทกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 มาเป็นบทขอให้ลงโทษ ดังนี้ ย่อมถือได้ว่า ฟ้องโจทก์มีความหมายเพียงพอให้เข้าใจได้ว่า โจทก์หาว่าจำเลยฆ่าผู้เสียหายตายโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานเพื่อแสดงความหมายของเอกสาร และขอบเขตของคำว่า 'บ้านเรือน' ในที่ดิน
จำเลยจะขอสืบพยานถึงคำ 'บ้านเรือนของนางสนิทไม่เกี่ยวข้องในที่ดินรายนี้' ว่ารวมถึงที่ดินที่ปลูกอยู่ด้วยนั้นเป็นการสืบแสดงความหมายของข้อความแห่งเอกสารว่า ข้อความนั้นหมายถึงที่ดินด้วย ซึ่งเป็นการสืบแสดงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด ดังข้อความวรรคท้ายของมาตรา 94 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยมีสิทธินำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรานี้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของการลักทรัพย์และการระบุเจตนาทุจริตในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจลักทรัพย์ไป การลักทรัพย์ย่อมมีความหมายว่า บังอาจเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยการทุจริตอยู่ในตัวแล้ว ดังนี้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหรือโดยการทุจริต
การอุทธรณ์ฎีกาว่า ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์นั้น แม้มิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้น ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: ถ้อยคำธรรมดาสามัญ ศาลพิจารณาความหมายเองได้ ไม่จำเป็นต้องสืบ
กล่าวคำว่า เขาว่าครูชาติหมาสอนให้เด็กชกต่อยกันดังนี้ไม่เป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทตาม มาตรา 282
ถ้อยคำที่กล่าวตามภาษาไทยธรรมดานั้นศาลเป็นผู้พิจารณาความหมายได้เอง คู่ความไม่ต้องนำสืบแสดงความหมาย
ถ้าในฟ้องไม่ได้แสดงว่า คำที่จำเลยกล่าวมีความหมายเป็นพิเศษแล้วศาลก็ถือว่าเป็นคำกล่าวตามธรรมดาสามัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของเวลากลางคืนตามกฎหมาย: แสงอาทิตย์สว่างแต่ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้า
เวลาเกิดเหตุมีแสงอาทิตย์แล้วแต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้าดังนี้ ถือว่าเป็นเวลากลางคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมดวงตราสาธารณะ: ความหมายและขอบเขตของ 'สาธารณสถาน' ตามกฎหมาย
ปลอมดวงตราของสาธารณสถานตามความหมายของมาตรา 211 ข้อ 2 หมายถึงดวงตราของสถานองค์การสาธารณะไม่ไช่สาธารณสถานตามความหมายมาตรา 6 (13)
บริสัทสระบุรีจังหวัดพานิช จำกัด ไม่ไช่องค์การสาธารณะตามความหมายของมาตรา 211(2)
of 6