พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนหนี้ในสัญญาจำนองเกินข้อตกลงเดิม เป็นการขัดต่อหลักการนำสืบพยาน
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน, การคำนวณหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสรุปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์อยู่แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดดังกล่าวให้ถูกต้องได้หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยไม่จำต้องยกเหตุว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ถึงที่ 5 มียอดหนี้รวมเป็นเงิน 1,080,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่ายอดหนี้ดังกล่าวมีดอกเบี้ยค้างชำระ แม้โจทก์จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไปรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ซึ่งรวมหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันด้วย โจทก์ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามส่วนของจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 คงต้องรับผิดเพียง 540,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16802/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้ค่าจ้างกับหนี้ที่ยอมรับตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ค่าจ้างน้อยกว่าจำนวนหนี้
โจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่จำเลยจริงและยินยอมชดใช้หนี้นั้น หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้แล้ว เมื่อค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยมีจำนวนน้อยกว่าค่าเสียหายตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยจึงมีสิทธินำค่าจ้างที่ต้องชำระแก่โจทก์มาหักกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10733/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การหักชำระหนี้, จำนวนหนี้เกินฟ้อง, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีนี้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยอื่นบางรายซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์จำนองได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยตามพ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกู้ยืมเงิน ที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุในสัญญากู้เงินทั้งสามฉบับที่จำเลยที่ 1 กู้ยืม การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในส่วนนี้ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงฝ่าฝืนข้อห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) และตกเป็นโมฆะ
อนึ่ง โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เงินฉบับแรกลงวันที่ 16 สิงหาคม 2533 จำนวน 9,346,800.15 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินตามสัญญาฉบับนี้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 โดยเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
อนึ่ง โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เงินฉบับแรกลงวันที่ 16 สิงหาคม 2533 จำนวน 9,346,800.15 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินตามสัญญาฉบับนี้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 โดยเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน และการสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน การที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังไม่เป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันแต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้ สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรา 9 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันแต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้ สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ โจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยมีจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามมาตรา 9 โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่ได้รับจริง ศาลแก้ไขจำนวนหนี้และดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามข้อตกลง
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน แต่ได้รับเงินกู้จากโจทก์เพียง 16,000 บาท เพราะโจทก์หักไว้เป็นค่าดอกเบี้ยล่วงหน้า 2 เดือน และโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เขียนสัญญากู้ยืมเงินว่ากู้เงินโจทก์จำนวน 160,000 บาท อันผิดไปจากความจริง อย่างไรก็ตามที่สัญญากู้ระบุจำนวนเงินกู้ไว้จำนวน 160,000 บาท แต่จำเลยต่อสู้และนำสืบหักล้างฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียงจำนวน 20,000 บาท ก็เป็นเพียงการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์เท่านั้นหาใช่ทำให้เป็นสัญญากู้ปลอมแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงอาศัยสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่แท้จริงจำนวน 20,000 บาท ได้ จำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ต้นเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำเงินจำนวน 4,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน รวม 2 เดือน ที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์หักไว้ขณะทำสัญญากู้ยืมเงินมาหักชำระหนี้ต้นเงินได้ เพราะเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 สำหรับข้อตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาคู่สัญญามิได้มีเจตนาจะคิดดอกเบี้ยกันในอัตราดังกล่าวแต่ตกลงให้โจทก์คิดในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ แต่เนื่องจากกรณีเป็นหนี้เงิน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งคดีนี้สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงให้ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 20,000 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และเมื่อความรับผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้และการใช้สิทธิโดยสุจริต แม้จำนวนหนี้ที่ฟ้องต่างจากที่สืบได้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงเหลือหนี้ไม่ถึงจำนวนตามคำฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินจากจำเลยเกินกว่าสิทธิที่โจทก์พึงมีตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา เนื่องจากจำเลยชอบที่จะต่อสู้คดีได้และหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลก็ไม่ได้พิจารณาเฉพาะคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาจากคำให้การจำเลยและพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5138/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดบ้านพร้อมที่ดินไม่เกินกว่าหนี้ และการกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอนเป็นเงื่อนไขก่อนวางเงิน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนจนกว่าจำเลยจะส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยยังไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา หนี้ค่าเสียหายย่อมเพิ่มพูนขึ้นทุกเดือนและยังไม่แน่นอนว่าจะมีจำนวนเท่าใด การบังคับคดีจึงอาจต้องรวมค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย แม้โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยและประเมินราคาที่ดินไว้ก็เป็นเพียงการประมาณการเบื้องต้นเท่านั้น ยังมิใช่เป็นราคาที่แน่นอนเพราะการขายทอดตลาดอาจขายได้ราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาประเมินก็ได้ การที่มีบ้านของจำเลยสามหลังปลูกอยู่บนที่ดินที่ยึดไว้ด้วยนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำยึดบ้านทั้งสามหลังด้วยหรือไม่ ท้ายที่สุดเมื่อมีการขายทอดตลาดที่ดินและบุคคลภายนอกเป็นผู้ซื้อที่ดินได้ จำเลยก็จะต้องออกจากบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินที่ยึดไว้ การที่โจทก์นำยึดบ้านทั้งสามหลังดังกล่าว จึงมิใช่มีเจตนากลั่นแกล้งหรือกดดันจำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งบ้านทั้งสามหลังมีราคาเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่ดินที่ยึดไว้ จึงมิใช่กระทำไปโดยมีเจตนามุ่งเพิ่มภาระค่าธรรมเนียมการยึดแก่จำเลย นอกจากนี้หากโจทก์มิได้นำยึดบ้าน กรณีอาจเป็นปัญหาแก่ผู้ซื้อทอดตลาดที่จะต้องดำเนินการให้มีการรื้อถอนขนย้ายบ้านดังกล่าวออกไปในภายหลัง อันมีผลทำให้ไม่มีผู้สนใจซื้อทอดตลาดหรือขายได้ราคาต่ำไป อันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยยิ่งกว่าการขายทอดตลาดที่ดินและบ้านไปในคราวเดียวกันอันเป็นการสะดวกแก่การบังคับคดีขายทอดตลาด และน่าจะเป็นผลให้ขายทอดตลาดได้ในราคาที่ดีกว่า การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและบ้านทั้งสามหลังที่ปลูกอยู่บนที่ดินมาในคราวเดียวกันโดยบ้านทั้งสามหลังมีราคาไม่สูงมาก จึงมีเหตุผลอันสมควร ไม่อาจถือว่าโจทก์ยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะวางเงินหรือหาประกันมาให้ไว้ต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งถอนหรืองดการบังคับคดีนั้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องวางเงินหรือหาประกันมาให้เป็นจำนวนเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) คดีนี้ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน นับแต่เดือนตุลาคม 2527 จนกว่าจะส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ ในการคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำต้องรู้วันเวลาที่จำเลยส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ จึงจะคิดคำนวณจำนวนค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้ แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แก่โจทก์ จำนวนค่าเสียหายย่อมจะต้องทวีเพิ่มขึ้นทุกเดือนจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถคำนวณยอดหนี้ให้เป็นการแน่นอนได้ และเมื่อไม่รู้จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาก็ย่อมไม่สามารถกำหนดจำนวนเงินที่จะให้จำเลยนำมาวางต่อศาลหรือพิจารณาประกันที่จำเลยจะหามาให้ไว้ต่อศาลว่าเป็นจำนวนเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือไม่เพื่อที่จะมีคำสั่งให้ถอนการยึดทรัพย์หรืองดการบังคับคดีต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองปฏิเสธที่จะกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยประสงค์จะขอวางต่อศาลเพื่อให้ถอนการยึดทรัพย์หรืองดการบังคับคดี จึงชอบแล้ว
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะวางเงินหรือหาประกันมาให้ไว้ต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งถอนหรืองดการบังคับคดีนั้น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องวางเงินหรือหาประกันมาให้เป็นจำนวนเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) คดีนี้ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน นับแต่เดือนตุลาคม 2527 จนกว่าจะส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ ในการคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำต้องรู้วันเวลาที่จำเลยส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามฟ้องให้แก่โจทก์ จึงจะคิดคำนวณจำนวนค่าเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้ แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ส่งมอบอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้แก่โจทก์ จำนวนค่าเสียหายย่อมจะต้องทวีเพิ่มขึ้นทุกเดือนจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถคำนวณยอดหนี้ให้เป็นการแน่นอนได้ และเมื่อไม่รู้จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามคำพิพากษาก็ย่อมไม่สามารถกำหนดจำนวนเงินที่จะให้จำเลยนำมาวางต่อศาลหรือพิจารณาประกันที่จำเลยจะหามาให้ไว้ต่อศาลว่าเป็นจำนวนเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือไม่เพื่อที่จะมีคำสั่งให้ถอนการยึดทรัพย์หรืองดการบังคับคดีต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองปฏิเสธที่จะกำหนดจำนวนเงินที่จำเลยประสงค์จะขอวางต่อศาลเพื่อให้ถอนการยึดทรัพย์หรืองดการบังคับคดี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่ถูกต้องตามคำวินิจฉัย และการนำเงินชำระหนี้มาหักลบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยมีหนี้ค้างชำระในส่วนของต้นเงินเพียง 4,500,000 บาท เมื่อศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา แต่ดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน จึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยมิได้กล่าวถึงต้นเงินค้างชำระเป็นอย่างอื่น แสดงว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจากต้นเงิน 4,500,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ถูกต้องตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงิน 5,550,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจึงไม่ตรงกับคำวินิจฉัยถือได้ว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขต้นเงินที่ใช้คำนวณดอกเบี้ยเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งที่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวได้ โดยหาจำต้องส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์เพื่อคัดค้านและทำการไต่สวนก่อนไม่ ส่วนการจะนำเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นตามคำเบิกความของโจทก์มาลดยอดหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดในคดีนี้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ เมื่อในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไม่ได้กล่าวถึงการได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องของโจทก์ไว้เลย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยไม่ได้นำจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ภายหลังยื่นฟ้องมาหักออกก่อนจึงตรงตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณาเป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป กรณีมิใช่คำพิพากษามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 จำเลยไม่อาจใช้วิธีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาส่วนนี้ได้เนื่องจากมีผลเป็นการแก้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนหนี้ในคำพิพากษาเดิม