คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเหมือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความต่างของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือ ลิง ควายและกวาง เฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันที ตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียว ไม่เหมือนกัน รูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเหมือนของเครื่องหมายการค้าและการขอจดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 จะนำอายุความตาม มาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอยแครง ไม่ใช่นกยูงดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันและสีอย่างเดียวกันพอดีลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนกับของโจทก์ตาม มาตรา 17
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายของจำเลยที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึง และสิทธิลำดับก่อน
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลบังคับกรมทะเบียนการค้าจำเลยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อ้างว่าโจทก์มีสิทธิและสมควรที่จะได้รับการพิจารณาจดทะเบียนก่อน ผู้มีชื่อซึ่งร้องคัดค้านการร้องขอจดทะเบียนของโจทก์เข้าเป็นจำเลยร่วมสู้คดีด้วย ดั่งนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยมีว่าใครมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนก่อน ศาลจะงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนและคล้ายกับของผู้มีชื่อที่ร้องคัดค้านนั้นหาชอบไม่ หากศาลพึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประเด็นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายและความเก่าแก่ในการใช้
ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลบังคับกรมทะเบียนการค้าจำเลยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อ้างว่าโจทก์มีสิทธิและสมควรที่จะได้รับการพิจารณาจดทะเบียนก่อน ผู้มีชื่อซึ่งร้องคัดค้านการร้องขอจดทะเบียนของโจทก์เข้าเป็นจำเลยร่วมสู้คดีด้วยดั่งนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยมีว่าใครมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนก่อน ศาลจะงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วยกฟ้องของโจทก์โดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนและคล้ายกับของผู้มีชื่อที่ร้องคัดค้านนั้นหาชอบไม่หากศาลพึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประเด็นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า คำสามัญทั่วไป ไม่ทำให้สับสน
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือ หน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้า และหน้าที่บอกความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหยิบยกเครื่องหมายการค้าหลายเครื่องหมายมาพิจารณาประกอบกันในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้กรอบหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" ซึ่งเป็นคำเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ย่อมจะเกิดความสับสนหลงผิดได้ แต่เมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อักษรโรมันคำว่า "California" และ "WOW" เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมโดยคำว่า "California" เป็นชื่อมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า "WOW" เป็นคำอุทานแสดงความสำเร็จยอดเยี่ยม ดังนั้น บุคคลทั่วไปจึงสามารถนำคำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายกขึ้นเปรียบเทียงเป็นอย่างมาก แม้เครื่องหมายการค้าเหล่านี้มีคำซ้ำกันอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นคำสามัญที่มีการใช้อยู่ทั่วไป ไม่ได้เป็นคำเฉพาะพิเศษและไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าสำหรับเสียงเรียกขาน การจะถือว่าเสียงเรียกขานบางคำซ้ำกันจนเป็นเหตุให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้น่าจะไม่ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า หลักสำคัญอยู่ที่การบ่งบอกแหล่งที่มาและลักษณะสินค้า
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือหน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้าและความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดและสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการพิจารณาความแตกต่างของสินค้า
คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96 (1) กล่าวคือ มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 101 วรรคสอง บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด" ซึ่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ออกระเบียบคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าด้วยวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน พ.ศ.2545 ในข้อ 18 มีความว่า "ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาทบทวนคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และจะพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอื่นนอกจากที่ปรากฏในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทำคำชี้แจงพร้อมทั้งแสดงหลักฐานในประเด็นที่คณะกรรมการจะพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง" เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าก่อนที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะได้วินิจฉัยในประเด็นเรื่องลักษณะบ่งเฉพาะ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้แจ้งให้โจทก์ทำคำชี้แจงพร้อมแสดงหลักฐานก่อนที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะมีคำวินิจฉัย การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งเป็นประเด็นที่นอกเหนือจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งไว้โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทำคำชี้แจงพร้อมแสดงหลักฐานก่อน ย่อมทำให้โจทก์สูญเสียโอกาสที่จะชี้แจงและนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง หรือแม้โจทก์จะยอมรับว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองของตนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง แต่โจทก์อาจมีพยานหลักฐานว่ามีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลาย และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม แล้ว ดังนั้นการที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าละเว้นไม่แจ้งให้โจทก์ทำคำชี้แจงพร้อมแสดงหลักฐานก่อนที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะมีคำวินิจฉัย จึงขัดต่อระเบียบคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าด้วยวิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน พ.ศ.2545 ข้อ 18
ในการพิจารณาเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่นั้น ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกส่วนของเครื่องหมายการค้า ทั้งสำเนียงเสียงเรียกขาน รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับเครื่องหมายการค้าว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน หรือเป็นสินค้าต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน รวมทั้งพิจารณาว่าสาธารณชนกลุ่มผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าว่าเป็นกลุ่มเดียวกันและมีความรู้เพียงพอที่จะแยกแยะความแตกต่างของสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองได้ดีหรือไม่เพียงใดประกอบกันด้วย สำหรับเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วแม้จะมีเสียงเรียกขานคล้ายกัน โดยเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์เรียกขานได้ว่า "เวสเซล" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเรียกขานได้ว่า "เวสเซลล์" แต่ในส่วนรูปลักษณ์จะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ในส่วนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปประดิษฐ์ที่ให้ตัวอักษรโรมัน "S" ตรงกลางมีลักษณะเด่นบนพื้นกากบาทที่มีพื้นตรงกลางทึบ ส่วนที่ปลายของกากบาททั้งสี่ด้านมีลักษณะโปร่งแสง และในส่วนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปประดิษฐ์ที่มีเครื่องหมายการค้าวางอยู่ด้านบน และมีรูปประดิษฐ์คล้ายลูกเต๋าวางอยู่ด้านล่างโดยมีรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน "S" บนพื้นกากบาทที่มีพื้นตรงกลางทึบวางอยู่ภายในลูกเต๋า 3 ด้าน ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยคำว่า "VESCELL"และมีรูปประดิษฐ์คล้ายอักษรโรมัน "V" และ "C" บนพื้นวงกลมทึบวางอยู่ด้านหน้า จึงมีความแตกต่างกันในส่วนของรูปลักษณ์อย่างชัดเจน เมื่อเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอเป็นการยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยาสำหรับบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต ยาสำหรับบำบัดรักษาโรคเบาหวาน ยาสำหรับบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับไตอันเกิดจากเบาหวาน ยาสำหรับบำบัดรักษาโรคของระบบประสาท ยาสำหรับบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาอันเกิดจากเบาหวาน เหมือนกัน ส่วนเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้จะยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 5 เช่นเดียวกัน แต่รายการสินค้าแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วยื่นขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งสาธารณชนผู้ซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ที่ย่อมต้องมีความรู้ความเข้าใจพอที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้ากับยาภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์กับสินค้าสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในทางการแพทย์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ว่าไม่ใช่สินค้าที่มีเจ้าของหรือมีแหล่งกำเนิดของสินค้าเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) ประกอบมาตรา 13
of 4