พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ซ้ำหลังคำสั่งถึงที่สุด ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ และคำสั่งนั้นได้ถึงที่สุดแล้วนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิมาร้องขัดทรัพย์ใหม่ ถือเป็นการฟ้องซ้ำอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 148(1) เพราะการร้องขัดทรัพย์ มาตรา 288บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเหมือนอย่างคดีธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันนัดพิจารณา ทำให้คำสั่งอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ถึงที่สุด แม้เวลาผ่านไปนาน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องแก่ทุกฝ่ายและนัดพร้อมกันเพื่อสอบถาม ทนายของจำเลยได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวแล้ว แต่ในวันนัดจำเลยและทนายไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำร้องขอ เฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยไม่คัดค้านและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพิ่งจะมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2514 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้จึงถึงที่สุด จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันนัดพิจารณา ทำให้คำสั่งอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องแก่ทุกฝ่ายและนัดพร้อมกันเพื่อสอบถาม ทนายของจำเลยได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวแล้วแต่ในวันนัดจำเลยและทนายไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่ได้ยื่นคำแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหรือไม่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยไม่คัดค้านและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพิ่งจะมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2514 ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ได้จึงถึงที่สุด จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาโรงเรียนราษฎร์: ต้องรอคำสั่งรัฐมนตรีถึงที่สุดหลังอุทธรณ์
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 มาตรา 45ให้ถอนใบอนุญาตของจำเลยในฐานะเป็นเจ้าของโรงเรียนราษฎร์ เพราะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นหลายประการ แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นตามมาตรา 59 แล้ว ในขณะที่ยังไม่มีคำสั่งที่ถึงที่สุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั้น โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานฝ่าฝืนดำรงกิจการดำเนินการเปิดสอนและไม่ปฏิบัติหน้าที่รวบรวมหลักฐานส่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 มาตรา 43, 48, 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาโรงเรียนราษฎร์: ต้องรอคำสั่งถึงที่สุดหลังอุทธรณ์
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 มาตรา 45ให้ถอนใบอนุญาตของจำเลยในฐานะเป็นเจ้าของโรงเรียนราษฎร์เพราะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นหลายประการ แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นตามมาตรา 59 แล้ว ในขณะที่ยังไม่มีคำสั่งที่ถึงที่สุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั้น โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานฝ่าฝืนดำรงกิจการดำเนินการเปิดสอนและไม่ปฏิบัติหน้าที่รวบรวมหลักฐานส่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497 มาตรา 43, 48, 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด ห้ามฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับพิจารณาคดีใหม่ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
+ดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีมูลให้ศาลชั้นต้นรับพิจารณาต่อไปนั้น เป็นคำสั่งถึงที่สุดฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตรวจสอบการจับกุมเด็กเยาวชนเป็นของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์/ฎีกาได้
อำนาจในการตรวจสอบการจับกุมเป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นที่จะเป็นผู้ตรวจสอบว่าเด็กหรือเยาวชนที่พนักงานสอบสวนนำตัวมาอยู่ต่อหน้าศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมนั้น เป็นเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือไม่ การจับและการปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ผู้ต้องหาจะอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คำสั่งถึงที่สุด: ศาลยกฟ้องคดีเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน เนื่องจากฟ้องซ้ำและคำสั่งเดิมผูกพัน
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองกับนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินและจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 7524 ทั้งหมด อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์อ้างเหตุและมีคำขอท้ายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นอย่างเดียวกันกับคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 7524 และ10625 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินไม่ได้ถูกเพิกถอน ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินดังกล่าวตามคำสั่งศาลและมีสิทธิโอนต่อไปได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 7524 และ10625 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินไม่ได้ถูกเพิกถอน ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดย่อมมีสิทธิรับโอนที่ดินดังกล่าวตามคำสั่งศาลและมีสิทธิโอนต่อไปได้