คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความแตกต่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและการสับสนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกันแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า"OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส์"ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า"FRUITTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกันการเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบร่วมกัน หากมีความแตกต่างในรายละเอียดที่ทำให้ผู้บริโภคแยกแยะได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า"FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วยเมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม"ส่วนของจำเลยเพียงพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส" อักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ รูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบก็ยังแตกต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUITOFTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT"สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่สองเป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารราชการปลอม vs. ใช้เอกสารปลอม: ความแตกต่างและขอบเขตความผิด
เอกสารมรณบัตรปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้นั้นเป็นภาพถ่ายเอกสาร โจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารอันเป็นที่มาของภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว จึงไม่อาจทราบได้ว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวถ่ายเอกสารมาจากมรณบัตรที่เจ้าพนักงานทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ หรือสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ ซึ่งมีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นหรือไม่ ต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่าภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว มิได้ถ่ายเอกสารมาจากเอกสารที่มีลักษณะดังกล่าว แต่ได้ถ่ายเอกสารมาจากภาพถ่ายเอกสารที่มีการปลอมโดยแก้ไขข้อความในภาพถ่ายเอกสารนั้น ซึ่งมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการปลอม การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความลวงหรือความสับสนของผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่า "STANLEY"อ่านว่า "แสตนเล่ย์" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักหักเหลี่ยมออกนอกกรอบ มีรูปลักษณะคล้ายใบมีดโกน พื้นเป็นสีทึบ ตัวอักษรโปร่งเรียงติดเป็นคำเดียวกัน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวอักษรโรมันคำว่า"STAND UP" อ่านว่า "แสตน อัพ" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางขอบด้านซ้ายและขวามีรอยหยักมนครึ่งวงกลมอยู่ภายนอกกรอบมีรูปลักษณะคล้ายไม้นวดแป้ง พื้นโปร่งไม่มีสี ตัวอักษรเป็นสีทึบและแยกออกจากกันเป็นสองส่วนสองคำ ตามปกติวิสัยของบุคคลธรรมดาโดยเฉพาะผู้ที่เป็นช่างก่อสร้างและช่างไม้ที่ใช้สินค้าเทปตลับสำหรับวัดความยาวซึ่งมีโอกาสเห็นสินค้าชนิดนี้ในท้องตลาดและมีความชำนาญในการเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวมากกว่าสาธารณชนโดยทั่วไป ย่อมต้องมีและควรใช้ความสังเกตเห็นข้อแตกต่างดังกล่าวได้โดยไม่ยากนัก แม้ชื่อสินค้าประเภทนี้จะเป็นภาษาต่างประเทศปรากฏอยู่ก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือน และไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิด หรือทำให้สับสนได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีคำ ‘กุ๊ก’ ร่วมกัน ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปพ่อครัวถือจานอาหารมืออีกข้างหนึ่งชู นิ้วหัวแม่มืออยู่ในวงกลมลวดลายประดิษฐ์ มีอักษรไทยคำว่า "มิสเตอร์กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "M.R.COOK"อยู่ด้านบนและรูปแถบคล้ายริบบิ้น อยู่ด้านล่าง ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" กับเป็นรูปการ์ตูนคล้ายขวดบรรจุน้ำมันพืชมีอักษรไทย คำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" อยู่บนลำตัวของรูปดังกล่าว แม้ของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "COOK" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป มิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกันโดยของโจทก์เรียกว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเรียกว่า มีสเตอร์กุ๊กสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียว คือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นน้ำปลา ซอส ชูรส น้ำมันหมู น้ำส้มสายชูและไส้กรอก ไม่มีน้ำมันพืช แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา" เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือ ลาโคและโว แต่ ทั้งสามพยางค์นั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่ง เดียว กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโว เท่านั้นที่เป็นพยางค์ สุดท้ายเช่นเดียว กัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยมีข้อแตกต่างกันมากไม่อาจกล่าวได้ ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึง ขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรายละเอียดเล็กน้อยและประเภทสินค้าที่ต่างกัน ไม่ถือว่าทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E. Remy Martin & Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย
of 13