คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การ โดยจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชอบเนื่องจากเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายทนายความและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลรวมทั้งเรียงคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยยื่นคำให้การระบุว่า ส. ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แต่มิได้ยื่นใบแต่งทนายความหรือแสดงพยานหลักฐานว่า ส. เป็นทนายความ จึงยังไม่ชัดเจนว่าคำให้การของจำเลยชอบหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้จำเลยแสดงหลักฐานการเป็นทนายความ จึงเป็นการสั่งเพื่อตรวจคำให้การของจำเลยหาใช่สั่งให้ส่งเอกสารที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงหลักฐานการเป็นทนายความของ ส. ภายในเวลาที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนด จึงถือว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจเป็นคำให้การไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ความผิดพลาดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียก ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ส่งไปยังจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่แรก แต่ความผิดพลาดดังกล่าวเกิดจากการรายงานผลการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องของพนักงานเดินหมาย จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว หาได้มีเจตนาหรือจงใจขาดนัดยื่นคำให้การแต่อย่างใดนั้น ไม่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานแต่มิได้แจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ โดยเพิ่งมายื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การภายหลัง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคหนึ่ง ว่าเป็นการไม่ชอบหรือไม่อย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7860/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากคำให้การของผู้ต้องหาที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์ได้มาสืบเนื่องจากคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสิ้น ประกอบกับทางนำสืบของจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เหมือนกับที่จำเลยให้การไว้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จึงถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ข้อหาความผิดซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยไปถึงข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812-7813/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การก่อน จึงจะอุทธรณ์ได้
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่นั้น จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานจะพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 9 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าคอมมิชชั่นขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้ การที่จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลคำให้การจำเลยต่างด้าวโดยล่ามที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยที่ 2 ไม่ยกประเด็นความประมาทเลินเล่อในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 มิได้ยกประเด็นที่ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่อขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของตน คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวมาแต่ต้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างมาในฎีกาว่าพยานเอกสารบางฉบับเข้าสู่สำนวนโดยมิชอบ ก็ถือว่าเป็นปัญหาในเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: ค่าจ้าง vs. สัญญาจ้าง, การเพิ่มเติมคำให้การ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ให้ศาลแรงงานสอบถามและบันทึกคำให้การจำเลยในวันนัดพิจารณา และตามมาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติว่าจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาล (วันนัดพิจารณา) ก็ได้ การที่จำเลยขอเพิ่มคำให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความโดยยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แต่ยังไม่ได้สืบพยานโจทก์ จำเลยจึงยื่นคำให้การเพิ่มเติมได้โดยชอบเพราะยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยสามารถให้การเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่โจทก์ก็ระบุรายละเอียดว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จำเลยยังจ่ายให้โจทก์ไม่ครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำให้การในคดีแรงงานเรื่องอายุความ ศาลอนุญาตได้หากยังอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ซึ่งข้อกฎหมายเกี่ยวกับคำให้การของจำเลยในคดีแรงงานนั้น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 39 ที่ให้ศาลแรงงานสอบถามและบันทึกคำให้การจำเลยในวันนัดพิจารณาและตามมาตรา 37 วรรคสอง ก็บัญญัติว่าจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาล (วันนัดพิจารณา)ก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยขอเพิ่มเติมคำให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความโดยยื่นต่อศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์แต่ยังไม่ได้สืบพยานโจทก์ จำเลยจึงยื่นคำให้การเพิ่มเติมได้โดยชอบเพราะยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยสามารถให้การเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาได้ตามมาตรา 39 และมาตรา 37 ดังกล่าวแล้วและกรณีดังกล่าวไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 มาใช้บังคับ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหลังจากวันนัดพิจารณา ที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเพิ่มเติมนั้นชอบแล้ว
of 72