พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาส่งมอบที่ดินตามคำขอให้แก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิ ถือเป็นการแบ่งที่ดินได้ ไม่เกินคำขอ
ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ทั้งเจ็ดขอให้บังคับจำเลยแก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เลขที่ 150 และ 151 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่ง คำขอท้ายฟ้องเช่นนั้นมีความหมายว่า ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งนั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษา ให้จำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดหลายกระทง ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. ได้รับอันตรายสาหัส แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย ว. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กายอีก เป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยมีรายละเอียดให้ เห็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้กระทำความผิดหลายกรรม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์หาได้ไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทง – ศาลจำกัดการลงโทษตามคำฟ้องและคำขอ
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. ได้รับอันตรายสาหัสแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย ว. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กายอีก เป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยมีรายละเอียดให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้กระทำความผิดหลายกรรม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 2 ในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์ได้เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยแก้ไขให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายเพียงกระทงเดียวและลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสเพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3552/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเกินคำขอในฟ้อง ศาลฎีกาตัดสินว่าการลงโทษฐานครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกินคำขอ
นอกจากโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,15 และ 66 แล้ว ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ยังได้ระบุมาตรา 67 ซึ่งเป็นบทลงโทษฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ด้วยจึงมิใช่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง ทั้งความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมรวมถึงการมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ใน ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่ พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจำนองและการคิดดอกเบี้ยเกินคำขอ
จำเลยมอบอำนาจให้ ก.ทำสัญญาจำนองเพื่อให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน และตามสัญญาจำนองมีข้อความระบุชัดแจ้งว่า คู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย สัญญาจำนองดังกล่าวมีผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นผู้ลงชื่อไว้แทนจำเลย ซึ่งมีผลเสมอกับลายมือชื่อของจำเลย สัญญาจำนองย่อมมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่ผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันถัดวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงไม่ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าหลายกรรมต่างกัน การพิพากษาลงโทษเกินคำขอ และการแก้ไขโทษปรับ
ฟ้องข้อ ข. โจทก์บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอรายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้วเดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร เป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ริบของกลางเกินคำขอและมิได้กล่าวในฟ้อง เป็นเหตุให้ศาลฎีกาแก้ไขได้ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถยึดอาวุธปืนที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้มีคำขอให้ริบอาวุธปืนแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบอาวุธปืนซึ่งมีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่หลังพ้นกำหนดระยะเวลา ต้องแสดงเหตุพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
จำเลยทราบว่าถูกฟ้องเมื่อมีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่ามีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลพิจารณาใหม่จะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10ตุลาคม 2539 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 9พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 3 มิถุนายน 2541ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ก็ดี และผู้เช่าซื้อได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วก็ดี หาใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10ตุลาคม 2539 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 9พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 3 มิถุนายน 2541ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ก็ดี และผู้เช่าซื้อได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วก็ดี หาใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและผลของการโอนมรดกโดยสุจริต ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอถือเอาคำพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดินดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 แล้ว และจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ ดังนั้นเงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกดังกล่าวจึงเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ซึ่งถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง โดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6991/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลฎีกาแก้ไขโทษปรับและยืนยันความผิดฐานมีสินค้าละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดฮ. ผู้เสียหาย ที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าซอสหอยนางรมที่จำเลยผลิตขึ้นโดยติดเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110 และ ป.อ. มาตรา 90 แสดงว่า โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเดียวคือเจตนามีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ติดเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมกันโดยจำเลยมีเจตนาต่างกันไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยมาเป็น 2 กระทง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2539 มาตรา 45เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109 และมาตรา 110(1)ประกอบด้วยมาตรา 109 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ความผิดทั้งสองบทดังกล่าวมีระวางโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่น ตามมาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109