คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
หนี้ค่าจ้างค้างจ่าย เงินสะสม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ล้วนแต่เป็นเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อ้างเรื่องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยก็สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7657/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบเพราะไม่วางค่าธรรมเนียม – ผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิม – คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งมิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยให้อุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใชแก่โจทก์มาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินต้องมีคำขอในฟ้อง ศาลสั่งริบโดยโจทก์มิได้ขอเป็นคำพิพากษาเกินคำขอ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลในการลงโทษริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลจะพิพากษาหรือสั่งเองโดยโจทก์มิได้ฟ้องหรือมีคำขอมาในฟ้องหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาคดีเดิมผูกพันคู่ความในคดีใหม่ หากมีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพันตรี พ. ผู้วายชนม์ ให้การกับนำสืบต่อสู้ในคดีเดิมที่ถูก ช. ฟ้องขับไล่ว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) และพันตรี พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้องในคดีนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช. ตามที่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้ คำพิพากษาในคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และจำเลย (โจทก์คดีนี้) ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของพันตรี พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของจำเลยในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้จาก ช. และพันตำรวจตรี ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ ฉะนั้น เมื่อคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับดคีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีเยาวชน: การไม่ครบองค์คณะส่งผลให้คำพิพากษาไม่ชอบ หากไม่คัดค้านเสียก่อนฎีกาไม่ได้
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียศาลจะต้องกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 24 ประกอบมาตรา 109 วรรคสอง ปรากฏตามสำนวนคดีนี้ได้ความว่าการพิจารณาคดีในแต่ละนัดบางครั้งก็มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบ 2 คนบ้าง หรือคนเดียวบ้างเป็นองค์คณะ และบางครั้งก็ไม่มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะเลย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทราบเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางซึ่งเป็นศาลชั้นต้นนั้นมาโดยตลอด หากจำเลยทั้งสามเห็นว่าศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีอันเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้ทราบการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้คัดค้านจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสามจะมาฎีกาโต้แย้งในภายหลังหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอุทธรณ์เฉพาะคำสั่ง
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของจำเลย ก็ย่อมมีผลกระทบต่อคดีทั้งคดี เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ดังนั้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในคำพิพากษาชั้นบังคับคดี ศาลอนุญาตได้หากไม่เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษา
การขอแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในคำพิพากษาซึ่งเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่เมื่อมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาก็ขอแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเลขที่โฉนดที่ดินในชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจแก้ไขได้หากไม่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดินที่ต้องบังคับจำนองตามคำพิพากษาจากโฉนดเลขที่ 137814 เป็น 137818 เนื่องจากเจ้าหน้าที่โจทก์พิมพ์เลขโฉนดที่ดินดังกล่าวในสัญญาจำนองผิดพลาด เพราะหมายเลขโฉนดที่ดินเขียนด้วยเลขไทย ไม่สามารถอ่านได้ชัดเจนว่าเป็นโฉนดเลขที่ 137814 หรือ 137818 แต่ในสัญญาจำนองที่ดิน และหนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ระบุระวางของที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตรงกับโฉนดที่ดิน ซึ่งโจทก์ได้ถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าวแนบท้ายฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจบังคับจำนองแก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ที่ถูกต้องได้ โดยไม่เป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาและไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ อันเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นเพียงการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพื่อขอเพิ่มค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ซึ่งไม่เต็มตามคำขอท้ายฟ้อง คงมีแต่จำเลยเท่านั้นอุทธรณ์ ส่วนโจทก์เพียงแต่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้จะแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่พอใจค่าเสียหายตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ แต่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ เท่ากับโจทก์พอใจตามจำนวนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงพิพากษายืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาเพื่อขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ให้สูงขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงนามคนเดียว ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลแขวงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลแขวงจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2548)
of 189