คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้าและค่าใช้จ่ายตัวแทน: เกิดขึ้นโดยปริยาย แม้ไม่มีข้อตกลงชัดเจน ศาลกำหนดตามสมควร
โจทก์ให้จำเลยจัดการขายที่ดิน จำเลยได้จัดการขายที่ดินของโจทก์ได้สำเร็จย่อมเป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดยพฤติการณ์ที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาบำเหน็จ จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 846 แม้จะฟังไม่ได้ว่าตกลงให้ค่านายหน้าแก่กันเป็นจำนวนที่เกินไปจาก 11,000 บาทดังที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ เมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้ ศาลย่อมกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอน ซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 816 เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นไปจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้าและค่าใช้จ่ายตัวแทน แม้ไม่มีข้อตกลงชัดเจน ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ตามสมควร
โจทก์ให้จำเลยจัดการขายที่ดินจำเลยได้จัดการขายที่ดินของโจทก์ได้สำเร็จย่อมเป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดยพฤติการณ์ที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาบำเหน็จจึงถือได้ว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846แม้จะฟังไม่ได้ว่าได้ตกลงให้ค่านายหน้าแก่กันเป็นจำนวนที่เกินไปจาก11,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้ ศาลย่อมกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอนซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีนายหน้า: ค่าบำเหน็จต่างจากค่าจ้าง/ค่าทำของตามมาตรา 165, อายุความ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของ ค่าทำของ ฯลฯ หรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165 (1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่านายหน้า: แยกความแตกต่างระหว่างนายหน้ากับผู้รับจ้างตามมาตรา 165 และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของค่าทำของ ฯลฯหรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165(1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี(ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่านายหน้า: ต้องมีสัญญาชัดแจ้งหรือโดยปริยาย จึงจะเรียกร้องค่าบำเหน็จได้
นายหน้าที่จะได้รับบำเหน็จหรือค่านายหน้านั้น ในเบื้องต้นจะต้องมีสัญญาต่อกันโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยาย ฉะนั้น ผู้ใดจะอ้างตนเป็นนายหน้าฝ่ายเดียวเรียกร้องเอาค่าบำเหน็จโดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีสัญญาด้วยแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย นั้น จึงหามีกฎหมายสนับสนุนให้เรียกร้องได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดความผูกพันค่าบำเหน็จนายหน้า: ต้องมีข้อตกลงหรือมอบหมายกิจการเพื่อให้เกิดหน้าที่
บุคคลผู้ที่จะต้องรับผิดให้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่ผู้ใดก็ต่อเมื่อได้ตกลงไว้กับผู้นั้นโดยชัดแจ้งหรือถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้โดยชัดแจ้งก็จะต้องรับผิดต่อเมื่อกิจการอันได้มอบหมายแก่ผู้นั้นเป็นที่คาดหมายได้ว่าผู้นั้นย่อมทำให้ก็แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จเท่านั้นถ้าไม่มีการตกลงกันหรือไม่มีการมอบหมายกิจการแก่กันดุจกล่าวมาแล้วก็ไม่จำต้องรับผิดให้ค่าบำเหน็จนายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าบำเหน็จพนักงาน: สินจ้างชนิดอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(8) มีอายุความ 2 ปี
เงินบำเหน็จในการขายสินค้าก็ดี เงินบำเหน็จในผลกำไรของร้านค้าก็ดี ซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นรายปีนั้น คือ "สินจ้างชนิดอื่นเพื่อการงานที่ทำ" ตามป.พ.พ. มาตรา 165(8), สิทธิเรียกร้องเหล่านี้จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้เครื่องมือประมงโดยไม่ได้รับอนุญาตและค่าบำเหน็จนำจับ
จำเลยในคดีใช้เครื่องมือทำการประมงโดยไม่มีอาชญาบัตรต้องรับผิดชอบในค่าปรับและเงินบำเหน็จนำจับร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยยการขอค่าบำเหน็จนำจับในคดีอาญาต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมายแพ่ง
อัยยการไม่มีอำนาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้ค่านำจับฐานฆ่ากระบือไม่รับอนุญาตแทนรัฐบาลหรือผู้เสียหายโดยมิได้เสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งอ้างฎีกาที่ 375/86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนำจับ: เจ้าพนักงานต้องกำหนดจำนวนเงินชัดเจน ฟ้องไม่ระบุจำนวนเงินแน่นอน ศาลไม่บังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าบำเหน็จนำจับผู้ฆ่าสุกรโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเงิน 2 ใน 3ของค่าปรับ ศาลไม่ตัดสินให้จำเลยใช้
อ้างฎีกาที่ +/86
of 5