พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลอกลวงหางานในต่างประเทศ พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้แจ้งข้อหาอื่นก่อนก็มีอำนาจฟ้องได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ++
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลย มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 และมาตรา 82 แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง,30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9758/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานต่างประเทศสำคัญกว่าสถานที่: การกระทำที่ปราศจากเจตนาไม่ถือเป็นความผิด
การจะเป็นผู้กระทำผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้กระทำผิดจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานเมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงานเมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่น ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9758/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าสถานที่: ปฏิเสธความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
การจะเป็นผู้กระทำผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้กระทำผิดจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงาน เมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
บ้านที่จำเลยพักอาศัยเป็นบ้านธรรมดา ไม่ได้จัดตั้งเป็นสำนักงาน เมื่อผู้เสียหายไปติดต่อที่บ้านจำเลยเพื่อให้จำเลยส่งไปทำงานในต่างประเทศ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ที่บ้านเพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นสถานที่สำหรับจัดหางาน และก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยไม่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดที่เคยส่งคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การที่จำเลยยืนยันกับผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วจำเลยพาผู้เสียหายไปขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและให้ผู้เสียหายพักที่บ้านจำเลยในระหว่างที่ยังไม่ได้เดินทางไป ก็เพียงเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายให้หลงเชื่อยิ่งขึ้นว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่เพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้ แล้วผู้เสียหายยินยอมจ่ายเงินให้จำเลยตามที่เรียกร้องเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยดังที่กล่าวมายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ อาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แต่การพิพากษาลงโทษฐานจัดหางานไม่ถูกต้อง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้อยู่แล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากิน ทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ – ความผิดฐานฉ้อโกงและ พ.ร.บ. จัดหางานฯ – กรรมเดียว
จำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางาน ไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อีกทั้งจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใดไปทำงานในต่างประเทศ ดังกล่าวได้ และทั้งไม่มีงานรออยู่ที่ประเทศดังกล่าวตามที่แจ้งแก่ ผู้เสียหายทั้งเจ็ด อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายคงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนและผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหาย ทั้งเจ็ดและส่งคนหางานทั่วไปและผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงานที่ ไต้หวัน และเกาหลีได้โดยผู้ที่จะไปทำงานที่เกาหลีต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท และผู้เสียหายทั้งเจ็ดได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกไปก็เพราะผู้เสียหายทั้งเจ็ดเชื่อตาม ที่จำเลยกับพวกหลอกลวงนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง และการกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานในขณะนั้น
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง แม้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อ ไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหา ลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทน หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้วจำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหา ลูกจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อ เป็นเหตุหลอกลวง จ. ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในขณะ ที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวง ผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษ แต่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด