พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าร้าง: การแยกอยู่ของคู่สมรสและการขาดเจตนาทิ้งร้าง
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2518 ต่อมาปี 2532 ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ตกต่ำอาชีพของโจทก์ไม่ค่อยดี โจทก์ติดต่อขอทำงานในประเทศไทยจึงปรึกษากับจำเลยว่าจะกลับประเทศไทย แต่จำเลยเห็นว่าอาชีพพยาบาลที่ประเทศสหรัฐอเมริกาดีไม่ยอมกลับ ในปี 2534โจทก์จึงกลับประเทศไทย โจทก์จึงเป็นฝ่ายแยกจากจำเลยแต่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8059/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทิ้งร้างคู่สมรส: เหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีแยกไปพักตามลำพังเนื่องจากสามีภริยาทะเลาะกันโดยมีสาเหตุเกิดแต่สามีเป็นสำคัญและภริยามิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับสามีเป็นกรณีที่สามีจงใจทิ้งร้างภริยาไปฝ่ายเดียวมิใช่สามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรส: ขอบเขตและผลผูกพันของหนังสือยินยอมที่ให้ความยินยอมตลอดไป
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีภริยาไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้และโดยสภาพแล้วความยินยอมให้ทำนิติกรรมผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปได้ หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยยินยอมให้จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันและมีข้อความต่อไปอีกว่าหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปสัญญาค้ำประกันที่จ. ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบจำเลยไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของคู่สมรส และความสมบูรณ์ของเอกสารมหาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 เดิม (แก้ไขใหม่มาตรา 1598/25) ประกอบกับพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 22 บัญญัติแต่เพียงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าคู่สมรสจะต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยตนเอง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบันทึกด้านหลัง ค.ร.13 ตามคำร้องให้ความยินยอมของคู่สมรสไว้ว่าคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมมาให้ความยินยอมแล้วการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมเป็นเอกสารมหาชน เมื่อโจทก์สืบไม่ได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์อย่างไร ต้องถือว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อมาในระหว่างสมรส และการโอนให้คู่สมรสเป็นสินสมรส
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนด โจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรสและการบังคับคดี: การร้องกล่าวอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกขายโดยคู่สมรสโดยไม่ยินยอม
ในคดีเดิมศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้วจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ดังนั้นการที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยนั่นเองการได้สิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยย่อมเป็นการได้สิทธิมาตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นผู้ร้องชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกร้องเข้ามาในชั้นนี้ว่า โจทก์นำที่พิพาทซึ่ง เป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโจทก์มิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นว่าการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้อง และนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องกล่าวอ้างเข้ามาในคดีนี้ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้อนุบาล: คู่สมรสมีสิทธิก่อน เว้นแต่มีเหตุสำคัญจึงจะตั้งผู้อื่นได้
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน จะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้อนุบาล: ต้องแต่งตั้งคู่สมรสก่อน หากมีเหตุสำคัญศาลจึงจะตั้งผู้อื่นได้ การตั้งผู้อนุบาลร่วมไม่เป็นไปตามกฎหมาย
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียวหากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/16คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา1476วรรคหนึ่งก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าต้องจดทะเบียนให้สมบูรณ์ การแสดงตนในความสัมพันธ์ชู้สาวกับคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียนหย่าทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์กับสามีโจทก์เป็นสามีภริยาโดยจดทะเบียนสมรสกันตามบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่านอกจากได้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนแล้วยังต้องจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 อีกด้วย การหย่าจึงจะสมบูรณ์ เมื่อโจทก์กับสามีโจทก์ยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า โจทก์กับสามีโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ดังนั้น แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ยอมหย่ากับสามีจำเลยจะไม่ดำเนินคดีอาญากับโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าในทำนองชู้สาว โจทก์ในฐานะภริยาจึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง