คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 การนำเงินภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้างมารวมเป็นเงินได้พึงประเมิน
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514 นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกัน เพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า "คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ" และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน (หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้) เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้น จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 และการใช้ดุลยพินิจของศาล
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกันเพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า"คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ " และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน(หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้)เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้นจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรคสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล การหักผลขาดทุนสะสมข้ามปีตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาคำนวณ
การคำนวณกำไรสุทธิสำหรับเก็บภาษีต้องบังคับตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาคำนวณนั้นแม้ว่าผลกำไรหรือขาดทุนจะเกิดขึ้นในระหว่างยังใช้กฎหมายเดิมที่ยกเลิกไปแล้วก็ตามไม่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเพราะเป็นการคำนวณตามวิธีการในกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะคำนวณกำไรเพื่อจะเก็บภาษีจะนำเอากฎหมายที่ยกเลิกไปมาใช้ในการคำนวณเพื่อเก็บภาษีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้ต้องได้รับจริง จึงจะนำมาคำนวณภาษีได้ สิทธิเรียกร้องในอนาคตไม่ใช่เงินได้
ความในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีจะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้วไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
คำว่า 'กิจการที่กระทำ' ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงแรมภัตตาคาร: การคำนวณจากค่าเช่าที่พัก และกรณีไม่เก็บค่าเช่า
การจัดเก็บภาษีโรงแรมภัตตาคารและการชำระภาษีตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2489 นั้น ท่านให้เรียกเก็บหรือชำระจากค่าเช่าที่พักในอัตราร้อยละ 20 ของเงินที่โรงแรมภัตตาคารเรียกเก็บเป็นค่าเช่าที่พักแล้วปิดอากรแสตมป์เท่าจำนวนภาษี ฉะนั้นการพักโดยมิได้เสียค่าเช่าที่พัก ก็ย่อมไม่มีจำนวนเงินที่จะออกใบรับและคำนวณค่าภาษีที่จะปิดอากรแสตมป์./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้าที่นอนหมอนมุ้งเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้: ไม่ใช่การทำเครื่องเรือน
การขาที่นอนหมอนมุ้งมิใช่เป็นการค้าประเภทการทำเครื่องเรือนและช่างไม้ ตามพระราชกฤษฎีาออกตามความใน ป.ม.รัษฎากร ที่นอนหมอนมุ้งที่โจทก์ค้า ไม่ใช่เครื่องเรือน หรือส่วนประกอบตามความหมายแห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือน: การคำนวณภาษีตามระยะเวลาการใช้งานจริง และความแตกต่างระหว่างภาษีโรงร้านกับภาษีโรงเรือน
ภาษีโรงร้านตามประกาศภาษีเรือ โรง ร้าน ตึกแพจ.ศ.1232 นั้นเป็นภาษีประจำปีที่แล้วแต่มาเก็บในปีต่อมา ส่วนภาษีโรงเรือนตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน 2475 นั้น เป็นภาษีสำหรับปีใดเจ้าพนักงานก็เก็บในปีนั้น
มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน พ.ศ.2475 เป็นแต่เพียงหลักในการคำนวณภาษีที่จะเก็บ คือเอาค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักคำนวณภาษี ไม่ได้หมายความว่าภาษีโรงเรือนประจำ พ.ศ.2487 เป็นภาษีของปี 2486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผล: สิทธิเครดิตภาษีและการคำนวณดอกเบี้ย
ที่ ส. เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความว่า คณะบุคคล ก. และ ว. เป็นหน่วยภาษีที่เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าวนั้น ต้องจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ร่วมหุ้น เงินปันผลที่ได้รับจึงถือเป็นเงินได้ของบุคคลแต่ละคนผู้ร่วมในคณะบุคคลนั้น ก็ปรากฏจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในนามของคณะบุคคล ก. และ ว. ได้จ่ายเงินปันผลให้คณะบุคคลดังกล่าว และผู้จ่ายเงินปันผลได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายแล้ว โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคล ก. และ ว. ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้จ่าย เงินปันผลในระหว่างปีภาษี 2553 ให้แก่คณะบุคคล ก. และ ว. มิได้จ่ายเงินปันผลให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวดังที่พยานจำเลยเบิกความ เมื่อคณะบุคคลดังกล่าวเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลตามมาตรา 40 (4) (ข) จากบริษัทต่าง ๆ ในปีภาษี 2553 ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เกินกว่า 30,000 บาท คณะบุคคลจึงเป็นผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก โดยผู้เป็นบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีอีกตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร คณะบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจัดตั้งขึ้นจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผลที่ได้รับตามมาตรา 65 วรรคสอง โดยนำเงินปันผลที่ได้รับมาเครดิตภาษีตามวิธีการที่มาตรา 47 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติไว้ แล้วมีภาษีที่ชำระเกิน จำเลยจึงต้องคืนภาษีแก่คณะบุคคล ก. และ ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6170/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยต้องรวมเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายสรรพสามิตและกฎหมายจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตเพิ่มเติมจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4 การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เมื่อมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละสิบของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติให้เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ป.รัษฎากร ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วออกจากภาษีที่ต้องชำระ
มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้ว แต่กรณี เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายในช่วงหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ที่จะนำมาหักได้ ประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) ของจำเลย ในช่องการคำนวณภาษีรายการที่ 4 ก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว จึงนำมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระเกินในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ โดยไม่ต้องรอเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ถึงจะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษี โจทก์จึงไม่มีภาษีที่ชำระขาดที่จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่ กต.0723/ว.3956 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ที่ให้คำนวณเงินเพิ่มจากภาษีที่ชำระขาดโดยไม่คำนึงถึงภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จึงเป็นการแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีของผู้เสียภาษี การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
of 5