พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินให้ผู้เสียหายไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงยังไม่ระงับ
ฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่ายังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าธรรมเนียมศาลและค่าคำร้องที่ชำระเกินจำนวนที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยโดยมิได้สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ต่อมาเมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยชำระค่าคำร้องมา 200 บาท ซึ่งความจริงต้องชำระเพียง 40 บาท การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมและสั่งคืนค่าคำร้องที่เกิน 40 บาท ให้จำเลยเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 167 และตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาขายฝาก โมฆะ และต้องคืนเงินตามจำนวนที่รับจริง
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โจทก์กู้เงินจากมารดาจำเลยหลายครั้ง โจทก์มอบโฉนดที่ดินให้มารดาจำเลยไว้เป็นประกัน ต่อมามารดาจำเลยแจ้งว่าโจทก์ค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้น โจทก์กับจำเลยก็ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทที่บ้านของมารดาจำเลยในราคา 180,410 บาท เจตนาของโจทก์จำเลยที่แท้จริง คือต้องการขายฝากที่ดินพิพาท โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาท สัญญาขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนสัญญาขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 155 วรรคสองและมาตรา 152 เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับต่างตกเป็นโมฆะคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ คือ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลย และจำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิเสธในยอดหนี้ที่มารดาจำเลยกล่าวอ้าง อีกทั้งยอมไถ่ถอนที่ดินพิพาทในราคา 180,410 บาท ตามคำขอท้ายฟ้อง ต้องถือว่ามีการรับเงินหรือหักกลบลบหนี้กันตามจำนวนดังกล่าว เมื่อสัญญาตกเป็นโมฆะโจทก์จึงต้องคืนเงินจำนวน 180,410 บาท แก่จำเลย แต่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์คืนเงินเพียง 180,000 บาท ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปจากคำขอฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลฎีกาเกินจริง: กรณีอุทธรณ์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลต้องคืนเงินส่วนเกินให้โจทก์
แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ผู้ฎีกาก็ยังมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7388/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อความเสียหายโดยตรง จึงต้องคืนเงินให้บริษัทประกัน
กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุว่า เมื่อบริษัทโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายหรือตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัย เพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นนั้นซึ่งผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัทภายใน 7 วัน แสดงว่าโจทก์ จะเรียกให้ผู้เอาประกันภัยใช้เงินคืนแก่โจทก์ได้เฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย เมื่อ ส. เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันที่จำเลยได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ไปเฉี่ยวชน จ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก หาใช่จำเลยซึ่งเป็น ผู้เอาประกันภัยได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปเฉี่ยวชน จ. และต้องรับผิดต่อ จ. ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลย ใช้จำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504-505/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงซื้อขายฝากที่ดิน: โมฆะเพราะสำคัญผิดในทรัพย์สิน, การคืนเงินต้องควบคู่กับการคืนที่ดิน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชี้ให้โจทก์ร่วมดูบ้านและที่ดิน จำเลยที่ 2 มีอาชีพเป็นนายหน้าชักชวนโจทก์ร่วมมาดูที่ดินและรับซื้อฝาก เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นด้วย ในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันแต่แบ่งงานกันทำ เมื่อที่ดินที่โจทก์ร่วมรับซื้อฝากตามสัญญาขายฝากที่ดินเป็นคนละแปลงกับที่จำเลยทั้งสามร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ ทั้งไม่มีทาวน์เฮาส์ปลูกอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
โจทก์ร่วมรับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม นิติกรรมย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันคืนเงินที่รับซื้อฝากไว้ให้แก่โจทก์ร่วมก็ต่อเมื่อโจทก์ร่วมต้องคืนที่ดินที่รับซื้อฝากไว้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้เสนอที่จะคืนที่ดินดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้ชำระเงินค่าที่ดินที่ซื้อฝากไปเท่าใด ศาลจึงไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะต้องไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ร่วมรับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม นิติกรรมย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันคืนเงินที่รับซื้อฝากไว้ให้แก่โจทก์ร่วมก็ต่อเมื่อโจทก์ร่วมต้องคืนที่ดินที่รับซื้อฝากไว้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้เสนอที่จะคืนที่ดินดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้ชำระเงินค่าที่ดินที่ซื้อฝากไปเท่าใด ศาลจึงไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะต้องไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิการเช่า: การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการจดทะเบียนและชำระเงิน ทำให้คู่สัญญาบอกเลิกได้และต้องคืนเงิน
การจะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนสิทธิการเช่าต่อเจ้าพนักงานเสียก่อนวันนัดจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานต้องออกประกาศเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันจดทะเบียน หากไม่มีผู้ใดคัดค้านเจ้าพนักงานจึงจะจดทะเบียนให้ และต้องมีหนังสือยินยอมให้โอนสิทธิการเช่าจากผู้ให้เช่าไปแสดงต่อเจ้าพนักงานด้วย ในขณะเดียวกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือในวันจดทะเบียนโอน ปรากฏว่าในวันจดทะเบียนโอน จำเลยไม่ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนดังกล่าวและไม่มีหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่าไปแสดง โจทก์ก็ไม่ได้เตรียมเงินที่จะต้องชำระให้แก่จำเลย กรณีของโจทก์และจำเลยปรับ ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 210, 211 ถือว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต่างบอกเลิกสัญญาแก่กันและกันแล้ว โดยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงต้องให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ และเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก เอาเบี้ยปรับตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษในคดีลักทรัพย์/รับของโจร ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้คืนเงินเฉพาะส่วนที่รับมา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข