คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา โดยการรังวัดที่ดินตามเนื้อที่คงเหลือหลังตัดถนนออก และการเปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดี
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวิธีการบังคับคดี. โดยระบุว่าให้รังวัดแบ่งที่พิพาทขายให้โจทก์ เนื้อที่2 งาน. ซึ่งหมายความว่า ที่ดิน 2 งาน เมื่อคิดหน้าที่ดินที่ถูกตัดถนนแล้วยังเหลือเท่าใดก็โอนให้โจทก์ไปเท่านั้น. คำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวนี้ย่อมเป็นที่สุด.และต้องรังวัดที่พิพาทเป็นจำนวนเนื้อที่ 2 งาน โดยรวมเนื้อที่ที่ถูกกันไว้เป็นถนนเข้าด้วย. เหลือเท่าใดจึงโอนให้โจทก์ไปเท่านั้น ตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาล.ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินว่า. การแบ่งแยกโฉนดพิพาทออกให้มีเนื้อที่ 2 งาน รวมทั้งเนื้อที่ที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาด้วย จึงเป็นการถูกต้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว. โจทก์จะมาร้องใหม่อีกขอให้รังวัดที่พิพาทออกเป็น 263 ตารางวา แล้วกันส่วนที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาออกนั้น ไม่อาจทำได้. เพราะนอกจากจะขัดกับคำแถลงของโจทก์เองแล้ว ศาลฎีกายังได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วอีกด้วย.
เมื่อการบังคับคดีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดมา ก็จำต้องถือคำพิพากษาฉบับหลังที่สุดเป็นหลักดำเนินการบังคับคดีต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15315/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่โดยผู้ซื้อที่รับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพัน ห้ามใช้สิทธิไม่สุจริต
แม้ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านจะอ้างว่า การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องเป็นละเมิดต่อผู้คัดค้านเพราะผู้คัดค้านมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทและผู้คัดค้านไม่ยินยอมให้ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่ผู้ร้องและบริวารออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย แต่เมื่อได้ความว่า ผู้คัดค้านเคยฟ้องขับไล่สามีของผู้ร้องในที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันจนศาลฎีกามีคำวินิจฉัยพิพากษายกฟ้อง โดยยกเหตุผลเรื่องการรับโอนในที่ดินพิพาทมิได้เป็นไปโดยสุจริตตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2809/2539 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงต้องผูกพันผู้คัดค้าน ฟังได้ว่าการฟ้องขับไล่สามีของผู้ร้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแม้ผู้คัดค้านจะอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ก็ตาม แต่ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกมัดผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิฟ้องขับไล่สามีของผู้ร้องโดยไม่สุจริต ที่ผู้คัดค้านฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องและบริวารออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้โดยอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเช่นคดีเดิมที่เคยฟ้องขับไล่สามีผู้ร้องมาก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเช่นกัน ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องและเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14123/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลอุทธรณ์อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องกรรมสิทธิ์และเจ้าพนักงานบังคับคดีละเมิดกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเพราะเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทราบ ซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำฟ้องขอให้โจทก์และจำเลยคดีนี้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทในอีกคดีหนึ่งแล้ว ครั้นระหว่างการพิจารณาศาลอุทธรณ์ คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ย่อมมีอำนาจยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวซึ่งถึงที่สุด และเป็นข้อเท็จจริงที่ผูกพันคู่ความในคดีนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานนอกสำนวน และปัญหาว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง กับทั้งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทในอีกคดีหนึ่ง แล้วพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว นอกจากนี้ คดีนี้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดมิใช่เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงไม่ต้องเรียกผู้ซื้อทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความเพราะมิได้บังคับต่อบุคคลภายนอก คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8561/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การแจ้งเตือนตามคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ทางแพ่ง
จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์เตือนให้นำเงินค่าภาษีอากรค้างไปชำระ เนื่องมาจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรโดยมิให้ถือจำนวนเงินตามเช็คที่เรียกเก็บไม่ได้เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ในปีภาษี 2534 จำเลยจึงคิดคำนวณภาษีอากรใหม่โดยหักจำนวนเงินภาษีอากรที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้แก้ไขนั้นออกจึงเป็นการแจ้งเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น แม้ตามหนังสือแจ้งเตือนจะระบุการคำนวณภาษีการค้าใหม่มาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ศาลฎีกาให้ลดเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินลง จำเลยจึงปรับปรุงลดยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าให้ด้วย นับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์ให้เสียภาษีอากรน้อยลงโจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าจำนวนค่าภาษีอากรที่ค้างชำระตามที่จำเลยคำนวณใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระเพราะขาดอายุความ จำเลยหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่งของโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2522 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกา: ห้ามมิให้ผู้แพ้คดีอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ศาลตัดสินแล้ว
คดีเดิมจำเลยที่ 1 เคยฟ้องขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้โดยยังไม่กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยทั้งกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจแล้วนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตนเอง โดยผู้ร้องไม่ยินยอมศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มิได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจและฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์เป็นของผู้ร้องอีกและจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีเดิม ดังนั้นคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมย่อมผูกพันผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความกันมาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องอีกหาได้ไม่ ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องร้องซ้ำจึงเป็นกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีก่อนโจทก์ทั้งสี่แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ออกเป็น 2 แปลง คือแปลงเดิมเลขที่ 4044 และแปลงใหม่เลขที่ 4045 ตามคำพิพากษาของศาล จำเลยทั้งสามจึงฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกดังกล่าว เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4045 เป็นไปโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยทั้งสามจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ยินยอมให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมออกเป็นที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 และเลขที่ 4045 เป็นไปโดยไม่ชอบอีกหาได้ไม่
การที่จำเลยทั้งสามมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิมตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4044 แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาด อีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งศาลล่างเรื่องอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. และเด็กชาย ศ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเป็นการชั่วคราวโดยเป็นการทดลองปกครองเลี้ยงดู ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้พิพากษาแก้ไขในส่วนนี้ แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. แต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ศ. แต่เพียงผู้เดียวแยกออกจากกันเช่นนี้แล้ว ย่อมมีผลทำให้คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการชั่วคราวนั้น ไม่อาจบังคับได้ต่อไป เนี่องจากต้องปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่หากจะจำหน่ายคดีโดยยังคงผลของคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้ในคดีนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 แยกกันใช้อำนาจในการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง จึงเห็นสมควรแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องเสียด้วย พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง แล้วให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าเช่ารถเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) เหตุผลผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทในชั้นฎีกาว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่ และคดีดังกล่าวศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรได้มีคำพิพากษาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2564 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18) ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ว่า รายจ่ายค่าเช่ารถสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2551 จำนวน 5,423,488 บาท และสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 8,132,875 บาท เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (18)
of 4