พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาประเภทคำร้องระหว่างทุเลาการบังคับกับคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ.
แม้โจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลย จึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาความหมายของคำร้องและเหตุผลในการมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรม
โจทก์ใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลยจึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาสองครั้งในประเด็นเดียวกัน ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่อีกในประเด็นเดียวกัน ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: คำร้องของจำเลยเฉพาะราย ไม่ถือเป็นคำร้องแทนกันทั้งหมด
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องและลงชื่อท้ายคำร้องเพียงผู้เดียวเท่านั้น คำร้องดังกล่าวจึงเป็นคำร้องของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะ จะแปลความว่าจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ด้วยหาได้ไม่ ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เข้าใจผิดคิดว่าการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หมายถึงจำเลยทุกคนนั้น ก็มิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และเหตุที่อ้างก็มิใช่เหตุสุดวิสัยอันจะมีคำขอภายหลังสิ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 กรณีจึงไม่มีเหตุจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำนวนอุทธรณ์โดยตรงถึงศาลฎีกาโดยไม่ผ่านศาลอุทธรณ์: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาจนกว่าศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อมาเจ้าหน้าที่รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้รับสำเนาอุทธรณ์และสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์แต่ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนไปศาลฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 233 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องมีการสืบพยานหลักฐานบางแล้ว จึงจะยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หมายถึง ผู้ยื่นคำขอจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่ได้ เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาคตในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการสืบพยานจำเลยแม้แต่ปากเดียว จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาคตในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการสืบพยานจำเลยแม้แต่ปากเดียว จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 กำหนดให้อำนาจในการสั่งคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นของศาลอุทธรณ์ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียเองจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำความเห็นอีก เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลจึงพิพากษายกคำร้อง คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการสุขาภิบาลพ้นตำแหน่งเมื่ออุปสมบท แม้ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการเพราะไปอุปสมบทเป็นภิกษุ ซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย ส่วนประธานกรรมการสุขาภิบาลก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นข้อต่อสู้คดีร้องขัดทรัพย์ ต้องแสดงเหตุโต้แย้งสิทธิชัดเจนในคำร้อง
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 55 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ได้นั้น ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริตจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวและกรณีมิใช่เรื่องที่คู่ความสามารถนำพยานเข้ามาสืบประกอบได้เองโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายมาในคำร้องดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)