คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดก: ศาลไม่ควรกำหนดเวลาแตกต่างจากประกาศ หากไม่มีการส่งหมายนัดก็ยื่นได้ก่อนไต่สวน
แม้การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องในคดีไม่มีข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อใช้สิทธิร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่ศาลก็ไม่ควรกำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำร้องคัดค้านให้ต่างไปจากประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนที่ประกาศทางหนังสือพิมพ์จนเสียหายแก่สิทธิของผู้คัดค้าน ซึ่งหากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอผู้คัดค้านก็ชอบที่จะร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลจะไต่สวน ฉะนั้นเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านไว้พิจารณา จะนับระยะเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยธรรมและสถานะผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1)ถึง (3) ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) หากเป็นจริงผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216: การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุผลชัดเจน
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใดข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใดควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบตามมาตรา 216 คพพ. เหตุไม่อ้างเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ฎีกาต้องมีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงข้อใดนั้นชอบหรือไม่ชอบเพราะเหตุใดควรรับฟังข้อเท็จจริงอย่างไร
ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความระบุเลยว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำเบิกความของพยานโจทก์เกี่ยวกับการพบเห็นชาย 4 คน ขัดกันในสาระสำคัญเป็นการไม่ชอบเพราะเหตุใด ควรถือว่าเป็นพลความคือไม่ใช่ข้อสาระสำคัญด้วยเหตุใด ข้อที่เกี่ยวกับของกลางและรายละเอียดส่วนใหญ่ ศาลอุทธรณ์ควรต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเหตุใด รายละเอียดส่วนใดยกขึ้นวินิจฉัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าพยานโจทก์ต่างเบิกความตรงกันก็มิได้ระบุว่าพยานชื่อใดบ้าง เบิกความตรงกันในข้อใด ควรรับฟังหรือไม่ ด้วยเหตุผลอย่างไร อีกทั้งข้อความตามฎีกาโจทก์ที่ว่า คดีมีพยานหลักฐานพอยื่นฎีกาได้ก็คล้ายเป็นข้อความที่โจทก์เสนอความเห็นของตนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ข้อความที่ว่า ศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานที่เบิกความ โจทก์ก็ไม่ระบุชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นอยู่ใกล้ชิดกับพยานอย่างไร เพราะเหตุใดจึงจะรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอริบทรัพย์สินในคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด: ผู้มิได้เข้ามาคัดค้านย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ผู้ร้องได้แถลงเพื่อให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่ 1 โดยชอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การดำเนินคดีขอริบทรัพย์สินในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อันเป็นกระบวนการพิเศษ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแตกต่างไปจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กล่าวคือตามมาตรา 30 วรรคสอง จะมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 30 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งริบทรัพย์สินได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา 30 วรรคสองส่วนกรณีมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านตามมาตรา 30 วรรคสอง บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีอาจจะเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกคดีดังกล่าวก็ได้ บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีในกรณีนี้จึงไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เข้ามาในฐานะอ้างว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การไต่สวนคำร้องของศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
การไต่สวนคำร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยหากกรณีมีบุคคลเข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง และบุคคลดังกล่าวไม่มีทนายความ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ที่ศาลจะต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา แม้จำเลยที่ 1 จะมาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรก และในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 30 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องนัดแรกโดยไม่เลื่อนคดีไปนั้นชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ของกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในความผิดที่จำเลยที่ 1กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยสมัครใจและมีส่วนได้เสียหรือไม่และคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ศาลจะสั่งริบรถยนต์ของกลางไม่ได้นั้น เท่ากับจำเลยที่ 1ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยที่ 1 กับพวกถูกฟ้องข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคสาม หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มีผลให้ศาลไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางนั่นเอง การที่บุคคลใดจะพิสูจน์ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุทธรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสองเสียก่อน คือต้องยื่นคำร้องขอคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ยังให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้อีก ก็ย่อมมีผลเท่ากับให้บุคคลดังกล่าวร้องขอทรัพย์สินของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 โดยปริยายอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้ายที่ห้ามมิให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา: เงื่อนไขตามมาตรา 223 ทวิ และผลของการคัดค้าน
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกาถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้แต่โจทก์ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำแก้อุทธรณ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นจำเลยในคดีแพ่ง: การคัดค้านคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นต้องทำโดยอุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องขอใหม่
โจทก์อ้างตามคำร้องขอว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ยังพอมีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาลได้นั้น ความจริงโจทก์ไม่มีเงินดังกล่าวเนื่องจากที่ดินที่โจทก์มีอยู่ไม่สามารถนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้ใดได้ กิจการอพาร์ตเมนต์ที่โจทก์มีอยู่ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก็ขาดทุน และลูกหนี้โจทก์ที่มีอยู่ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก็ยังไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์จึงขอสืบพยานเพิ่มเติม แต่ข้ออ้างของโจทก์เป็นการคัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยโดยคำสั่งหลังเสร็จการไต่สวนแล้ว ข้อวินิจฉัยดังกล่าวหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะคัดค้าน โจทก์ชอบที่จะคัดค้านโดยการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่โดยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์โดยไม่ไต่สวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฎีกา: ไม่ต้องบรรยายคำฟ้องเดิม เพียงคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และระบุคำขอท้ายฟ้องชัดเจน
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (3)ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิมคำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะทั้งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฎอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏ ทั้งระบุคำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจน ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์แล้ว
โจทก์บรรยายคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแต่ละแปลงมาโดยชัดแจ้ง และมีคำขอบังคับให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มกับให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลมาท้ายคำฟ้องฎีกาครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย คำฟ้องฎีกาของโจทก์ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์ ชอบที่ศาลจะรับคำฟ้องฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฎีกา: ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องเดิม แค่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชัดเจน
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะคำฟ้อง คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฏอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏทั้งระบุ คำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจนก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่และการวางหลักประกันต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและให้โอกาสคู่ความคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องบังคับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้ว เมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการ ไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดินหลักประกันของจำเลยและ ให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
of 37