คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณแก่จำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษค่าปรับเป็นกักขังตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลยังปรับโทษได้หากเป็นคุณแก่จำเลย
ศาลพิพากษาปรับ และให้บังคับตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 18 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพากษาต่อมาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ใช้บังคับ ศาลย่อมกักขังแทนค่าปรับตามกฎหมายใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย แม้คำพิพากษาที่ใช้กฎหมายเก่าจะถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษกักกันหลังคดีอาญาถึงที่สุด โดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การที่จะรื้อฟื้นเอาคำพิพากษาในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว มาเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 12 ถึง 16 ได้บัญญัติเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้และได้มี ม.41 บัญญัติถึงเงื่อนไขในการที่จะกักกันไว้ด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.กักกันฯ พ.ศ.2479 ม.8,9 ต้องนำบทบัญญัติม.41 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184-1185/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้โทษสูงกว่า
โทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามี 3 สถาน สถานหนึ่งปรับไม่เกิน 50 บาท สถานหนึ่งจำไม่เกิน 10 วัน อีกสถานหนึ่งทั้งปรับทั้งจำ แต่โทษตามประมวล ก.ม.อาญาในความผิดเดียวกันนั้นมีแต่โทษปรับสถานเดียว ไม่เกิน 500 บาท เช่นนี้ต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา บังคับแก่คดี เพราะถือได้ว่าเป็น ก.ม.ที่เป็นคุณแก่จำเลยและในคดีนี้ศาลฎีกาใช้ดุลยพินิจลงโทษจำเลยตามประมวล ก.ม.อาญา ปรับ 50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย: ยักยอกทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญา ม.352 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา314 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะอาจลงโทษได้สามสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักการใช้กฎหมายอาญาที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการเลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 นั้น ต้องพิจารณาทั้งโทษสูงและโทษต่ำ เช่น ถ้าจะลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสถ้าจะลงโทษจำคุกเกิน 7 ปี ซึ่งจะลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เช่นนี้ ต้องใช้ มาตรา 256 เพราะลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 7 ปี แต่ถ้าจะลงโทษต่ำกว่า 2 ปีลงมา (ถึง 6 เดือน) ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297เพราะบัญญัติให้ทำได้
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเดิมให้เป็นคุณแก่จำเลย แม้โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ
คดีอาญาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์แล้วแต่ใช้ดุลพินิจให้รอการลงอาญาโทษจำคุกไว้แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์คงมีโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงอาญาก็ตาม ในการใช้ดุลพินิจข้อนี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องตรวจข้อเท็จจริงและเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามข้อเท็จจริงยังไม่สมควรที่จะลงโทษจำเลยศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ คือพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยอ้างกฎหมายฉบับใหม่ ศาลพิจารณาโทษตามกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดกฎหมายสุรา การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ได้บรรยายไว้ในฟ้องเป็นความผิดทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเป็นเวลาที่ใช้กฎหมายใหม่แล้วโจทก์จึงอ้างกฎหมายฉบับใหม่มาขอให้ลงโทษไม่อ้างกฎหมายเก่ามาด้วย ดังนี้ก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว เพราะถ้าศาลพิจารณาได้ความสมจริงตามฟ้อง ศาลก็จะใช้กฎหมายฉบับที่เป็นคุณแก่จำเลย โดยอาศัยบทบัญญัติแห่ง ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาใหม่ให้เป็นคุณแก่จำเลย แม้กฎหมายมีผลบังคับใช้หลังการกระทำผิด
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่14) พ.ศ.2494 มาตรา 7 ที่ว่า "ผู้ใดอายุกว่าสิบเจ็ดขวบแต่ยังไม่เกินยี่สิบขวบกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนด ไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้" แม้ พระราชบัญญัตินี้จะประกาศใช้ภายหลังการกระทำผิดของจำเลยก็ดี แต่ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล. ศาลนั้นก็มีอำนาจที่จะยก พระราชบัญญัตินี้ขึ้นปรับบทให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายหลังกระทำผิดและการยกฟ้องอาญาเนื่องจากกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกักกันข้าวในเขตห้ามกักกันข้าวในระหว่างพิจารณาได้มีพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว(ฉบับที่ 2)2489 ออกใช้ ซึ่งบัญญัติว่าผู้มีข้าวเกินปริมาณจะมีผิดต่อเมื่อไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับเดิมและเป็นคุณแก่จำเลย เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีผิดตามกฎหมายฉบับหลัง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 (อ้างฎีกาที่ 621-622/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายหมดอายุกับการพิจารณาคดีอาญา: ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
พระราชกฤษฎีกาที่รัฐบาลอาศัยอำนาจออกใช้โดยอาศัย พ.ร.บ.มอบอำนาจให้รัฐบาลในภาวะคับขันนั้น จะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้แต่ฉะเพาะระหว่างเวลาที่มอบอำนาจให้ในภาวะคับขันเท่านั้น
เมื่อมี พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.มอบอำนาจให้รัฐบาลในภาวะคับขันนั้นแล้ว พระราชกฤษฎีกาที่อาศัยอำนาจก็สิ้นผลบังคับตามกฎหมาย
การกระทำซึ่งเป็นผิดตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดแต่ไม่มีผิดตามกฎหมายที่จะลงโทษขณะที่ศาลพิจารณา ต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.8
of 6