คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท
จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ลดค่าเสียหายที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดทุนทรัพย์ฟ้องแย้งในชั้นฎีกา: การคำนวณดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิด จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้ง จำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้งจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในศาลอุทธรณ์: ทางจำเป็น
คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแต่เพียงว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นทางจำเป็นข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิเรียกร้องที่จำกัดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง 7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน 4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดคำฟ้อง, สิทธิในการอุทธรณ์, และการไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำเลยร่วม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า ขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์ 1 ทาง ใน 3 ทาง ตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้อง แสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 3 เส้นทางนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เปิดทางที่ 1 ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่า ทางที่ 1 ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้ เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง
ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคำขอหลักแห่งคดี คำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูก จ.และ ส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใด คงเป็นสิทธิของ จ.และ ส.ที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี หากเห็นว่าตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกาในคดีละเมิดร่วมกัน กรณีจำเลยที่ 3 อ้างการจ้างวาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน 308,147.20 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้โจทก์และพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 125,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์การที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วยนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งหากจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำ ดังนี้ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: การขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในหนี้ร่วมจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และ 2
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน308,1447.20บาทศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่1ที่2ได้ตัดฟันต้นไม้ที่ปลูกในป่าสงวนแห่งชาติเป็นการกระทำละเมิดต่อกรมป่าไม้โจทก์และพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน125,800บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่3เป็นผู้จ้างวานจำเลยที่1และที่2จำเลยที่3จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ด้วยนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่1และที่2อันเป็นหนี้ร่วมอันไม่อาจแบ่งแยกได้ซึ่งหากจำเลยที่3จะต้องรับผิดก็ไม่เกินความเสียหายที่จำเลยที่1และที่2ได้กระทำดังนี้ถือว่าฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่3มีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5168/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกประเด็นใหม่ในฎีกา: ประเด็นต้องเคยยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เท่านั้น
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ที่ว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ และโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในประเด็นดังกล่าวเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ฟ้องร้องแยกรายบุคคล, ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง, จำนวนทุนทรัพย์เกินกำหนด
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 4 กับพวก ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดให้แก่โจทก์ทั้งสี่แม้จะฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเรียกค่าปลงศพ 20,000 บาท และฟ้อง เรียกค่าขาดไร้อุปการะโดยโจทก์ที่ 1 เรียกมา 50,000 บาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เรียกมา 400,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเท่าใด แต่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ต่างก็เป็น บุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 แต่ละคนคงไม่แตกต่างกันมาก จึงพออนุมานได้ว่าค่าขาดไร้อุปการะ ที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เรียกร้องมารวมกับค่าปลงศพ ที่แต่ละคนเรียกร้องมามีจำนวนไม่เกินคนละสองแสนบาทและค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องมาไม่เกินสองแสนบาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกาและการเกินขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่2ถึง37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน78,150บาทแต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000บาทที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านของผู้ร้องการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้นจึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอันเป็นการมิชอบแม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้องก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกตทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้นและจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้นฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวงซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภรรยากันทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยาจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
of 21