พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และข้อยกเว้นค่าอุปการะเลี้ยงดู
กรมกองต่าง ๆ ซึ่งสังกัดในกระทรวง แม้จะมีการแบ่งแยกงานเป็นสัดส่วนก็ถือว่าเป็นงานของกรมนั้น ๆ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์ในราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 แม้ในวันเกิดเหตุจะเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการก็ตาม หากปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอารถยนต์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ยืมไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดชอบ
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาประนีประนอมจำกัดสิทธิหน้าที่บิดา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันแต่มิได้จดทะเบียนเกิดบุตรคนหนึ่งโจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับรองเด็กเป็นบุตรและให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมรับรองเด็กเป็นบุตรและจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เป็นเดือนมีกำหนดเวลาโดยมิได้มีเงื่อนไขสงวนสิทธิใด ๆ ของโจทก์ไว้พ้นกำหนดแล้ว โจทก์จะมาฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอีกไม่ได้ เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากเหตุการณ์สูญเสียบุตรและการเรียกร้องค่าอุปการะและการทำศพ
จำเลยฆ่าบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ย่อมถือว่าจำเลยได้กระทำการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูไป โดยมิต้องคำนึงว่าในปัจจุบันบุตรที่ตายจะได้กำลังอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ผู้เป็นมารดาอยู่หรือไม่ ส่วนค่าเสียหายจะเท่าใดศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ส่วนค่าเสียหายเพื่อความวิปโยคโทมนัสนั้นเรียกไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แก้ไขได้หากมีเหตุผลเปลี่ยนแปลง และอาจร้องต่อศาลตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1596
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลกำหนดให้นั้น ต่อไปถ้ามีเหตุอันควรแก้ไขประการใดอาจร้องขอต่อศาลตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1596 ได้.
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง.
คดีที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตร เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ฎีกาได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.ม.วิ.แพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง: มรดก vs. ค่าอุปการะ
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1627 นั้น มีสิทธิเพียงที่จะได้รับมฤดกในฐานเป็นผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629(1) เท่านั้น
สิทธิที่บุตรจะได้รับจากบิดาในกรณีที่บุตรต้องขาดอุปการะ เพราะมีผู้ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายนั้น จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรก มิฉะนั้นก็ต้องเข้าในบทบัญญัติแห่งมาตรา 1526 คือ ต่อมาบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1524 เป็นเรื่องพิศูจน์ว่าเป็นบุตรในกรณีที่บิดาได้สมรสกันโดยถูกต้องแล้ว เป็นคนละเรื่องกับมาตรา 1627 บุตรที่บิดารับรองโดยทะเบียนคนเกิดและโดยเปิดเผยย่อมสมบูรณ์ตามมาตรา 1627 มีสิทธิในฐานะผู้สืบสันดาน ย่อมฟ้องเรียกค่าทำศพบิดาจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้
สิทธิที่บุตรจะได้รับจากบิดาในกรณีที่บุตรต้องขาดอุปการะ เพราะมีผู้ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายนั้น จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรก มิฉะนั้นก็ต้องเข้าในบทบัญญัติแห่งมาตรา 1526 คือ ต่อมาบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1524 เป็นเรื่องพิศูจน์ว่าเป็นบุตรในกรณีที่บิดาได้สมรสกันโดยถูกต้องแล้ว เป็นคนละเรื่องกับมาตรา 1627 บุตรที่บิดารับรองโดยทะเบียนคนเกิดและโดยเปิดเผยย่อมสมบูรณ์ตามมาตรา 1627 มีสิทธิในฐานะผู้สืบสันดาน ย่อมฟ้องเรียกค่าทำศพบิดาจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1386/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ข้อพิพาทเกิดจากสัญญา ไม่ใช่สิทธิครอบครัว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ภรรยา+ฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูของบุตรจากสามีเพราะเหตุที่สามีผิดสัญญายอมที่ทำไว้นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว คู่ความฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ วิธีพิจารณาความแพ่ง ค่าธรรมเนียม หมายเหตุ ปรากฎว่าคดีก่นอนี้(ฎีกาที่ 375/79) ศาลฎีกาสั่งให้ผู้แพ้คดีในที่สุดเป็นผู้เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรส และผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าทดแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดู และสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 ขอแบ่งสินสมรส ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา ขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ถึงวันฟ้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จนบรรลุนิติภาวะ และให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ และผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
เมื่อผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ และผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 จึงอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในประเด็นฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ประเด็นสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ก่อนฟ้อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนบรรลุนิติภาวะ และประเด็นการแบ่งสินสมรส และอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 ในประเด็นที่ถูกเรียกค่าทดแทน
สำหรับประเด็นหย่า เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่ เพราะไม่ได้ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประเด็นเรียกค่าทดแทนที่เรียกจากจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลจึงมิได้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1525 วรรคสอง ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น ส่วนประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1526 ระบุว่า ค่าเลี้ยงชีพศาลจะกำหนดให้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายก่อนหย่า การสมรสจึงสิ้นสุดเพราะการตาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยที่ 1 ได้ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ศาลฎีกาเห็นควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะทั้งสามประเด็นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
เมื่อผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์ และผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 จึงอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในประเด็นฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ประเด็นสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ก่อนฟ้อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนบรรลุนิติภาวะ และประเด็นการแบ่งสินสมรส และอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 ในประเด็นที่ถูกเรียกค่าทดแทน
สำหรับประเด็นหย่า เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ทำให้การสมรสสิ้นสุดลงเนื่องจากความตายของโจทก์ ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่ เพราะไม่ได้ทำให้ผลของการสมรสเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประเด็นเรียกค่าทดแทนที่เรียกจากจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลจึงมิได้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากัน โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1525 วรรคสอง ระบุว่า การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะมีได้เฉพาะในกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเท่านั้น ส่วนประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1526 ระบุว่า ค่าเลี้ยงชีพศาลจะกำหนดให้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายก่อนหย่า การสมรสจึงสิ้นสุดเพราะการตาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยที่ 1 ได้ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ศาลฎีกาเห็นควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะทั้งสามประเด็นดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่าทางแพ่ง: การแยกกันอยู่, การละทิ้งร้าง, และการพิจารณาค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) โดยอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินหนึ่งปีไม่ได้ระบุถึงการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา แม้โจทก์จะอ้างข้อตกลงแยกทางตามเอกสารท้ายคำฟ้องก็ตาม แต่เหตุหย่าตาม มาตรา 1516 (4/2) นั้น ไม่ได้มีเพียงระยะเวลาที่แยกกันอยู่เกินสามปีเท่านั้น ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นอีก คือต้องเป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงองค์ประกอบดังกล่าวไว้ ฟ้องของโจทก์ในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุหย่าตามบทบัญญัติในมาตรา 1516 (4/2)
โจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ออกจากบ้านพักของจำเลยไปเอง กรณีจึงถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยหาได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่ได้ละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4)
??
??
??
??
1/1
โจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ออกจากบ้านพักของจำเลยไปเอง กรณีจึงถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียว จำเลยหาได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่ได้ละทิ้งร้างโจทก์เกินกว่าหนึ่งปี อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4)
??
??
??
??
1/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและการกำหนดจำนวนค่าอุปการะที่เหมาะสม
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่คลอดจนถึงขณะฟ้องแย้งเป็นเวลา 10 ปี ปีละ 25,000 บาท เป็นเงิน 2,500,000 บาท และต่อไปเป็นเวลา 10 ปี ปีละ 25,000 บาท เป็นเงิน 2,500,000 บาท รวม 5,000,000 บาท จำเลยประสงค์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงบุตรปีละ 250,000 บาท การที่จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งให้ถูกต้อง เนื่องจากพิมพ์ตัวเลขตกไป จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ทั้งจำเลยไม่ได้ขอแก้ไขทุนทรัพย์ โดยยังคงติดใจเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู 2,000,000 บาท และไม่ได้เปลี่ยนแปลงข้อหาตามฟ้องแย้งเดิมตามมาตรา 179 จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 181 ที่จะต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขฟ้องแย้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996-6997/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ศาลรับฟ้องแย้งและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้อง 2 ประการ คือ ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับเด็กหญิง ญ. จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์มีอำนาจปกครอง อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่งเอง สมควรที่จะได้วินิจฉัยให้เสร็จไปในคราวเดียวกันไม่เยิ่นเย้อที่จะต้องรอให้คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จนคำพิพากษาถึงที่สุดเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงจะมาฟ้องขอเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลัง กรณีถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม