พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้จะเสียค่าขึ้นศาลสูง
ทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันมาในศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทมีราคา 136,000 บาท และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ในกรณีที่สภาพไม่เปิดช่องให้จัดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเท่ากับราคาที่ดินพิพาทจำนวน 136,000 บาท คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคัดค้านราคาที่ดินพิพาทดังกล่าว คดีนี้จึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 1,000,000 บาท ก็ไม่ทำให้เป็นฎีกาที่ไม่ต้องห้ามได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ซ้ำกันเนื่องจากประเด็นและจำนวนเงินต่างกัน
เมื่อคดีแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลย ศาลแรงงานได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ดังนั้น ในวันที่ 24พฤศจิกายน ปีเดียวกันอันเป็นวันที่โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีหลังคดีแรกจึงยังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก และเมื่อในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่านายหน้าจากการขายจากจำเลยในคดีแรกนั้น โจทก์ยังไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายจากจำเลยที่โจทก์ฟ้องเรียกในคดีหลัง ค่านายหน้าจากการขายที่โจทก์ฟ้องจากจำเลยในคดีหลังจึงเป็นคนละจำนวนกับค่านายหน้าที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในคดีแรก ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเรื่องจึงต่างกัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีหลังจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีข้อความว่า ข้อ 1 จำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์จำนวน 10,000 บาท ภายในวันที่22 เดือนนี้ โดยจะนำมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป ข้อ 2 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ทุกประการไม่ติดใจเรียกร้องนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นข้อความดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ยอมรับเงินจากจำเลยจำนวน10,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเอาเงินตามฟ้อง 54,572.33 บาทซึ่งนอกเหนือจากที่จำเลยยอม หาใช่เป็นการที่โจทก์ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องเอาเงินจำนวนอื่นที่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกจากจำเลยอีกไม่คำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ในอันที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในคดีอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ปลอม: การลงลายมือชื่อในสัญญาที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ และการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยกู้เงินโจทก์และลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ สามีโจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นเองภายหลังมากกว่าจำนวนที่กู้จริงโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอม สัญญากู้จึงเป็นสัญญากู้ปลอม ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเวนคืนต้องระบุจำนวนค่าทดแทนที่ชัดเจนและขอให้บังคับชำระ หากไม่บรรยายฟ้องครบถ้วน ศาลไม่รับฟ้อง
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 26วรรคหนึ่ง นั้น เพื่อให้ศาลบังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืน หรือควบคุมการเวนคืนให้ชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องว่า ค่าทดแทนที่ควรจะได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินค่าทดแทนที่เห็นว่าตนพึงได้รับมีเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องก็เพียงขอให้บังคับจำเลยดำเนินการตามกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง คำฟ้องจึงขาดสาระสำคัญตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาให้จำเลยรับผิดได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าเวนคืนต้องระบุจำนวนเงินที่ควรได้รับและขอให้บังคับชำระเพิ่ม มิฉะนั้นฟ้องขาดสาระสำคัญ
การฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา26 วรรคหนึ่ง นั้น เพื่อให้ศาลบังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนให้ชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องว่า ค่าทดแทนที่ควรจะได้รับชำระมีจำนวนเท่าใด และคำขอท้ายฟ้องต้องเป็นเรื่องให้บังคับผู้มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้น แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินค่าทดแทนที่เห็นว่าตนพึงได้รับมีเท่าใดและคำขอท้ายฟ้องก็เพียงขอให้บังคับจำเลยดำเนินการตามกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง คำฟ้องจึงขาดสาระสำคัญตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาให้จำเลยรับผิดได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองบังคับคดีเกินจำนวนเงินจำนอง และค่าธรรมเนียมศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะขอใช้สิทธิจำนองบังคับเอาจากทรัพย์จำนองเกินกว่าจำนวนเงินจำนองอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้อื่นที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองส่วนที่อยู่นอกเหนือจากความรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ดังนั้นผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองในที่ดินแปลงอื่นจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองอีกแปลงหนึ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดมาก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเจ้าหนี้จำนองหาได้ไม่
ผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองจนเป็นหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์จำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องตามจำนวนทุนทรัพย์ คงเสียเพียงค่าคำร้อง 20 บาท การที่ศาลล่างมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แม้ผู้ร้องจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองจนเป็นหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์จำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้องตามจำนวนทุนทรัพย์ คงเสียเพียงค่าคำร้อง 20 บาท การที่ศาลล่างมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง แม้ผู้ร้องจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: การคิดคำนวณค่าบริการ, ค่าป่วยการ, และการกำหนดจำนวนเงินที่เหมาะสม
แม้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกค่าจ้างว่าความตามปริมาณและระยะเวลาการทำงาน แต่โจทก์ก็ได้แนบเอกสารท้ายฟ้องแสดงรายการค่าจ้างว่าความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าป่วยการเป็นเงินรวม 249,440 บาท ให้จำเลยทราบ จึงเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาตามฟ้อง ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โจทก์มีตัวโจทก์เบิกความประกอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันสมเหตุสมผล มีน้ำหนักน่าเชื่อยิ่งกว่าพยานจำเลยซึ่งมีแต่เพียงพยานบุคคลเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน รูปคดีฟังได้ว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความแก้ต่างให้แก่จำเลย ค่าบริการเมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นค่าบริการอะไรในส่วนไหนศาลย่อมไม่กำหนดเงินในส่วนนี้ให้ สำหรับค่าสินจ้างว่าความที่โจทก์เรียกมาเป็นเงิน 200,000 บาท นั้น ปรากฏว่าในคดีที่จำเลยถูกธนาคารฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อนมากนัก และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ว่าความโดยต้องซักถามพยานเป็นข้อยุ่งยากและโจทก์ต้องไปแสวงหาพยานหลักฐานโดยยากลำบากแต่อย่างใดสมควรกำหนดสินจ้างว่าความตามส่วนของงานที่ทำไปเป็นเงิน 80,000 บาทส่วนค่าป่วยการนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า"ป่วยการ" หมายถึงเสียงานเสียการ และ "ค่าป่วยการ" หมายถึงเรียกค่าชดเชยการงานเวลาที่เสียไปการที่โจทก์เดินทางไปว่าความต่างจังหวัดเป็นการเดินทางไปทำงานในหน้าที่ของทนายความโดยตรงจะเรียกว่าเป็นการเสียงานเสียเวลาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องยักยอกทรัพย์: ฟ้องสมบูรณ์แม้ไม่ระบุจำนวนเงิน หากจำเลยต่อสู้ได้
ฟ้องของโจทก์ซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอก แม้จะมิได้อ้างในคำฟ้องว่าเงินที่ผู้เสียหายมอบให้แก่จำเลยเป็นเงินมัดจำซื้อบ้านจำนวนเท่าใด ต่อเติมบ้านจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ก็ถือเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ หากจำเลยเห็นว่าเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยจำนวนดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้างที่ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยต่อเติมบ้านให้ผู้เสียหาย จึงเป็นเงินของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งสามารถนำสืบหักล้างได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องยักยอกทรัพย์ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ชัดเจน การพิสูจน์ข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณา
ฟ้องของโจทก์ซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกแม้จะมิได้อ้างในคำฟ้องว่าเงินที่ผู้เสียหายมอบให้แก่จำเลยเป็นเงินมัดจำซื้อบ้านจำนวนเท่าใด ต่อเติมบ้านจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ก็ถือเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ หากจำเลยเห็นว่าเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยจำนวนดังกล่าวเป็นเงินค่าจ้างที่ผู้เสียหายว่าจ้างจำเลยต่อเติมบ้านให้ผู้เสียหาย จึงเป็นเงินของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดก็เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งสามารถนำสืบหักล้างได้ในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวคดีเช็ค และผลบังคับใช้สัญญาประกันเกินอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดย มีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค เมื่อผู้ต้องหาออกเช็คเป็นความผิดจำนวนเงิน 93,000 บาท จำเลยเป็นผู้ขอประกัน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงิน 93,000 บาท การที่พนักงานสอบสวนกำหนดจำนวนเงินให้ผู้ประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน 200,000 บาทซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็ค เป็นการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน จึงใช้บังคับผู้ประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือ 93,000 บาท ตามจำนวนเงินในเช็ค