พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ และสิทธิในการร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้คัดค้าน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่มีผู้ขอรับชำระหนี้ต่อศาล แม้จะมีความเห็นควรให้ได้รับชำระหนี้ แต่ความเห็นของผู้คัดค้านนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น จึงย่อมไม่มีการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้าน ต่อเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้อย่างไรแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป
ข้อฎีกาของผู้ร้องที่ว่า ตามคำสั่งของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยให้ธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อเป็นกรณีเดียวกับที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านโดยให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. แต่เมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านว่าก่อนที่ผู้ร้องฟ้องให้จำเลยล้มละลายเพียง 21 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมให้ไว้แก่ธนาคาร ก. ตามพฤติการณ์เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ขอให้ผู้คัดค้านพิจารณายกคำร้องขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก. ซึ่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้มีคำวินิจฉัยว่า ในปัญหาเรื่องการเพิกถอนการจำนองนั้น เนื่องจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนอง ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินและให้สินเชื่อแก่บุคคลทั่วไป การที่ลูกหนี้ (จำเลย)กู้เงินประจำเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคาร ก.โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันซึ่งเป็นเรื่องปกติทางการค้าของธนาคาร จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว ผู้คัดค้านวินิจฉัยให้ธนาคาร ก.ได้รับชำระหนี้ .. ย่อมแสดงว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าว ผู้คัดค้านเห็นไม่สมควรเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันดังกล่าวและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 และมีคำขอให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองตามสัญญจำนองที่ดินระหว่างจำเลยกับธนาคาร ก.และให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องต่อไป จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอให้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินรายนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านแล้ว ผู้ร้องทั้งสองชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตามมาตรา 146แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้
การเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115เพียงแต่ลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตของเจ้าหนี้ผู้ถูกเพิกถอน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2537 ธนาคาร ก.ได้ให้จำเลยกู้เงินโดยจำเลยจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 67669 และ 67670 ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองให้แก่ธนาคาร ก. แต่จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายในวันที่ 6 ตุลาคม2537 ธนาคาร ก.จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 การที่จำเลยนำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้กับธนาคาร ก.ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ย่อมจะทำให้ธนาคาร ก.เจ้าหนี้รายนี้แต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเป็นการแสดงถึงเจตนาของจำเลยว่ามุ่งหมายให้ธนาคาร ก.ผู้รับจำนองได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ๆ
ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ขอให้เพิกถอนการจำนองโดยผลของกฎหมายตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 การที่ผู้คัดค้านนำสืบหักล้างเพียงว่าธนาคาร ก.และจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้มาก่อน จึงไม่ขอเพิกถอนการจำนองให้ตามที่ผู้ร้องร้องขอนั้น เมื่อจำเลยกับธนาคาร ก.เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้และต้องด้วยเงื่อนไขที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้ และผู้คัดค้านมีคำสั่งไม่ดำเนินการเพิกถอนการจำนองให้ผู้ร้อง จึงถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายโดยคำวินิจฉัยหรือการกระทำของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146 และกรณีตามคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก็ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านให้มีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองรายนี้โดยสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการตามคำร้องที่ขอไว้กับผู้คัดค้านต่อไป เท่ากับว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จึงชอบที่ศาลจะสั่งให้ผู้คัดค้านดำเนินการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีศาลแรงงานกลางผูกพันเฉพาะคดีที่วินิจฉัย แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด มีความหมายว่า หากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไร คำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้น หาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 321/2538ของศาลแรงงานกลาง เป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน ซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้าง คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงาน และศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผูกพันเฉพาะคดีเดิม แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน คดีใหม่ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด มีความหมายว่า หากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไร คำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้น หาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 321/2538 ของศาลแรงงานกลาง เป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้าง คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผู้พิพากษาผูกพันเฉพาะคดีที่วินิจฉัย ไม่ผูกพันคดีอื่น
กรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไรคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา9วรรคสองและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้นหาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่ดังนั้นแม้จะได้ความว่าคู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนของศาลแรงงานกลางเป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนที่ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานจึงไม่มีผลถึงคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผูกพันเฉพาะคดีเดิม แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา9วรรคสองที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุดมีความหมายว่าหากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไรคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้นหาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่321/2538ของศาลแรงงานกลางเป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้างคดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณี คชก.วินิจฉัยสิทธิซื้อที่ดิน - จำเป็นต้องฟ้อง คชก.เป็นจำเลยเพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัย
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอน ส.ทนายความโจทก์ร่วมและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น เมื่อฎีกาโจทก์และโจทก์ร่วมลงชื่อ ส.เป็นผู้ฎีกา ซึ่งเป็นเพียงทนายความโจทก์เพียงผู้เดียว จึงต้องถือว่าโจทก์ร่วมไม่ได้ฎีกาด้วย
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 57 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ว่าโจทก์หมดสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอน โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดยฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด กับให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดดังกล่าวต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเป็นจำเลยด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังไม่ถูกเพิกถอนและมีผลบังคับอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับโอนนาพิพาท ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนโดยลำพังได้ แต่การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 57 เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่เห็นชอบตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ว่าโจทก์หมดสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอน โจทก์ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดยฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด กับให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดดังกล่าวต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเป็นจำเลยด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังไม่ถูกเพิกถอนและมีผลบังคับอยู่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับโอนนาพิพาท ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและให้โจทก์มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากผู้รับโอนโดยลำพังได้ แต่การยกฟ้องโจทก์เกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยเนื้อหาในประเด็นข้อพิพาทว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. กรณีพิพาทที่ดิน โจทก์ต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงมีสิทธิฟ้องบังคับได้
คดีนี้โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาท โจทก์จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัย และมิได้มีการเรียก คชก.จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จนล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองขายที่นาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด และปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่คู่ความไม่ต้องร้องขอ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9935/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการ คชก. มีส่วนได้เสีย ทำให้คำวินิจฉัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยได้
เมื่อ ช.กรรมการคชก.ตำบลลำโพเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสอง ช. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีพิพาทรายนี้คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลลำโพ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 18 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ศาลมีอำนาจปฎิเสธไม่รับบังคับตามคำวินิจฉัยนั้นได้ ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 และพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยด้านค่าทดแทนเดิมได้ แม้มีการแก้ไขราคาเพิ่มแล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเงินค่าทดแทนออกเป็น3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่งซึ่งการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับ คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลมีอำนาจตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาทแต่ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาทซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน318,500 บาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: คำวินิจฉัยช้าทำให้ระยะเวลาฟ้องคดีเริ่มต้นใหม่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคหนึ่งบัญญัติว่า"ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา25วรรคสองให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี"ดังนั้นหากโจทก์ประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลโจทก์จะต้องยื่นคำฟ้องเสียภายใน1ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีซึ่งตามมาตรา25วรรคสองบัญญัติว่าให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์แต่หากรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในเวลาดังกล่าวก็ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเสียภายใน1ปีนับแต่วันพ้นกำหนดหกสิบวันแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์แต่คดีนี้รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา25วรรคสองโดยเพิ่งจะแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบวันที่25มกราคม2536เป็นระยะเวลาหลังจากที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์เกือบ3ปีโจทก์จึงต้องยื่นคำฟ้องเสียภายใน1ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา25วรรคสองคือต้องยื่นคำฟ้องภายในวันที่24มิถุนายน2534แต่โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่28มกราคม2537อำนาจการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไป