พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, ค่าปรับ, การชำระหนี้, ศาลใช้ดุลพินิจ
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ พ. น้องโจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท บ. แสดงว่าในขณะทำสัญญา บริษัท บ. ยังมิได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจำกัด และบริษัท บ. ตั้งขึ้นเพื่อทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยรวบรวมบรรดาญาติพี่น้องโจทก์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โจทก์และภริยาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. จึงเห็นได้ว่าหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คู่สัญญาที่แท้จริงเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยโจทก์และญาติพี่น้องโจทก์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงิน ที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหาย ที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจาก ที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 271
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงิน ที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหาย ที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษา ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจาก ที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การกำหนดราคาที่ดิน, ค่าปรับ, สิทธิเรียกร้อง
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับ พ. น้องโจทก์ในฐานะผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท บ. แสดงว่าในขณะทำสัญญาบริษัท บ. ยังมิได้จดทะเบียนตั้งเป็นบริษัทจำกัด และบริษัท บ. ตั้งขึ้นเพื่อทำโครงการเลี้ยงสุกร โดยรวบรวมบรรดาญาติพี่น้องโจทก์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น โจทก์และภริยาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโจทก์แต่ผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน คู่สัญญาที่แท้จริงเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยโจทก์และญาติพี่น้องโจทก์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกัน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากจำเลยตามสัญญาเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญา นอกจากนี้การเรียกร้องค่าปรับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่ พฤติการณ์พิเศษ โจทก์จะเรียกร้องได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็น แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายระบุให้โจทก์นำที่ดินไปขายต่อได้ และหากจำเลยผิดสัญญาให้โจทก์เรียกค่าปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อก็ตาม แต่จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่า ค่าปรับ 2 เท่า ของเงินที่โจทก์จะได้รับจากการนำที่ดินไปขายต่อเป็นจำนวนเท่าใดและโจทก์มิได้แจ้งเรื่องนำที่ดินไปขายต่อและค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องชดใช้ให้จำเลยทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ จึงต้องบังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จำเลย และการกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือก็เพื่อให้เกิดสภาพบังคับแก่โจทก์ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องทั้งไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จ จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็นรายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, ค่าปรับ, การพิสูจน์ราคาที่ดิน, และอำนาจฟ้องร้อง
++ เรื่อง ซื้อขาย ค้ำประกัน ภาษีอากร ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า
++ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 88 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 400,000 บาท เป็นเงิน 5,400,000บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำ จำนวน 1,620,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 อันเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 (ล.25)
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2533 โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น อยู่ห่างจากถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ประมาณ 100 เมตร
หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงชลบุรีในข้อหาฉ้อโกงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2หลอกลวงโจทก์ว่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา
ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537
++
++ ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยก่อน
++ ปัญหาตามฎีกาข้อแรกของโจทก์มีว่า การที่โจทก์อ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 เป็นพยานหลักฐานโดยไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานและให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การในประเด็นนี้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารที่จำเลยที่ 3 ลงชื่อไว้โดยไม่ได้รับความยินยอม หนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์และหนังสือสัญญาค้ำประกันที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารปลอม
++ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวกับโจทก์
++
++ ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้สัญญาค้ำประกันต้องเสียค่าอากรแสตมป์ และมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือคู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..."
++ ดังนั้น การจะใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้จะต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวด้วย
++ เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 ที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ การปิดอากรแสตมป์ของโจทก์จึงไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ดังกล่าว เป็นผลให้คดีของโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1และที่ 2 ต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ได้
++ ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้
++ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จะยื่นคำแถลงขออนุญาตขีดฆ่าอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.13 ถึง จ.15 โดยอ้างว่าไม่ได้เจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากรตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว โดยปฏิเสธที่จะรับฟังหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้งสามฉบับดังกล่าวแล้ว กรณีจึงล่วงเลยที่จะดำเนินการขอขีดฆ่าอากรแสตมป์ดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจอนุญาตตามคำขอของโจทก์
++
++ เมื่อฎีกาข้อแรกของโจทก์อันเป็นฎีกาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยฟังไม่ขึ้น และคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในส่วนของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี เนื่องจากไม่ว่า ฎีกาดังกล่าวจะฟังขึ้นหรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
++
++ ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ต้องวินิจฉัยคงมีเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น
++ ซึ่งจะปัญหาที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 1และที่ 2 มีว่า ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ซึ่งวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กับพวกทุจริตหลอกลวงนายธวัช ถาวรธวัช กรรมการบริษัทโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์มีแนวเขตติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การจะนำข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้นนอกจากคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องถึงที่สุด ผู้ที่จะถูกนำเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีส่วนอาญาต้องวินิจฉัยประเด็นนั้นไว้โดยชัดแจ้งแล้ว สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งต้องได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาด้วย
++ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งนั้นต้องเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาด้วย
++ คดีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์คือจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในข้อที่จำเลยที่ 2 รับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์ติดถนน แต่จำเลยที่ 2 ผิดคำรับรองดังกล่าว ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับตามสัญญา โจทก์หาได้อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์โดยทุจริตด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่าที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนน แต่ความจริงที่ดินดังกล่าวไม่ติดถนน อันเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดต่อกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์แต่อย่างใดไม่
++ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้อาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ได้อาศัยมูลความผิดในทางอาญาฐานฉ้อโกงที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงหาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ศาลในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งจำต้องถือตาม
++ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2537 ดังกล่าวมาผูกพันจำเลยที่ 2 โดยไม่นำข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบในคดีนี้มาวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้คำรับรองแก่โจทก์ว่า ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) หรือไม่
++ เห็นว่า ในสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.11 ข้อ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ขอรับรองว่า ที่ดินที่ขายอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ที่กรมทางหลวงได้กำหนดขึ้นและได้ประมูลการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วตามผังแนบท้ายสัญญาและในแผนผัง
++ ประกอบสัญญาเอกสารหมาย จ.12 มีความปรากฏชัดเจนว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2จะขายให้โจทก์อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12
++ กรณีจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบดีว่า ข้อความที่ระบุในสัญญาว่าที่ดินติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เป็นสาระสำคัญของสัญญา หากการไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้อาจถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าสัญญาข้อนี้ไม่ถูกต้อง ก็สมควรให้นายศักดิ์ชัย รุ่งโรจน์รัตนชัย เจ้าหน้าที่ของโจทก์ผู้ไปทำสัญญาแทนโจทก์ขีดฆ่าข้อความดังกล่าวออกเสียก่อนที่จะให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 ได้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่
++ นอกจากนี้ยังปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อและจำเลยที่ 2 ได้พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารหมาย จ.12 เลือนไปเห็นไม่ชัด แต่ในสำเนาท้ายคำฟ้องเห็นได้ชัดเจนกว่าทั้งมีพยาน 2 คน คือนางนิภา เจริญไชย และจำเลยที่ 5 ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออีกด้วย
++ จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญากับโจทก์โดยรับรองว่า ที่ดินที่จะขายให้โจทก์อยู่ติดกับถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่)
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่า การที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำเอกสารหมาย จ.11 ไม่ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือไม่
++ เห็นว่า ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจะต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ในบัญชีดังกล่าวข้อ 28 (ข) กำหนดว่า ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมายต้องปิดอากรแสตมป์ แต่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 มิได้บัญญัติให้เป็นนิติกรรมที่ต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และโจทก์อ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะขายให้โจทก์เป็นพยานหลักฐานเพื่อแสดงข้อเท็จจริงต่อศาลว่าได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อความในสัญญา ไม่ได้อ้างเพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าเป็นใบรับ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และไม่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมายจ.11 จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่
++ เห็นว่า หลังจากโจทก์ทราบว่า ที่ดินที่จะซื้อไม่ได้อยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตามคำรับรองของจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาตามเอกสารหมาย จ.25 ในเอกสารหมายจ.25 มีใจความว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำจำนวน1,620,000 บาท และชำระค่าปรับเป็นเงิน 5,400,000 บาท แก่โจทก์ ดังนี้ความหมายตามเอกสารหมาย จ.25 คือโจทก์บอกกล่าวเลิกการซื้อที่ดินดังกล่าวกับให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำและชำระค่าปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายข้อ 12
++ การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงมิใช่การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 121 (เดิม) แต่เป็นการบอกกล่าวเรียกร้องตามสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แก่โจทก์เพียงใด
++ ที่โจทก์อ้างว่า ที่ดินบริเวณซึ่งถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่านมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม และนางสาวอภิญญาเลาหวิริยะกมล กรรมการบริษัทโจทก์เบิกความว่า หากที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายมีเขตติดถนนจะมีราคาไม่ต่ำกว่า 13,500,000 บาท โจทก์จะมีกำไรเป็นเงินไม่ต่ำกว่า8,100,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยที่ 1และที่ 2 ได้รับรองแก่โจทก์ว่า มีถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) ตัดผ่าน ดังนั้นราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันจึงเป็นราคาที่ดินที่มีถนนดังกล่าวตัดผ่านอยู่แล้ว ไม่ใช่ราคาที่ดินซึ่งไม่มีถนนตัดผ่าน ราคาที่ดินดังกล่าวเป็นราคาที่ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เห็นพ้องต้องกันว่า หากมีถนนตัดผ่านที่ดิน ที่ดินนั้นจะมีราคาตามที่ตกลงซื้อขายกัน ราคาที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันจึงเป็นราคาที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่าราคาที่นางสาวอภิญญาเบิกความซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เพียงฝ่ายเดียว และแม้การที่มีถนนตัดผ่านจะทำให้ราคาที่ดินดังกล่าวสูงขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะสูงกว่าราคาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกันมากนัก
++ และที่โจทก์อ้างว่า นายณรงค์หรือสุระ บุญกระจ่าง พยานจำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีที่ดินอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) เบิกความว่า ที่ดินของพยานหากจะขายก็จะขายในราคาไร่ละ 2,500,000 บาท ถึง 3,000,000 บาท นั้น
++ เห็นว่า โจทก์เองก็ต้องการซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดถนนสายชลบุรี - พัทยา (สายใหม่) แต่โจทก์ก็ไม่ได้ซื้อที่ดินของนายณรงค์ ทั้งนี้เห็นได้ว่า ราคาที่ดินของนายณรงค์นั้นเป็นราคาที่นายณรงค์ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ไม่ใช่ราคาที่ดินที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหรือราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินไว้ไม่อาจถือเป็นราคามาตรฐานได้
++ และที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ต้องขอสินเชื่อจากธนาคารมาชำระเงินค่ามัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นเงินสูงกว่าค่าปรับตามฟ้องนั้น
++ เห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อได้
++ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเบี้ยปรับให้โจทก์เป็นเงิน 1,620,000 บาทจากราคาที่ดินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงซื้อขายกันเป็นเงิน5,400,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับ: อัตราค่าปรับและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 60 บาท แต่ ป.อ.มาตรา30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาท ต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29,30 จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามมาตรา 29 แต่ประการเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันตัวจำเลยและการสิ้นสุดของกระบวนการลดค่าปรับ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ไม่อาจที่จะฎีกาต่อมาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, เบี้ยปรับ, การริบเงินประกัน, ความล่าช้าของเจ้าของงาน
++ เรื่อง จ้างทำของ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกันว่า
++ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2532 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประชาบำรุงตามแบบ สปช.105/29 ขนาด 1 ชั้น 4ห้องเรียน 1 หลัง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 ในราคา1,036,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน250,000 บาท งวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3เป็นเงิน 486,000 บาท โดยจะเริ่มลงมือทำงานในวันที่ 1 สิงหาคม2532 หากจำเลยที่ 1 มิได้ลงมือทำงานภายในกำหนด หรือมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหรือล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วเสร็จไปแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีอำนาจว่าจ้างผู้อื่นทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยจำเลยที่ 1ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าสิ่งของ ค่าคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามจำนวนที่โจทก์จ่ายไปโดยสิ้นเชิง ถ้าจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดแต่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 1,036 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาถึงวันที่ทำงานเสร็จบริบูรณ์ ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าเห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญา ข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญา และถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาและเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะโจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อจนแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.3
++ ต่อมาวันที่ 19มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วันโจทก์อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างเพราะปัญหาปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นขาดแคลน วันที่ 19เมษายน 2533 จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1ขอขยายเวลาการสร้างออกไปอีก 180 วัน โจทก์ก็อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างหลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองเร่งรัดการก่อสร้างต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และริบเงินประกันตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อโจทก์จำนวน 51,800 บาท เป็นค่าปรับ
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่โจทก์ว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ให้ทำงานก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองหรือไม่
++ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแก่จำเลยทั้งสองและขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาดังกล่าวเป็นค่าปรับและค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแก่โจทก์จากการที่โจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง มิใช่เรื่องที่ผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานเรียกเอาคืนซึ่งเงินทดรองที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (17) ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
++ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 กันยายน 2537จึงยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
++
++ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการที่ 2 มีว่าค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคา 1,429,200 บาท สูงเกินไปหรือไม่
++ พยานโจทก์มีนายณรงค์ ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี เบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่าในการว่าจ้างผู้อื่นมาดำเนินการก่อสร้างแทนจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษและมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบเพราะมีความจำเป็นต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเด็กนักเรียนจะได้ใช้เป็นอาคารเรียนและเบิกความตอบทนายความโจทก์ถามติงว่า ช่วงที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างนั้น ภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคาก็ยังสูงอยู่ และนายสุรพลประเสริฐชัยกุล หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเบิกความว่า ช่วงที่พยานเข้าทำสัญญากับโจทก์ ราคาวัสดุก่อสร้างสูงกว่าราคาเมื่อต้นปี 2532 ประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 และในช่วงปี 2533วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นยังขาดแคลนอยู่บ้าง และเบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่า วัสดุก่อสร้างขาดแคลนถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาและมีมติให้ปรับราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ตกลงกันไว้ด้วย
++ ส่วนนายสุรพล ชัยสดมภ์ ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายความโจทก์ถามค้านว่า ในช่วงปี 2538 วัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย จำเลยทั้งสองรับเหมาก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ในราคาต่ำกว่าที่โจทก์ว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัด เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดรับเหมาและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองช่วยรับเหมา
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อจำเลยทั้งสองยอมรับว่าตกลงรับจ้างเหมาจากโจทก์ในราคาต่ำกว่าปกติ และขณะนั้นไม่มีผู้ใดยอมรับเหมา ประกอบกับเมื่อปี 2535 ในช่วงที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง แม้ภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างจะผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคายังสูงอยู่ จึงไม่อาจนำราคาที่จ้างเหมาจำเลยทั้งสองมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างได้ ส่วนค่าว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัดเมื่อปี 2538 แม้จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง ก็เนื่องจากในขณะนั้นวัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย ภาวะการตลาดย่อมแตกต่างกัน และคำเบิกความของนายสุรพลในเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างมิได้สับสนดังจำเลยทั้งสองอ้างจึงไม่อาจนำค่าว่าจ้างดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างมิใช่กรณีตามปกติ แต่เป็นการว่าจ้างด้วยวิธีพิเศษต้องดำเนินงานต่อจากผู้รับเหมาเดิมซึ่งละทิ้งงาน 2 งวดเดิมไว้ และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ย่อมต้องมีราคาสูงขึ้น
++ ประกอบกับในการตกลงว่าจ้างก็ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโจทก์ด้วยแล้ว และเมื่อพิจารณารายละเอียดในใบเสนอราคาเกี่ยวกับบัญชีปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.33 และจ.34 ราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างจึงมิได้สูงเกินไปดังจำเลยทั้งสองอ้าง แต่เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
++ ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างในราคาตามอำเภอใจเพื่อให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าปรับรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามที่โจทก์ขยายเวลาให้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน นอกจากนั้นในวรรคท้ายของสัญญาข้อ 19 ดังกล่าวยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างเห็นว่าจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย
++ ซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายใดบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองหากโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาจ้างเหมาข้อ 19และข้อ 20 ดังกล่าว
++ เห็นได้ว่า หากจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นหากโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายได้อีกด้วย
++ ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง
++ ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของพยานโจทก์ คือ นายณรงค์ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุของโจทก์ประกอบหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.15 ว่า ก่อนที่โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนี้ย่อมถือได้ว่า การสงวนสิทธิเรียกค่าปรับดังกล่าวเป็นการที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว
++ เพราะปรากฏตามคำเบิกความของนายณรงค์พยานโจทก์ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง
++ ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ได้
++ อย่างไรก็ดี ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า สัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 มีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 จ้างเหมากันในราคา 1,036,000 บาทตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3 เป็นเงิน 486,000 บาทเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วัน โจทก์อนุมัติ ต่อมาวันที่ 19 เมษายน 2533 จำเลยที่ 1ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์ คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1เป็นเงิน 250,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1 ขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปอีก180 วัน โจทก์อนุมัติและกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม 2533
++ หลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสามมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ขยายให้ได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 จากนั้นวันที่ 22มิถุนายน 2535 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเข้าดำเนินการก่อสร้างที่ค้างอยู่ในราคา 1,439,200 บาท
++ ดังนี้ เห็นได้ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ครั้งสุดท้ายเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ดังกล่าวแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุผลสมควรที่แสดงให้เห็นถึงเหตุที่ต้องล่าช้าในการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างให้เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ค้างอยู่ในงวดที่ 2 และที่ 3ความล่าช้าดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์เองรวมอยู่ด้วยแม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมายจ.3 ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อจากจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 19 (1) และเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2)ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง และ 383 วรรคหนึ่ง
++ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 2 และที่ 3 ที่ค้างอยู่ตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ถึงเกือบเท่าตัวประกอบกับเหตุแห่งความล่าช้าของโจทก์ในการดำเนินงานของโจทก์เองแล้ว เห็นว่า เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้นมีจำนวนสูงพอสมควรแล้วไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) ให้โจทก์อีก
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์จะต้องนำเงินประกันตามสัญญาที่โจทก์รับไว้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
++ เห็นว่า หลักประกันดังกล่าวเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งจำเลยทั้งสองนำมามอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 3โดยธนาคารจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น หากจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดตามสัญญาแล้ว โจทก์จะต้องคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งมอบไว้เป็นหลักประกันแก่จำเลยทั้งสอง
++ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาและโจทก์ริบหลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแก่โจทก์จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20 (1) จึงไม่อาจนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหาย ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกันว่า
++ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2532 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนประชาบำรุงตามแบบ สปช.105/29 ขนาด 1 ชั้น 4ห้องเรียน 1 หลัง กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 ในราคา1,036,000 บาท ตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน250,000 บาท งวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3เป็นเงิน 486,000 บาท โดยจะเริ่มลงมือทำงานในวันที่ 1 สิงหาคม2532 หากจำเลยที่ 1 มิได้ลงมือทำงานภายในกำหนด หรือมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหรือล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วเสร็จไปแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีอำนาจว่าจ้างผู้อื่นทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยจำเลยที่ 1ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าสิ่งของ ค่าคุมงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามจำนวนที่โจทก์จ่ายไปโดยสิ้นเชิง ถ้าจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดแต่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยอมให้ปรับเป็นรายวันวันละ 1,036 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาถึงวันที่ทำงานเสร็จบริบูรณ์ ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าเห็นว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญา ข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญา และถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาและเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะโจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อจนแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างเอกสารหมาย จ.3
++ ต่อมาวันที่ 19มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วันโจทก์อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างเพราะปัญหาปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นขาดแคลน วันที่ 19เมษายน 2533 จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1ขอขยายเวลาการสร้างออกไปอีก 180 วัน โจทก์ก็อนุมัติเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างหลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองเร่งรัดการก่อสร้างต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และริบเงินประกันตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 วางไว้ต่อโจทก์จำนวน 51,800 บาท เป็นค่าปรับ
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องคดีเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่โจทก์ว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่ให้ทำงานก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองหรือไม่
++ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแก่จำเลยทั้งสองและขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาดังกล่าวเป็นค่าปรับและค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นแก่โจทก์จากการที่โจทก์ต้องจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง มิใช่เรื่องที่ผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานเรียกเอาคืนซึ่งเงินทดรองที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (17) ซึ่งในเรื่องดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี
++ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 26 กันยายน 2537จึงยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
++
++ ปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการที่ 2 มีว่าค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคา 1,429,200 บาท สูงเกินไปหรือไม่
++ พยานโจทก์มีนายณรงค์ ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี เบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่าในการว่าจ้างผู้อื่นมาดำเนินการก่อสร้างแทนจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษและมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบเพราะมีความจำเป็นต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อเด็กนักเรียนจะได้ใช้เป็นอาคารเรียนและเบิกความตอบทนายความโจทก์ถามติงว่า ช่วงที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างนั้น ภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นเริ่มผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคาก็ยังสูงอยู่ และนายสุรพลประเสริฐชัยกุล หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเบิกความว่า ช่วงที่พยานเข้าทำสัญญากับโจทก์ ราคาวัสดุก่อสร้างสูงกว่าราคาเมื่อต้นปี 2532 ประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 และในช่วงปี 2533วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์และเหล็กเส้นยังขาดแคลนอยู่บ้าง และเบิกความตอบทนายความจำเลยทั้งสองถามค้านว่า วัสดุก่อสร้างขาดแคลนถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ขยายระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาและมีมติให้ปรับราคาค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาที่ตกลงกันไว้ด้วย
++ ส่วนนายสุรพล ชัยสดมภ์ ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายความโจทก์ถามค้านว่า ในช่วงปี 2538 วัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย จำเลยทั้งสองรับเหมาก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ในราคาต่ำกว่าที่โจทก์ว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัด เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดรับเหมาและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองช่วยรับเหมา
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อจำเลยทั้งสองยอมรับว่าตกลงรับจ้างเหมาจากโจทก์ในราคาต่ำกว่าปกติ และขณะนั้นไม่มีผู้ใดยอมรับเหมา ประกอบกับเมื่อปี 2535 ในช่วงที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง แม้ภาวะขาดแคลนวัสดุก่อสร้างจะผ่อนคลายลงบ้าง แต่ราคายังสูงอยู่ จึงไม่อาจนำราคาที่จ้างเหมาจำเลยทั้งสองมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างได้ ส่วนค่าว่าจ้างบริษัททรีอาร์คอน จำกัดเมื่อปี 2538 แม้จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้าง ก็เนื่องจากในขณะนั้นวัสดุก่อสร้างไม่ขาดแคลนและมีราคาถูกลงด้วย ภาวะการตลาดย่อมแตกต่างกัน และคำเบิกความของนายสุรพลในเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างมิได้สับสนดังจำเลยทั้งสองอ้างจึงไม่อาจนำค่าว่าจ้างดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างมิใช่กรณีตามปกติ แต่เป็นการว่าจ้างด้วยวิธีพิเศษต้องดำเนินงานต่อจากผู้รับเหมาเดิมซึ่งละทิ้งงาน 2 งวดเดิมไว้ และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ย่อมต้องมีราคาสูงขึ้น
++ ประกอบกับในการตกลงว่าจ้างก็ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการโจทก์ด้วยแล้ว และเมื่อพิจารณารายละเอียดในใบเสนอราคาเกี่ยวกับบัญชีปริมาณวัสดุและราคาก่อสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างตามเอกสารหมาย จ.33 และจ.34 ราคาที่โจทก์ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างจึงมิได้สูงเกินไปดังจำเลยทั้งสองอ้าง แต่เหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
++ ข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างในราคาตามอำเภอใจเพื่อให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชำระค่าปรับรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามที่โจทก์ขยายเวลาให้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาหรือไม่
++ เห็นว่าสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 19 (1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน นอกจากนั้นในวรรคท้ายของสัญญาข้อ 19 ดังกล่าวยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์ผู้ว่าจ้างเห็นว่าจำเลยทั้งสองผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย
++ ซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายใดบ้างที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองหากโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญาจ้างเหมาข้อ 19และข้อ 20 ดังกล่าว
++ เห็นได้ว่า หากจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นหากโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายได้อีกด้วย
++ ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง
++ ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของพยานโจทก์ คือ นายณรงค์ธรรมวิชิต หัวหน้าฝ่ายการเงินและพัสดุของโจทก์ประกอบหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.15 ว่า ก่อนที่โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3
++ ดังนี้ย่อมถือได้ว่า การสงวนสิทธิเรียกค่าปรับดังกล่าวเป็นการที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว
++ เพราะปรากฏตามคำเบิกความของนายณรงค์พยานโจทก์ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ทั้งสองครั้ง โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง
++ ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ได้
++ อย่างไรก็ดี ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า สัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 มีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 20 มกราคม 2533 จ้างเหมากันในราคา 1,036,000 บาทตกลงจ่ายค่าจ้างเป็น 3 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 250,000 บาทงวดที่ 2 เป็นเงิน 300,000 บาท และงวดที่ 3 เป็นเงิน 486,000 บาทเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาจ้างออกไปมีกำหนด 150 วัน โจทก์อนุมัติ ต่อมาวันที่ 19 เมษายน 2533 จำเลยที่ 1ส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้แก่โจทก์ คณะกรรมการตรวจรับงานของโจทก์ตรวจรับงานเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2533 และได้จ่ายค่าจ้างงวดที่ 1เป็นเงิน 250,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว ต่อมาวันที่ 25มิถุนายน 2533 จำเลยที่ 1 ขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปอีก180 วัน โจทก์อนุมัติและกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 16 ธันวาคม 2533
++ หลังจากส่งมอบงานงวดที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสามมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างอีก ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างอาคารเรียนให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ขยายให้ได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 จากนั้นวันที่ 22มิถุนายน 2535 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างเข้าดำเนินการก่อสร้างที่ค้างอยู่ในราคา 1,439,200 บาท
++ ดังนี้ เห็นได้ว่า หลังจากครบกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ครั้งสุดท้ายเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยทั้งสองมิได้เข้าดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ขยายให้ดังกล่าวแล้ว ทั้งไม่ปรากฏเหตุผลสมควรที่แสดงให้เห็นถึงเหตุที่ต้องล่าช้าในการว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดพลวัฒน์ก่อสร้างให้เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ค้างอยู่ในงวดที่ 2 และที่ 3ความล่าช้าดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์เองรวมอยู่ด้วยแม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมายจ.3 ข้อ 19 (1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการต่อจากจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 19 (1) และเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 20 (2)ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง และ 383 วรรคหนึ่ง
++ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 2 และที่ 3 ที่ค้างอยู่ตามสัญญาจ้างเหมาเอกสารหมาย จ.3 ถึงเกือบเท่าตัวประกอบกับเหตุแห่งความล่าช้าของโจทก์ในการดำเนินงานของโจทก์เองแล้ว เห็นว่า เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้นมีจำนวนสูงพอสมควรแล้วไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) ให้โจทก์อีก
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์จะต้องนำเงินประกันตามสัญญาที่โจทก์รับไว้มาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่
++ เห็นว่า หลักประกันดังกล่าวเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งจำเลยทั้งสองนำมามอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา ตามข้อตกลงในสัญญาข้อ 3โดยธนาคารจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น หากจำเลยทั้งสองพ้นจากความรับผิดตามสัญญาแล้ว โจทก์จะต้องคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งมอบไว้เป็นหลักประกันแก่จำเลยทั้งสอง
++ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาและโจทก์ริบหลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว เงินที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแก่โจทก์จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ต้องนำมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระแก่โจทก์ มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20 (1) จึงไม่อาจนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหาย ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาประกันจากพนักงานสอบสวน: เงินค่าปรับเป็นไปตามระเบียบราชการ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 136บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการที่จะปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ และมาตรา 106(1)บัญญัติว่า คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวเมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ดังนั้น ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มี อำนาจปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ต้องหายังอยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนมิใช่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันได้ ทั้งอำนาจในการปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกัน กฎหมายมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน มิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการส่วนตัว เงินค่าปรับตามสัญญาประกันจึงต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการมิได้ตกเป็นเงินส่วนตัวของร้อยตำรวจเอกป. การที่ร้อยตำรวจเอกป. ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวได้มิได้แสดงว่าร้อยตำรวจเอกป.ในฐานะพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้องผู้ผิดสัญญาประกันโจทก์ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าจ้างเพิ่มหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การลดหนี้จากหนังสือค้ำประกัน
เจ้าหนี้ตกลงว่าจ้างให้ลูกหนี้ทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต ท่อส่งน้ำถึงบ่อพักน้ำ บ้านพักพนักงานสูบน้ำ 1 หลัง อาคารควบคุมระบบไฟฟ้าและโรงเก็บพัสดุ 1 หลัง รั้วลวดหนามพร้อมประตูตาข่ายและป้ายชื่อสถานีฐานรองรับและท่อส่งน้ำ ณ สถานีสูบน้ำ กำหนดแล้วเสร็จภายใน 250 วัน ลูกหนี้ได้รับการต่ออายุสัญญา 3 ครั้ง เป็นเวลา 510 วัน ครบกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 28 ตุลาคม 2532 แต่ลูกหนี้ทำการก่อสร้างตามสัญญาไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์และไม่สามารถส่งมอบงานในวันที่ครบกำหนดดังกล่าว ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาเข้าทำการก่อสร้างคลองส่งน้ำให้แล้วเสร็จตามสัญญาภายใน 15 วัน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 จนกระทั่งวันที่ 31 มกราคม 2537 เจ้าหนี้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อสร้างแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และในการที่ลูกหนี้ผิดนัดผิดสัญญา เจ้าหนี้มีสิทธิปรับลูกหนี้เป็นรายวันตามสัญญาวันละ 3,627 บาท นับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2532 เป็นต้นไป แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก่เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวัน ดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153
ตามสัญญาก่อสร้างฉบับพิพาทระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเจ้าหนี้จะเรียกเอาเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะว่าจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างไม่ได้การที่เจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น
ในการที่ลูกหนี้ทำสัญญาก่อสร้างคลองส่งน้ำกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารจำนวนเงิน 362,610 บาท มอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาแก่ลูกหนี้และในวันเดียวกันนั้นเจ้าหนี้ได้เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันและธนาคารดังกล่าวได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้วเป็นจำนวนเงิน362,610 บาท ดังนั้น สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เงินค่าปรับรายวันโดยไม่หักจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 362,610 บาท จึงไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับและค่าจ้างจากการบอกเลิกสัญญาก่อสร้างหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
แม้เหตุผิดนัดผิดสัญญาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระเงินค่าปรับเป็นรายวันจากลูกหนี้ซึ่งมีมาก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดก็ตาม แต่ตามสัญญาได้กำหนดให้ลูกหนี้ผู้ผิดนัดผิดสัญญาต้องเสียค่าปรับแก้เจ้าหนี้เป็นรายวันทุกวันที่ยังผิดนัดผิดสัญญาอยู่ มูลหนี้ในเงินค่าปรับจึงเกิดขึ้นเป็นรายวันดังนี้ มูลหนี้ในเงินค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาส่วนที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
ตามสัญญาก่อสร้างระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำงานต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์เห็นได้ว่า การที่เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการที่ว่าจ้างได้ เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อน เมื่อเจ้าหนี้เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว มูลหนี้ในเงินค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจึงเกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94
เมื่อปรากฏว่าธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันแก่เจ้าหนี้แล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าปรับเป็นรายวันจึงต้องลดลงตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ได้รับชำระจากธนาคารผู้ค้ำประกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 และพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153