คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีเป็นบุคคลล้มละลายที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้พ้นจากคดี
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลแพ่งธนบุรียังไม่ได้สั่งให้พ้นจากคดี แม้คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (2) และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 29
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลงวันที่ในทะเบียนบ้านเท็จ ส่งผลให้ผู้ขาดคุณสมบัติได้รับการเลือกตั้ง ศาลยืนโทษ
จำเลยกรอกวันที่ย้ายเข้าลงในทะเบียนบ้านอันเป็นเท็จ เป็นการกระทำเพื่อให้ผู้อื่นมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ เมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าของบ้านที่จำเลยกระทำดังกล่าวไปใช้สมัครรับเลือกตั้งจนได้รับการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ขาดคุณสมบัติ ถือได้ว่าจำเลยช่วยส่งเสริมให้การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของประเทศเป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม อันเป็นการบ่อนทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาและอำนาจตัดค่าจ้างทำให้ขาดคุณสมบัติสมาชิกสหภาพแรงงาน
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกงบประมาณและการเงินระดับ 8 มีอำนาจในการตัดค่าจ้างหรือลดค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของโจทก์ตามระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543และเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกและกรรมการของสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 51 วรรคสอง และมาตรา 56 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล: เทศบาลไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัคร
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 ได้กำหนดช่องทางให้บุคคลเสนอคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลต่อศาลได้เพียง 2 กรณี กรณีแรกผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่าผู้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งผู้ใดไปสมัครรับเลือกตั้งและมีการประกาศชื่อให้รับผู้นั้นเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง กรณีที่สองผู้เลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคนหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดในเขตเลือกตั้งนั้นเห็นว่า การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยไม่ชอบ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเทศบาลตำบลเสนอคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้พิจารณาและวินิจฉัยคุณสมบัติของสมาชิกสภาเทศบาล จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเสนอคำฟ้องได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายให้อำนาจโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องเช่นนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. - ความเชื่อโดยสุจริต, คุณสมบัติผู้สมัคร
จำเลยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยไม่รู้ว่าจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามกฎหมายนอกจากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจังหวัดเลยได้ตรวจคุณสมบัติของจำเลยแล้วเห็นว่าจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีหนังสือรับรองของกระทรวงมหาดไทยรับรองว่าจำเลยเคยรับราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเลยครบ 2 ปี ด้วย เมื่อจำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะกระทำความผิดต่อกฎหมายโดยเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้บริหารแผน, การปรับโครงสร้างหนี้, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีล้มละลาย
ในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาล พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/57 บัญญัติว่า "ให้ศาลพิจารณาคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผน รวมทั้งข้อคัดค้านของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 90/30 ซึ่งไม่ได้ลงมติยอมรับแผน" ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลพิจารณาข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ด้วยแต่มิได้บังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เสมอไป จึงย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการ คำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผน รวมทั้งข้อคัดค้านของเจ้าหนี้มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดชัดเจนเพียงพอแก่การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้งดการไต่สวนจึงชอบแล้ว
แม้ช. จะมีฐานะเป็นกรรมการลูกหนี้และมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ด้วยก็ตามแต่เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. เจ้าหนี้มีประกันรายใหญ่ คือบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 2. เจ้าหนี้ไม่มีประกันรายย่อย คือ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3. เจ้าหนี้ไม่มีประกันในฐานะเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืม คือ ช. และแผนได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ให้แก่จเานี้ทั้งสี่กลุ่มโดยปรับลดภาระหนี้ดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1.62 ส่วนภาระหนี้เงินต้นจะชำระโดยโอนหุ้นบริษัท ส. มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นบริษัท บ. มูลค่าหุ้นละ 18 บาท ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง จัดสรรหุ้นกู้ไม่มีประกันของลูกหนี้ มูลค่าหุ้นละ 10 ชำระหนี้อีกส่วนหนึ่ง และจะทยอยชำระหนี้ส่วนที่เหลือด้วยเงินสดภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการโดยไม่มีดอกเบี้ย ตามแผนฟื้นฟูกิจการข้อ 6.2 ถึง 6.4 และเอกสารแนบท้ายหมายเลข 3 ถึง 6 ถือได้ว่าเจ้าหนี้ทุกรายได้รับการปฏิบัติชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้เท่าเทียมกัน ช. ไม่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะควรได้รับในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ดังนั้น ช. จึงชอบที่จะออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 34 วรรคสาม ประกอบมาตรา 90/2 วรรคสอง
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดวิธีการชำระหนี้ โดยโอนหุ้นบริษัท ส. มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และหุ้นบริษัท บ. มูลค่าหุ้นละ 18 บาท และจัดสรรหุ้นกู้ไม่มีประกันของลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้บางส่วน หากหุ้นดังกล่าวมีราคา ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการอันจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ แต่การโอนหุ้นและออกหุ้นกู้ดังกล่าวก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งนี้เพราะแผนฟื้นฟูกิจการข้อ 6.6 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "ภายหลังการปรับโครงสร้างหนี้โดยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองเพื่อชำระเงินต้นค้างชำระตามแผน เจ้าหนี้ตามแผนยังคงมีสิทะในทางจำนองและจำนำเหนือทรัพย์หลักประกันตามสัญญาเดิมและ/หรือสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้เงินต้นค้างชำระตามแผน ทั้งนี้การดำเนินการตามแผนฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ดังนั้นตราบใดที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามรายละเอียดที่กำหนดในแผน ภาระหนี้ของลูกหนี้ที่กำหนดในแผนที่มีต่อเจ้าหนี้แต่ละรายตามสัญญาเดิมยังไม่ระงับไป และหลักประกันเดิมของเจ้าหนี้ประเภทจำนอง จำนำ ค้ำประกันและหลักประกันประเภทอื่นๆ ของลูกหนี้ (ถ้ามี) ยังคงมีผลผูกพันลูกหนี้ บุคคลภายนอกและเจ้าหนี้" ซึ่งสอดคล้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสองที่บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่เห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย"
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/16 บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของการฟื้นฟูกิจการ รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนก็ได้" ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 รัฐมนตรีได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ พ.ศ. 2545 แล้วก็ตาม แต่มีบทเฉพาะกาลมิให้ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่มีการยื่นคำร้องของฟื้นฟูกิจการก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ดังนั้น ศาลจึงต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้บริหารแผนตามหลักกฎหมายทั่วไปและความเหมาะสมในกิจการแต่ละรายไปเมื่อพิจารณาเอกสารแนบท้ายแผนฟื้นฟูกิจการหมายเลข 8 ซึ่งระบุชื่อและคุณสมบัติของผู้ทำแผนตลอดจนผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแล้ว ผู้ทำแผนมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจรับเป็นผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน และให้คำแนะนำหรือการใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูกิจการของผู้อื่น และผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารต่างมีความรู้ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาทางการเงินประธานกรรมการและกรรมการในบริษัทต่างๆ หลายแห่งด้วยกัน จึงน่าเชื่อว่าผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนมีความรู้ ความสามารถและความชำนาญทางด้านการบริหารงานพอสมควรแล้ว แม้ผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนจะเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับกรรมการของลูกหนี้ซึ่งทำให้ลูกหนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการของลูกหนี้บริหารงานหรือกระทำการทุจริตอันไม่ควารได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้บริหารแผน ข้ออ้างของเจ้าหนี้ที่ว่าผู้บริหารและคณะทำงานของผู้บริหารแผนเป้นบุคคลกลุ่มเดียวกับกรรมการของลูกหนี้จึงไม่เหมาะสมที่จะบริหารงานตามแผนต่อไปจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังว่าผู้บริหารแผนและคณะทำงานของผู้บริหารแผนไม่อาจปฏิบัติการตามแผนผื้นฟูกิจการให้ประสบผลสำเร็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.สำเร็จการศึกษา – วันสำเร็จการศึกษาตามประกาศมหา’ลัยมีผลผูกพัน
ผู้ร้องเป็นผู้สอบไล่ผ่านครบถ้วนทุกวิชาตามหลักสูตรปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิตและผ่านการอนุมัติของสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้วเพียงแต่รอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาว่า เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว ผู้ร้องจะสำเร็จการศึกษาตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2545 และตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยก็ระบุว่า นักศึกษาที่สอบไล่ได้ชุดวิชาต่าง ๆ ครบถ้วน... มหาวิทยาลัยจะดำเนินการขออนุมัติปริญญา.. โดยถือวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายเป็นวันสำเร็จการศึกษา ซึ่งก็คือวันที่ 29 เมษายน 2545 นั่นเอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีตั้งแต่วันดังกล่าวอันเป็นวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายโดยไม่จำต้องอาศัยผลของการอนุมัติปริญญาของสภามหาวิทยาลัยอีกต่อไปเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4 สิงหาคม 2545 โดยคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาระหว่างวันที่ 8กรกฎาคม 2545 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 และผู้ร้องไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งในวันแรก ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในขณะยื่นใบสมัครตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 125(3) ผู้คัดค้านต้องรับสมัครผู้ร้องและประกาศให้ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่ดินปฏิรูปการเกษตร: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและเกษตรกรผู้นั้นจะต้องไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว จำนวน 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลงจึงถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอดของบิดาโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิจะได้รับมรดกที่ดินพิพาทหรือไม่ เพราะถึงแม้ได้รับมาก็ไม่มีมีสิทธิรับโอนอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้รับโอนสิทธิทำกินในเขตปฏิรูปที่ดิน: เกษตรกรต้องไม่มีที่ดินทำกินพอเลี้ยงชีพ
โจทก์เป็นเกษตรกรได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว 20 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา โดยทำนาทั้งแปลง ถือได้ว่าโจทก์มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเองและมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพแล้ว โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับโอนที่ดินพิพาทแม้ทางมรดกตกทอด จำเลยซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชอบที่จะไม่ออกคำสั่งให้โจทก์รับมรดกตกทอดสิทธิการเช่าในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าขัดกับกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รัฐวิสาหกิจกำหนดคุณสมบัติและเหตุพ้นตำแหน่งพนักงานได้ หากไม่ขัด พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 (1) ถึง (7) และมาตรา 11 (1) ถึง (3) แห่ง พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
of 21