พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9407/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์: หน้าที่ของศาลชั้นต้นในการส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์
กรณีที่คู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยไม่ชักช้า โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่จะตรวจสั่งไม่รับคำร้องเช่นว่านั้นเหมือนอย่างชั้นสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 234 เสียเอง โดยไม่ได้ส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับการขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา: สิทธิมีเฉพาะผู้ขอ
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ขอ ไม่มีผลถึงคู่ความอื่น หากขอฟ้องคดีหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แล้วศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำสั่งนั้นเป็นที่สุด หากศาลชั้นต้นยกคำขอหรืออนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้บางส่วน ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ส่วนคู่ความอื่นมิได้ยื่นคำขอพิจารณาคดีอย่างคนอนาถานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติให้มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหน้าที่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลเพื่ออุทธรณ์ให้ชอบ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและเห็นว่าฟ้องแย้งเป็นคดีมีทุนทรัพย์จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มภายใน 3 วัน หากไม่เสียให้ถือว่าทิ้งฟ้องแย้ง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นสั่งว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 จึงไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้อีก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มานั้นจึงไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้จำเลยจะได้โต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้นัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้น ย่อมอาจมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกไปด้วย กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย อันเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่ต้องปฏิบัติ เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้จำเลยจะได้โต้แย้งไว้เพื่อการใช้สิทธิอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้นัดสืบพยานจำเลยต่อไปนั้น ย่อมอาจมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกไปด้วย กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย อันเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่ต้องปฏิบัติ เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้น
เนื้อหาในฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำวินิจฉัยพยานหลักฐานและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาในข้อเท็จจริงต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น แม้มีคำสั่งอื่นก็มิอาจใช้สิทธิได้
ส. เป็นผู้พิพากษาที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของจำเลยเท่านั้น อันเป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว ส. ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส. รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดีนี้ยังคงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5 หมื่นบาท และการพิจารณาคำสั่งระหว่างพิจารณา
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการพิจารณาคำสั่งระหว่างพิจารณา
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรับฎีกา, การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา, และหน้าที่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ในชั้นที่จำเลยยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้อำนาจศาลชั้นต้นไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเสียเองเป็นการไม่ชอบ และเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาหลังมีคำพิพากษา ต้องวางค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ว.พ.พ.
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิได้จำกัดว่าการที่คู่ความฝ่ายอุทธรณ์ที่ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลนั้นเฉพาะคำพิพากษาที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีประการเดียว แต่ยังหมายความรวมถึงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาภายหลังที่ศาลได้พิพากษาโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดี การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและสืบพยานต่อไป จำเลยที่ 1และที่ 3 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่วาง อุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์หลังขยายเวลา: ศาลพิพากษายกคำสั่งรับอุทธรณ์เมื่อยื่นเกินกำหนด
ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 5 ธันวาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงต้องนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่5 โดยเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6,7และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่เพราะวันดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 เมื่อเริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ที่ขอขยายครั้งแรกคือวันที่ 6 ธันวาคม 2541 จะครบกำหนด 20 วัน ในวันที่ 25 ธันวาคม2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ 10วัน นับถัดจากวันครบกำหนดที่อนุญาตครั้งแรก การนับระยะเวลาที่ขยายออกไปในครั้งหลังจึงต้องนับตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 4 มกราคม 2542 จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มกราคม 2542 จึงเกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นสั่งขยายให้แล้ว