คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินไหมทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5246/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทน, อายุความ 10 ปี
จำเลยให้คำรับรองว่าที่ดินพิพาทที่จะขายให้แก่โจทก์ติดกับทางสาธารณะ แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่ติดทางสาธารณะตามที่จำเลยให้คำรับรอง เมื่อโจทก์มีเจตนาซื้อที่ดินของจำเลยเพื่อเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ และได้ซื้อ ที่ดินพิพาทจากจำเลยในราคาที่แพงกว่าปกติของที่ดินในบริเวณเดียวกับที่ไม่ติดทางสาธารณะ ถือว่าจำเลยขายที่ดินแก่โจทก์โดยทำกลฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระราคาสูงขึ้นกว่าราคาซื้อขายปกติ แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพราะติดกับที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ด้วย จึงเป็นกลฉ้อฉลแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่เขาจะยอมรับโดยปกติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องถือหลักทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยแยกจากสัญญาเช่าซื้อ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ แม้รถยนต์จะถูกยึดคืน
ว. เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์และได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย โดยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์สัญญาประกันภัยระหว่าง ว. กับจำเลยเป็นสัญญาอีกสัญญาหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของสัญญาแต่ละสัญญา แม้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. จะสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไปก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนสัญญาประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดลงหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดลง สัญญาประกันภัยก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัย จะปัดความรับผิดชอบตามสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่เป็นลูกหนี้โดยตรงได้ สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ไม่ระงับไป
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองรถยนต์โดยสุจริต: การประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์คันพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา1382 หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาทที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์ แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ศาลยืนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์ คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้าย ทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครอง ใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิ ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับ เป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนค์ คันพิพาทที่ เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยรถยนต์: การฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนและอำนาจฟ้องของคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทไว้กับจำเลย โดยกำหนดวงเงินเป็นจำนวนแน่นอน ต่อมาระหว่างอายุสัญญารถยนต์คันดังกล่าวได้สูญหายไปในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ได้ร้องทุกข์และแจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าเป็นสัญญาประกันภัยประเภทใด กรมธรรม์เลขที่เท่าใด เริ่มคุ้มครองและสิ้นสุดเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้แนบกรมธรรม์ประกันภัยมาด้วย แต่มีคู่ฉบับอยู่ที่จำเลยแล้ว จึงเป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำสัญญาเช่ารถยนต์จากบริษัท ภ. และได้นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยโดยให้บริษัท ภ. เป็นผู้รับประโยชน์ โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก มีผลให้บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ และเมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นแล้ว คู่สัญญาจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังไม่ได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375 อย่างไรก็ดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์มิได้สิ้นสิทธิที่จะฟ้องจำเลย เมื่อระหว่างระยะเวลาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวได้สูญหายไปขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์และจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า บริษัท ภ. ผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาแล้วหรือไม่ และโจทก์ต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์อยู่อีกหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย vs. ความรับผิดต่อสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยตกลงกันว่าให้จำเลยประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อ และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น ถือว่าเป็นการตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ คันดังกล่าวได้สูญหายไป สิทธิของโจทก์ที่จะรับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยร่วมว่าจะถือเอาประโยชน์สัญญานั้น และเนื่องจากไม่มีข้อตกลงให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ เรียกร้องแก่จำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน การที่จำเลยแจ้งว่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อได้สูญหายไปให้ โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังมีอำนาจเรียกร้องต่อจำเลยโดยตรงได้แม้จะเป็น ภายหลังจากที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีแก่จำเลยร่วมขาดอายุความไปแล้ว ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่ เมื่อรถยนต์คันที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยจำเลยยังไม่ได้ชำระราคาค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แม้แต่งวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย กรณีรถยนต์ถูกลักโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทน แม้คำสั่งไม่ฟ้องในทางอาญา ศาลแพ่งยังคงพิพากษาได้
คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา เป็นเรื่อง ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตามพยานหลักฐาน เท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติ ในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิด มิได้ และเมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่า พยานหลักฐานของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: เงื่อนไขการแจ้งความเสียหายเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งภายในเวลา หากไม่แจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอาจหมดไป
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีและภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือเสียหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นคดีกรรมการทำละเมิด: ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ใช่ฟ้องให้โมฆะนิติกรรม
การฟ้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้อำนาจแก่ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งโดยปกติบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต้องฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4เป็นโมฆะเช่นนี้ หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลย จะไม่ให้การต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้กำหนดค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ และจำเลยได้จ่ายให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ครบถ้วนแล้ว ส่วนเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย เมื่อมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ย่อมใช้บังคับได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535
of 36