คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเข้าใจผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2974/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดในวันนัดสืบพยาน: ศาลพิจารณาว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะป่วย ศาลอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 28 และ 29 กรกฎาคม 2529 แต่เสมียนทนายเข้าใจผิดได้แจ้งให้ทนายจำเลยทราบว่าศาลเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2529 เพียงวันเดียว ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็มาศาลและได้ยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยในคดีดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย แม้เสมียนทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็ตามก็อาจเข้าใจผิดได้ การที่ทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2529 และไม่มาศาลถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: ความเข้าใจผิดในกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นเหตุลดค่าปรับ หากผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามสัญญา
ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยทั้งสองไว้ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดพร้อมหรือฟังคำพิพากษา ผู้ประกันทราบนัดแล้วจึงมีหน้าที่ต้องนำส่งจำเลยทั้งสองตามนัด ความเข้าใจผิดของผู้ประกันเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไม่เป็นเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดค่าปรับให้ และเมื่อนับตั้งแต่วันผู้ประกันทราบหมายนัดของศาลให้นำเงินไปชำระค่าปรับจนถึงวันที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับเป็นเวลา ถึง 2 ปีเศษผู้ประกันก็ไม่นำจำเลยทั้งสองไปศาล แสดงว่าผู้ประกันไม่ได้พยายามที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาประกัน จึงไม่มีเหตุที่จะลดค่าปรับให้ผู้ประกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าของตน เพื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเอาเครื่องหมายในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ กับกางเกงยีนที่จำเลยผลิต โดย ไม่ได้ระบุชื่อ จำเลยซึ่ง เป็นผู้ผลิตไว้ด้วย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่ายแต่ ในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้ ใช้ เครื่องหมายดังกล่าวเป็นชื่อ ห้าง ประทับเครื่องหมายที่สินค้าที่โจทก์ร่วมรับมาจำหน่าย และทำการโฆษณาเครื่องหมายทางหนังสือพิมพ์ตลอดมาเมื่อบุคคลทั่วไปเห็นเครื่องหมายดังกล่าวก็ต้อง เข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงแสดงให้เห็นถึง เจตนาของจำเลยว่าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่ากางเกงยีนของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสิทธิในการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "NICCO" ซึ่งจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า"NICCO" จดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 18 จึงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ต่างกันแต่เพียงว่า ของโจทก์อยู่ภายในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย.
มาตรา 21 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และไม่ตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตน ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้ว ถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่สิ้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันนัด ศาลชอบด้วยกฎหมายที่จะจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยพร้อมกันในนัดแรกโดย ทนายโจทก์และทนายจำเลยทราบวันนัดแล้ว ครั้นถึง วันนัดฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล ส่วนทนายจำเลยมาศาล ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรก โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งกรณีอาจเป็นเพราะโจทก์บันทึกวันนัดของศาลผิดพลาดไปเอง มิใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานตาม มาตรา 203 ที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ จึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนและการกระทำละเมิด: การกระทำของลูกจ้างที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลต่อการพิจารณา
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร อ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้จัดการหรือจำเลยที่ 2 รองผู้จัดการเป็นผู้กระทำการแทน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์ ฝ่าฝืนข้อบังคับธนาคาร อ.แต่ปรากฏว่าข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้ผู้จัดการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างได้ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจผิดไปจากข้อบังคับ โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน จะอ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อขึ้นอีกต่างหากนอกเหนือจากการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน
โจทก์แต่งชุดดำมาทำงานในวันที่มีข่าวว่าจะมีพนักงานธนาคาร อ. ร่วมกันแต่งชุดดำประท้วงจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการประชุมแต่งตั้งพนักงานในสำนักงานผู้จัดการซึ่งนอกจากโจทก์แล้วยังมีพนักงานธนาคารอีก 3 คน แต่งชุดดำมาทำงานด้วย แม้จะเป็นการบังเอิญมาตรงกัน แต่การกระทำของโจทก์ก็เป็นมูลเหตุให้จำเลยที่ 2 เข้าใจไปได้ว่าโจทก์แต่งมาเพื่อประท้วงจำเลยที่ 1 จึงได้ทำความเห็นเสนอจำเลยที่ 1 ว่าไม่ควรเลื่อนเงินเดือนให้โจทก์ และจำเลยที่ 1 มีความเห็นด้วยกับจำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เช่นนี้ แม้จะเป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความละเอียดรอบคอบจนอาจเรียกได้ว่าขาดความเป็นธรรม ก็เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจในการบริหารที่ตนมีอยู่ โดยโจทก์เองมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าใจผิดและใช้ดุลพินิจดังกล่าว กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่สอดคล้องกับชื่อเสียงของผู้อื่น ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า 'ฮิลตัน' 'โฮเต็ล' และ 'บางกอก' พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานานทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์ และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์ จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมของจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตัน เป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความเข้าใจผิดและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจโรงแรม
บริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจโรงแรมเช่นเดียวกับโจทก์แต่ชื่อของบริษัทจำเลยที่ 1 มีคำว่า "ฮิลตัน""โฮเต็ล" และ"บางกอก" พ้องกับชื่อโรงแรมฮิลตันที่โจทก์ใช้ในการดำเนินกิจการโรงแรมทั่วโลกจนมีชื่อเสียงมานาน ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดได้ว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์และกิจการของจำเลยที่ 1 คือกิจการของโจทก์จำเลยจึงนำเอาชื่อฮิลตันของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดำเนินธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน การที่มีบริษัทอื่นอีกมากมายนำชื่อฮิลตันของโจทก์ไปตั้งเป็นชื่อกิจการของตน หาได้ทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิดีขึ้นไม่และหากไม่ห้ามจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนชื่อโรงแรมจำเลยมาใช้ชื่อฮิลตันของโจทก์อีกเมื่อใดก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้ชื่อ ฮิลตัน เป็นชื่อของบริษัทหรือโรงแรมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับทราบกำหนดนัดสืบพยาน: ความรับผิดชอบของผู้รับหมาย และการเข้าใจผิดของผู้ถูกแจ้ง
ศาลชั้นต้นได้เกษียณสั่งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในคำให้การจำเลยในวันที่จำเลยยื่นคำให้การ ต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยนำคำให้การไปยื่นต่อศาล
จำเลยได้รับหมายนัด และได้ทราบกำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยเข้าใจหรือจำเวลานัดสืบพยานโจทก์ผิดพลาดไปเพราะความเข้าใจผิดหรือหลงลืมของจำเลยเอง ไม่มีเหตุสมควรที่จะขอให้พิจารณาใหม่และไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล แม้เข้าใจผิดเรื่องค่าธรรมเนียม
การที่โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดให้แก่จำเลยตามคำสั่งศาลจะเป็นโดยสับสนหรือหลงผิดเข้าใจว่าได้วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งหมายต่อเจ้าหน้าที่ศาลเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).
of 11