คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเหรียญกษาปณ์เพื่อการค้า: เกณฑ์ 'มีไว้ไม่มากเกินสมควรและจำเป็น'
จำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าขายข้าวสาร เครื่องกระป๋องและของเบ็ดเตล็ดบางวันขายของได้สตางค์ 10 บาทกว่ามีเหรียญกษาปณ์ชนิดสตางค์ห้าและสตางค์สิบรวมราคา 53 บาทและเหตุเกิดก่อนประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเงินตราในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2484 พ.ศ.2486 ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยมีไว้ไม่มากเกินสมควรและจำเป็นอันจะถือว่ามีไว้เพื่อการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่นอกประเทศ: คำร้องต้องระบุรายละเอียดการจัดการเป็นกิจจะลักษณะ
ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องทำ+ตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่นั้นถ้าไม่ระบุในคำร้องอ้างสิ่งที่ขอทำเป็นกิจจะลักษณะแล้วศาลต้องยกคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81-82/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: จำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตเมื่อถูกประจัญหน้าด้วยอาวุธ
ผู้ร้ายวิ่งเงื้อมีดเข้ามาจะทำร้ายจำเลยซึ่งได้รับหน้าที่จากผู้ใหญ่บ้านให้ไปคอยครวจตราคนร้ายในท้องที่ในระยะห่างกัน3 วาจำเลยจึงยิงตายนั้นถือว่าเป็นการจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีจากเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำโดยจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้าย
ระหว่างที่ตำรวจควบคุมตัวจำเลยไป ตำรวจได้ทำร้ายจำเลยจนถึงบาดเจ็บและจำเลยต้องหนีไปเพราะเหตุนี้แล้ว จำเลยไม่มีความผิดตาม ม.163

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันชีวิตและทรัพย์สินด้วยกำลัง: การกระทำโดยจำเป็นเพื่อป้องกันการลักทรัพย์ที่นำไปสู่การต่อสู้และเสียชีวิต
อย่างไรเป็นการกระทำโดยจำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตแลทรัพย์สมบัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและทรัพย์สิน: เหตุแห่งความจำเป็นและสมควรแก่เหตุ
อย่างไรเรียกว่าป้องกันทรัพย์แลชีวิตพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13826/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉิน: การรักษาที่โรงพยาบาลนอกสิทธิเมื่อจำเป็นต่อการช่วยชีวิต
การที่แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์มีอาการป่วยเจ็บหนักเข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน สมควรเข้ารับการผ่าตัดทันที แต่แพทย์ยังไม่ได้ผ่าตัดในขณะนั้นทันทีเพราะต้องทำการตรวจสอบตามขั้นตอนของการเตรียมการเพื่อความปลอดภัยของการผ่าตัด และทำการผ่าตัดในวันรุ่งขึ้นเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าผ่าตัดได้แล้ว ระยะเวลาการเตรียมการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัดย่อมอยู่ในระยะเวลาที่ต่อเนื่องกับความฉุกเฉินที่จะต้องผ่าตัดทันทีและย่อมมีต่อเนื่องตลอดมา การที่จะให้โจทก์ซึ่งป่วยเจ็บหนักเช่นนี้มีความคิดที่จะเปลี่ยนเป็นเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การที่โจทก์เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลนนทเวชจึงมีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถไปรับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์เหตุผลความจำเป็นทางธุรกิจ และไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับทักษะลูกจ้าง
จำเลยทั้งสามทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2548 ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายเอกสาร ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2546 จำเลยทั้งสามมีหนังสือเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2547 เนื่องจากจำเลยทั้งสามมีความจำเป็นต้องลดรายจ่ายหรือตัดทอนรายจ่ายลง โดยอ้างว่าการเลิกจ้างเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง ซึ่งตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าว คือ สัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 หรือ ล.7 ที่ระบุว่า "การสิ้นสุดสัญญาจ้างอาจจะเกิดขึ้นได้ก่อนวันสิ้นสุดสัญญาตามข้อตกลงเนื่องจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือหลายเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (ก) การตัดทอนรายจ่าย - การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การใช้ทักษะของลูกจ้าง" ดังนั้น การเลิกจ้างโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่าจำเลยทั้งสามไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การใช้ทักษะในการทำงานของโจทก์ อีกทั้งจะต้องปรากฏว่ากรณีการเลิกจ้างดังกล่าวมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างด้วย ซึ่งศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามประสบปัญหาด้านการเงินจึงต้องลดค่าใช้จ่ายและไม่สามารถหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับค่าจ้างให้โจทก์ต่อไปได้ การที่จำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่กรณีที่ขาดตำแหน่งที่เหมาะสมกับทักษะการทำงานของโจทก์ เป็นแต่เพียงขาดตำแหน่งที่เหมาะสมกับค่าจ้างของโจทก์ และการเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยทั้งสามประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ก็ยังไม่ปรากฏว่าประสบปัญหาเพียงใด ถึงขนาดมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ และตามหนังสือเลิกจ้างให้เหตุผลในการเลิกจ้างโจทก์ คือ ตามแผนการตัดทอนค่าใช้จ่าย ดังนั้น การจะพิจารณาว่าที่จำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องให้ได้ข้อเท็จริงว่า จำเลยทั้งสามประสบปัญหาด้านการเงินเพียงใด มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ มีแผนการตัดทอนค่าใช้จ่ายอย่างไร ได้ดำเนินการตามแผนการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร และจำเลยทั้งสามขาดตำแหน่งที่เหมาะสมแก่ทักษะการทำงานของโจทก์หรือไม่ อย่างไร อันเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้วินิจฉัยข้อกฎหมายว่า การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว แล้วดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนในการดำเนินคดี: การมอบอำนาจให้ตั้งทนายความเป็นอำนาจจำเป็นในการดำเนินคดี
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดีได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นหรือความสมควร หากไม่มีเหตุผลเพียงพอ แม้จ่ายค่าชดเชยก็ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จากเหตุปรับโครงสร้างองค์กรของจำเลยฝ่ายสนับสนุนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจ 3 ปี โดยอ้างว่าเพื่อแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยประสบภาวะความจำเป็นหรือขาดทุนจนถึงกับต้องเลิกจ้างโจทก์ อีกทั้งงานในส่วนที่จำเลยรับผิดชอบยังมีอยู่ เพียงแต่จำเลยมอบหมายให้บุคคลอื่นรับผิดชอบแทน ประกอบกับไม่ได้ความชัดเจนว่าจำเลยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหรือประเมินให้คะแนนในการเลิกจ้างโจทก์อย่างไร ดังนั้นแม้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์แล้ว การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพออยู่นั่นเอง การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 5