คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาตามยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979-4982/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย+คำพิพากษาตามยอมผูกพันผู้จัดการมรดกและผู้รับพินัยกรรม ต้องโอนทรัพย์มรดกให้ตามสัญญา
แม้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่ล. เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ทั้งห้าก่อนที่ล. จะถึงแก่ความตายเป็นสัญญาจะซื้อจะขายมีเพียงบุคคลสิทธิโจทก์ทั้งห้ายังไม่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนที่จะมีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1ที่2กับจำเลยที่3ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้างถึงสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นที่โจทก์ทั้งห้าได้ฟ้องกองมรดกของล. โดยทายาทผู้รับมรดกและจ.ผู้จัดการมรดกคนเดิมของล. ให้โอนที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ทั้งห้าแม้ต่อมาจ. ถูกศาลชั้นต้นเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งให้จำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวก็ยังมีผลผูกพันถึงจำเลยที่1ที่2และจำเลยที่3ผู้ได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของล.เพราะจ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมกระทำไปในฐานะผู้จัดการมรดกของล. จำเลยที่1และที่2ผู้จัดการมรดกคนใหม่จึงต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกับจ. ที่จะต้องจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกของล. ให้แก่ทายาทหรือมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ที่เจ้ามรดกได้ก่อไว้ก่อนตายด้วยส่วนจำเลยที่3ผู้รับโอนที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของล. เป็นผู้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมจึงต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดที่เกี่ยวกับที่ดินที่รับโอนมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600,1601และ1651(2)จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องจัดการโอนที่ดินพิพาทตามที่ล.เจ้ามรดกทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ทั้งห้าและศาลได้พิพากษาให้โอนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แม้โจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2จัดการโอนที่ดินพิพาทด้วยแต่เจตนาการฟ้องของโจทก์ทั้งห้าก็เพื่อต้องการให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของล. โอนที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทมาตามพินัยกรรมแล้วจึงมีหน้าที่ต้องจัดการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าได้แม้จำเลยที่3จะเป็นวัดเพราะเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่3ปฏิบัติการชำระหนี้ของเจ้ามรดกที่ก่อไว้ก่อนตายมิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดที่ธรณีสงฆ์หรือศาสนสมบัติกลางอันจะต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีล้มละลาย: การบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษาตามยอม และผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
ศาลชั้นต้นได้ยกขึ้นวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่2ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอมนับได้ว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความบังคับคดีโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่2อีกได้แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าโจทก์ไม่นำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์เท่าใดแน่นอนประกอบกับจำเลยที่2มีเงินมาวางศาลประกันการชำระหนี้พอกับจำนวนหนี้ที่โจทก์อ้างว่ายังค้างชำระคดีจึงยังไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายก็ตามแต่ปัญหาที่ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายนั้นเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้หรือไม่ย่อมเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ด้วยดังนั้นประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่2ได้อีกหรือไม่จึงนับว่าประเด็นสำคัญโดยตรงในคดีหาใช่นอกประเด็นของคดีล้มละลายไม่และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวอาจมีผลผูกพันคู่ความในคดีและกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่2ให้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้แม้จำเลยที่2จะเป็นฝ่ายชนะในผลแห่งคดีก็ตาม กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน1ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่19มกราคม2526ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้แล้วการที่จำเลยที่2ไม่ชำระหนี้และโจทก์ได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่2ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตามโจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ที่เหลือจากจำเลยที่2ภายใน10ปีนับแต่วันที่19มกราคม2526แต่โจทก์ได้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่2ขอให้ล้มละลายเมื่อวันที่20พฤษภาคม2536ซึ่งพ้นกำหนดสิบปีแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อหนี้ตามฟ้องโจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำหนี้ตามฟ้องมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีที่ดิน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำกับคู่ความเดิม แม้มีคำพิพากษาตามยอมก่อนหน้านี้
คดีก่อน ส.เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นทับที่ดินที่ ส.เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ง. และ ง.เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. กับจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกทับที่ดินของ ส.อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ. มาตรา 148 คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาให้ยกฟ้องของ ส.โดยไม่ตัดสิทธิ ส.ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้น ไม่มีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ เพราะจำเลยคดีนี้ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-สิทธิผู้สืบสิทธิ: คดีเดิมพิพากษาตามยอมแล้ว ฟ้องซ้ำมีผลผูกพันตามคำพิพากษานั้น
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นทับที่ดินที่ ส. เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ง.และง.เป็นผู้รับพินัยกรรมของส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. กับจำเลยคดีนี้ถูกฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอมที่พิพากษาให้ยกฟ้องของ ส.โดยไม่ตัดสิทธิส. ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้นไม่มีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ เพราะจำเลยคดีนี้ไม่ได้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คดีใหม่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน ศาลยกฟ้อง
คดีก่อน ส. ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 อ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรีได้ออกโฉนดที่ดินพิพาททับที่ดินที่ ส. เป็นเจ้าของอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ต่อมาคู่ความทำ สัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับพินัยกรรม ของ ง.และง. เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ส.โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิของส. จำเลยคดีนี้ก็ถูกโจทก์ฟ้องในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นผู้สืบสิทธิของอธิบดีกรมที่ดินเช่นกัน ถือว่า เป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่า โฉนดที่ดินออกทับที่ดินของ ส. อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพัน หากไม่อุทธรณ์ภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงทำไว้กับโจทก์และที่ศาลพิพากษาตามยอมนั้น หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมมิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมนั้นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง(1)(3)และการอุทธรณ์นั้นจำเลยต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมภายในกำหนดดังกล่าวย่อมเป็นอันถึงที่สุดและมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติโจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับคดีและนำยึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์โดยอ้างเหตุว่าสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์และที่ศาลพิพากษาตามยอม เป็นนิติกรรมอำพรางที่โจทก์ใช้กลอุบายหลอกลวงให้จำเลยหลงทำขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม: ศาลฎีกาชี้ว่าการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นอำนาจศาลชั้นบังคับคดี ไม่ใช่อุทธรณ์
การตีความตามคำพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีมิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมดังนี้เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการรังวัดให้ได้เนื้อที่จำนวน60ไร่ให้แก่บุตรโจทก์ตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยยังมิได้วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จำเลยจึงฎีกาได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดวิธีแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่60ไร่เป็นของบุตรโจทก์ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จำเลยจะยกเหตุอื่นเพื่อแก้ไขมิได้เพราะนอกข้อตกลงคำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีข้อผิดพลาดไม่มีเหตุที่ศาลจะแก้ไขหรือกำหนดแนวทางให้คู่ความปฏิบัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี เริ่มนับจากวันที่เริ่มบังคับคดีได้จริงตามคำพิพากษาตามยอม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด10 ปี คือต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงาน-บังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงาน-บังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะดำเนินวิธีบบังคับอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปีแล้วก็ได้ เพราะจะเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา และกำหนดเวลา 10 ปีตามมาตรานี้ ตามปกติย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย แต่โดยที่หนี้ตามคำพิพากษา-ศาลชั้นต้นที่มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติซึ่งโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีนี้นั้น จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมนความ และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยกำหนดเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีเช่นนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเลย กำหนดเวลา10 ปี ที่โจทก์จะต้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม2524 อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคัคบคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไป โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ทำการยึดทรัพย์ของจำเลย เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2534จึงล่วงเลยเวลาที่บังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาตามยอม หากเกินกำหนด เจ้าหนี้หมดสิทธิบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินวิธีการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี คือต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีก่อน ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บทบัญญัตินี้ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ขอหมายบังคับคดีภายใน10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะดำเนินวิธีบังคับอย่างไรต่อไปเมื่อพ้นกำหนดเวลา 10 ปีแล้วก็ได้เพราะจะเป็นผลให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องถูกบังคับคดีโดยไม่มีกำหนดเวลา และกำหนดเวลา 10 ปีตามมาตรานี้ ตามปกติย่อมต้องนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย แต่โดยที่หนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติซึ่งโจทก์ร้องขอให้บังคับคดีนี้นั้น จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยผ่อนชำระเป็นงวดตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆโดยกำหนดเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2524 หากผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีเช่นนี้ หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเลย กำหนดเวลา 10 ปี ที่โจทก์จะต้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2524อันเป็นวันแรกที่โจทก์อาจขอให้บังคับคดีแก่จำเลยได้เป็นต้นไปโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ทำการยึดทรัพย์ของจำเลย เมื่อวันที่ 14กันยายน 2534 จึงล่วงเลยเวลาที่บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6045/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์ทันที หากคดีถึงที่สุดแล้วไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมนั้นคำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์ หากโจทก์เห็นว่าไม่ชอบอย่างไรก็อาจที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้
of 13