พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย ผู้รับจำนองสุจริตและมีค่าตอบแทนได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ล้มละลาย
วันสุดท้ายที่ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือ วันที่ 7 มีนาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงต้องนับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นคือเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 8 มีนาคม 2539 ตามมาตรา 197/7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2539 เป็นวันสุดท้าย บริษัทน.เป็นลูกค้าของผู้คัดค้านประเภทขาดลดเช็คโดยจำเลยเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทน.การที่บริษัทน. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คกับผู้คัดค้าน และจำเลยได้จำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งบริษัทน.ได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปเรียบร้อย แล้วการจำนองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน แม้การจำนองจะเป็นการจำนองภายหลังระยะเวลาที่โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายอันเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอม ให้กระทำภายหลังมีการขอให้ล้มละลายก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่าการจำนองดังกล่าวผู้คัดค้านกระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ความเสียหายต้องพิสูจน์ได้เพื่อขอห้ามการใช้ชื่อ
โจทก์ใช้ชื่อทางการค้าอักษรภาษาอังกฤษคำว่า THE REGENTอ่านว่า เดอะรีเจ้นท์ ในกิจการโรงแรมในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยมาก่อนจำเลยจนมีชื่อเสียงที่เรียกกันว่า กู๊ดวิลล์ (Goodwill) ปัญหานี้ป.พ.พ.มาตรา 18 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้นถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว เกี่ยวกับความเสียหายจากการที่จำเลยใช้คำว่า REGENT ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถานบริการของจำเลย จากพยานหลักฐานดังกล่าวโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้จะฟังว่าการใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENTของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ต้องพิสูจน์ความเสียหายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน
บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือ ชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ จะต้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อ การใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วยและผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมและโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้การใช้ชื่อการค้าคำว่า REGENTในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า กิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้า คำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมในสมรสและการยึดทรัพย์สินส่วนตัว: สิทธิภริยาที่ได้รับการคุ้มครอง
จำเลยที่ 2 สามีของผู้ร้องได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ.แก่โจทก์ โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังและให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ร้องเอง ถือได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรส ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา282 วรรคท้าย โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้อง โจทก์ก็ไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้ก่อนและสิทธิเหนือกว่าของผู้ใช้ก่อน
คำว่า"WELLCOME" เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปีโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" และคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET" ตามคำขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50ของจำเลยดีกว่าจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา27และ28ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้ก่อนและลักษณะคล้ายคลึงจนสับสน
อักษรโรมันคำว่า"WILLCOME" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือมีความหมายว่าอย่างไรและโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำว่า"WELLCOME" เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ในอดีตและบริษัทโจทก์ตั้งขึ้นเมื่อปี2423นอกจากโจทก์จะใช้คำว่า"WELLCOME" เป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ยังใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ด้วยโจทก์เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" มาตั้งแต่ก่อนปี2444ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี2450และที่ประเทศไทยเมื่อปี2490สำหรับสินค้าจำพวกที่3และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ไปจำหน่ายในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยในขณะที่จำเลยอ้างว่าว. ผู้ก่อตั้งห้างเวลล์คัมซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้คิดชื่อ"WELLCOME"โดยครั้งแรกตั้งชื่อคำว่า"WELLCOME" แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเพราะเป็นคำสามัญทั่วไปแปลว่าต้อนรับจึงต้องเพิ่มอักษรL เข้าไปอีก1ตัวแต่จำเลยเพิ่งเริ่มดำเนินกิจการWELLCOMESUPERMARKET เมื่อปี2488อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"หลายสิบปีด้วยแล้วย่อมไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าว.จะได้คิดค้นคำดังกล่าวขึ้นมาเองและเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยบังเอิญเช่นนั้นแต่น่าเชื่อว่าเป็นการนำเอาคำว่า"WELLCOME" มาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วนำคำว่าSUPERMARKET มาประกอบเพื่อให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้ว่าจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า"SUPERMARKET" ประกอบกับคำว่า"WELLCOME" และจำเลยขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50ได้แก่สินค้าเบ็ดเตล็ดอันเป็นสินค้าต่างจำพวกและไม่มีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กันกับสินค้าจำพวกที่1ที่2ที่3และที่48ซึ่งเป็นสินค้ายารักษาโรคมนุษย์เคมีภัณฑ์และเครื่องสำอางของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"WELLCOME" ก็ตามแต่ก็ปรากฎจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์ได้โฆษณาสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" หลายชนิดและแจกสินค้าตัวอย่างเช่นกระเป๋าถุงพลาสติกสมุดบันทึกและกระเป๋าสตางค์อันเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดในจำพวกที่50ตามวิสัญญีสารและแผ่นปลิวโฆษณาอันถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่50แล้วการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" "SUPERMARKET" ของจำเลยกับสินค้าจำพวกที่50จึงอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเห็นแต่คำว่า"WELLCOME" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET"ของจำเลยมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ของโจทก์เมื่อคำว่า"WELLCOME" เป็นนายสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปีโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" และคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET" ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่206656สำหรับสินค้าจำพวกที่่50ของจำเลยดีกว่าจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้หรือยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเข้าเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องใดๆกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"สำหรับสินค้าทุกจำพวกรวมทั้งเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อฟ้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วทั้งนี้ตามนัยมาตรา27และ29แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาลงทุนร่วมผลิตน้ำผลไม้ การคืนทรัพย์สิน และการคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่1ตามที่ตกลงกันจำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่างๆเมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับว. โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้วส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศโดยโจทก์ยอมให้ว. ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า"ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า" ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9773-9774/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้าและการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า POLO และรูปม้า
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยที่ 3 ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 3 แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 3 ขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 เป็นรูปคนขี่ม้าตีคลีอยู่เหนืออักษรโรมันคำว่า GALLOP รูปคนขี่ม้าตีคลีเป็นสิ่งสาระสำคัญในการสังเกตจดจำของบุคคลทั่วไป เพราะมีขนาดใหญ่และเห็นเด่นชัดกว่าตัวอักษรคำว่า GALLOP มาก รูปลักษณะคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 ก็คล้ายคลึงกับรูปคนขี่ม้าตีคลีของโจทก์ เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 จึงคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีกับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่นอีกหลายชนิดที่ประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศรวมทั้งประเทศไทยมาก่อนจำเลยที่ 3 สินค้าของโจทก์ก็มีบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้สั่งมาขายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานครหลายแห่งรวมทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย และได้มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในนิตยสารหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยแพร่หลายมาเป็นเวลานานปีแล้ว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีเพื่อใช้กับสินค้าเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ โดยประสงค์จะฉวยโอกาสแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์แสวงหาประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของจำเลย การกระทำดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้านั้นอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 3 เป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิจะทำได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THEPOLOLAURENCOMPANY ชื่อเป็นภาษาไทยว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเดอะโปโลลอเรนคัมปะนี โจทก์ประกอบการค้าโดยส่งสินค้าไปจำหน่ายตามประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย สินค้าที่จำหน่ายได้แก่เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่น ๆ ส่วนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อว่าบริษัทโปโลช้อปปิ้งเฮ้าส์ จำกัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า POLOSHOPPINGHOUSECO.,LTD. และใช้ชื่อร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ว่า POLOSHOPPINGHOUSE ประกอบกิจการค้าขายสินค้าหลายชนิด รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับโจทก์ ชื่อของจำเลยที่ 1 รวมทั้งชื่อร้านค้าดังกล่าวก็มีความหมายว่า เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหรือตรา POLO หรือโปโลซึ่งคำว่า POLO หรือโปโลนี้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อโจทก์ รวมทั้งเป็นคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งใช้แพร่หลายอยู่ทั่วโลกดังกล่าวมาข้างต้น นอกจากนั้นจำเลยยังใช้คำ POLO ให้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดในดวงตราประทับของจำเลยที่ 1 ใบเสร็จรับเงิน ถุงบรรจุสินค้าและใช้ป้ายซึ่งมีคำ POLO ติดที่สินค้าเสื้อผ้าซึ่งผลิตและจำหน่ายอยู่ในร้านค้าที่ตั้งขึ้นดังกล่าวด้วย ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์และกิจการร้านค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการค้าของโจทก์ เนื่องจากชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และร้านค้าดังกล่าวมีคำว่า POLO หรือโปโลอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ใช้ชื่อว่าPOLOหรือโปโลมานานจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และจำเลยได้นำชื่อนี้ไปใช้ในกิจการค้าขายสินค้าเช่นเดียวกับของโจทก์ ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนานำชื่อ POLO หรือโปโลมาใช้โดยเจตนาไม่สุจริต โดยเจตนาแสวงหาประโยชน์และความนิยมในชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะทำได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ส่งสินค้ามาจำหน่ายที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นสถานที่จำเลยประกอบกิจการค้าอยู่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องตามที่โจทก์ฎีกาแล้ว และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาให้เพราะความผิดหลงเนื่องจากศาลอุทธรณ์ระบุคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 เกินไปกว่าที่โจทก์มีคำขอมาทั้งกำหนดให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าทนายความแทนโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 เป็นรูปคนขี่ม้าตีคลีอยู่เหนืออักษรโรมันคำว่า GALLOP รูปคนขี่ม้าตีคลีเป็นสิ่งสาระสำคัญในการสังเกตจดจำของบุคคลทั่วไป เพราะมีขนาดใหญ่และเห็นเด่นชัดกว่าตัวอักษรคำว่า GALLOP มาก รูปลักษณะคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 ก็คล้ายคลึงกับรูปคนขี่ม้าตีคลีของโจทก์ เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 จึงคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีกับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่นอีกหลายชนิดที่ประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศรวมทั้งประเทศไทยมาก่อนจำเลยที่ 3 สินค้าของโจทก์ก็มีบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้สั่งมาขายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานครหลายแห่งรวมทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย และได้มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในนิตยสารหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยแพร่หลายมาเป็นเวลานานปีแล้ว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีเพื่อใช้กับสินค้าเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ โดยประสงค์จะฉวยโอกาสแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์แสวงหาประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของจำเลย การกระทำดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้านั้นอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 3 เป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิจะทำได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THEPOLOLAURENCOMPANY ชื่อเป็นภาษาไทยว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเดอะโปโลลอเรนคัมปะนี โจทก์ประกอบการค้าโดยส่งสินค้าไปจำหน่ายตามประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย สินค้าที่จำหน่ายได้แก่เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่น ๆ ส่วนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อว่าบริษัทโปโลช้อปปิ้งเฮ้าส์ จำกัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า POLOSHOPPINGHOUSECO.,LTD. และใช้ชื่อร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ว่า POLOSHOPPINGHOUSE ประกอบกิจการค้าขายสินค้าหลายชนิด รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับโจทก์ ชื่อของจำเลยที่ 1 รวมทั้งชื่อร้านค้าดังกล่าวก็มีความหมายว่า เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหรือตรา POLO หรือโปโลซึ่งคำว่า POLO หรือโปโลนี้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อโจทก์ รวมทั้งเป็นคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งใช้แพร่หลายอยู่ทั่วโลกดังกล่าวมาข้างต้น นอกจากนั้นจำเลยยังใช้คำ POLO ให้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดในดวงตราประทับของจำเลยที่ 1 ใบเสร็จรับเงิน ถุงบรรจุสินค้าและใช้ป้ายซึ่งมีคำ POLO ติดที่สินค้าเสื้อผ้าซึ่งผลิตและจำหน่ายอยู่ในร้านค้าที่ตั้งขึ้นดังกล่าวด้วย ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์และกิจการร้านค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการค้าของโจทก์ เนื่องจากชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และร้านค้าดังกล่าวมีคำว่า POLO หรือโปโลอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ใช้ชื่อว่าPOLOหรือโปโลมานานจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และจำเลยได้นำชื่อนี้ไปใช้ในกิจการค้าขายสินค้าเช่นเดียวกับของโจทก์ ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนานำชื่อ POLO หรือโปโลมาใช้โดยเจตนาไม่สุจริต โดยเจตนาแสวงหาประโยชน์และความนิยมในชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะทำได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ส่งสินค้ามาจำหน่ายที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นสถานที่จำเลยประกอบกิจการค้าอยู่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องตามที่โจทก์ฎีกาแล้ว และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาให้เพราะความผิดหลงเนื่องจากศาลอุทธรณ์ระบุคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 เกินไปกว่าที่โจทก์มีคำขอมาทั้งกำหนดให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าทนายความแทนโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและการล่วงสิทธิ - แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้นำเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การดังกล่าวคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญา ซึ่งมีผลคุ้มครองเฉพาะแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้น เมื่อประเทศไทยมิได้เป็นสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย อนุสัญญาดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดีครอบครองปรปักษ์: สิทธิผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมมีส่วนได้เสียและจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดเข้ามาในระหว่างพิจารณาคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดดังกล่าวนั้นเป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจเองเพราะเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)