พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางที่ถูกริบตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: สิทธิของเจ้าของที่ไม่รู้เห็นเป็นใจ
การขอคืนของกลางตามพระราชบัญญัติป่าไม้ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่พิพากษาให้ริบนั้น ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองขอคืนได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 64 ทวิ วรรคสอง ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2518 มาตรา 26แต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ริบตามมาตรา 74 และ 74ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้นั้นมิได้บัญญัติเรื่องการขอคืนของกลางไว้ในที่ใดในพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องใช้บทบัญญัติทั่วไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา 17บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกริบมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมจะร้องขอต่อศาลให้สั่งคืนของกลางแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง: ศาลต้องพิจารณาเนื้อหาคำร้องก่อน หากยังไม่เชื่อมั่นในตัวผู้ร้อง สิทธิยื่นคำร้องไม่ระงับ
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลาง(ซึ่งศาลสั่งริบไว้) แก่ผู้ร้องครั้งหนึ่งแล้ว แต่ศาลสั่งยกคำร้องเสีย เพราะเห็นว่าข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโตโยต้านครราชสีมาซึ่งเป็นผู้ร้องมีจริงหรือไม่ และเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางจริงหรือไม่ คำสั่งดังกล่าวเป็นการยกคำร้องโดยไม่เชื่อว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจยื่นคำร้อง ยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องที่ว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางมิได้รู้เห็นเป็นใจที่จำเลยนำไปใช้กระทำผิด สิทธิยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลาง: ศาลฎีกาตัดสินว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ยกคำร้องและไม่มีการฎีกาต่อ คดีขอคืนของกลางย่อมยุติ
ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ โจทก์คัดค้านเป็นคดีพิพาทกันเรื่องขอให้คืนของกลาง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องเพราะในคดีอาญาเดิมศาลชั้นต้นมิได้มีคำพิพากษาให้ริบของกลางและผู้ร้องก็ไม่ได้ฎีกาต่อมาคดีเรื่องที่ผู้ร้องขอคืนของกลางย่อมเป็นอันยุติไม่มีข้อที่โจทก์จะต้องพิพาทโต้แย้งต่อไปอีกในชั้นนี้ ถ้าหากคำพิพากษาในคดีอาญาเดิมของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดบกพร่องอย่างไรก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวในคดีเดิมนั้นศาลฎีกาวินิจฉัยให้ในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนไต่สวนคำร้องคืนของกลาง: ศาลพิจารณาเหตุผลและความไม่คัดค้านของโจทก์
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบในข้อหากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ทนายผู้ร้องมาศาลและยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลโดยไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ขอเลื่อนการพิจารณาไปสัก 3-4 วัน โจทก์แถลงไม่คัดค้าน ดังนี้ เป็นการขอเลื่อนครั้งแรกเพียง 3-4 วัน ทั้งโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ส่วนการที่ผู้ร้องและพยานไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทนายผู้ร้องทราบนั้น จะถือเป็นความผิดของผู้ร้องไม่ได้ ประกอบกับเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรอนุญาตให้เลื่อนคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบมาตรา 17
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลมีอำนาจสั่งคืนได้ตามกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35 เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยานหักล้างได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในกรณีผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกศาลสั่งให้ริบยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้คืนทรัพย์ที่ริบเพราะมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด แม้โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านก็ตาม จะถือว่าโจทก์ยอมรับว่าทรัพย์ของกลางนั้นเป็นของผู้ร้องรวมตลอดทั้งเหตุผลที่อ้างในการขอคืนทรัพย์ในคำร้องนั้นด้วยยังไม่ได้ และการที่โจทก์มายื่นบัญชีอ้างพยานเมื่อฝ่ายผู้ร้องสืบพยานเสร็จ ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์สืบพยานได้ หากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2509 วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลาง นับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาจำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2509วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟังการนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลางนับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไปการที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอคืนของกลาง: เริ่มนับจากวันที่ศาลอ่านคำสั่งถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษา
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่15 มีนาคม 2509. วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา. ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา. จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย. และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2509. วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง. ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง.การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลางนับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป. การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512).