พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรม: รับของโจรกับฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอมเป็นคนละกรรมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแยกเป็น 3 ข้อ คือ ก,ขและค การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง สำหรับความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามฟ้องข้อ กและข นั้น จำเลยทั้งสองรับสารภาพฐานรับของโจรความผิดฐานรับของโจรสำเร็จเมื่อจำเลยทั้งสองรับเอาบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไว้ โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบัตรเครดิตดังกล่าวได้มาจากการลักทรัพย์ โจทก์ฟ้องในข้อ ค.ว่าหลังจากกระทำความผิดตามฟ้องข้อกและขแล้วจำเลยทั้งสองได้นำบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไปซื้อสินค้าที่ร้าน ซ. โดยร่วมกันหลอกลวงพนักงานขายว่าจำเลยที่ 1 ชื่อ ด. จำเลยทั้งสองได้ชำระราคาสินค้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของ ด. ลงในเอกสารสิทธิบันทึกการขายในช่องลายมือชื่อผู้ถือบัตรแล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบันทึกการขายดังกล่าวแก่พนักงานขายของร้าน ซ. การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ ค. เป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดฐานรับของโจรทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานรับของโจรเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดในฟ้องข้อ ค เป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อจากร้าน ซ. คือ โทรทัศน์สีและเครื่องเล่นวีดีโอเทปฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นผู้อื่น: การหลอกลวงโดยใช้เอกสารเท็จและข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ
การที่จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ระบุชื่อ ส. และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของส. ซึ่งเลอะเลือนมองเห็นไม่ชัดเจนมาแสดงต่อผู้เสียหายเพื่อขอกู้ยืมเงิน ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยคือ ส. เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่แท้จริง จึงตกลงให้จำเลยกู้ยืมเงินไปนั้น เป็นความผิดฐานฉ้อโกงผู้อื่นโดยการแสดงตนเป็นคนอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีเจตนาทุจริตและผู้เสียหายต้องไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิดเอง การฟ้องต้องมีอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 นั้น ผู้กระทำต้องสมคบกันเพื่อกระทำความผิด โดยร่วมคบคิดกันหรือแสดงออกซึ่งความตกลงจะทำความผิดร่วมกัน เช่น ประชุมหรือหารือวางแผนที่จะกระทำความผิด และตามมาตรา 212บัญญัติให้เอาความผิดแก่ผู้จัดหาที่ประชุมหรือที่พำนักให้แก่ซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงองค์ประกอบของความผิดฐานเป็นซ่องโจรให้เห็นเด่นชัดว่าจะต้องมีการคบคิดประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อกระทำความผิด ซึ่งมีสภาพเป็นการกระทำระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่า มีการคบคิดกันจะกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายสมัครใจที่นำเงินมาเพื่อร่วมกับจำเลยทั้งสองและ ว. เล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. ตามที่บุคคลทั้งสามชักชวนผู้เสียหาย เพราะ ว. ได้แสดงการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดู ตลอดจนจำเลยที่ 2 ก็สอนวิธีการโกงพนันกำถั่วให้ผู้เสียหายดูจนผู้เสียหายแน่ใจว่าสามารถเล่นพนันกำถั่วโกง ท. ได้ ทั้งผู้เสียหายก็อยู่ในห้องเกิดเหตุตลอดเวลาที่เล่นการพนันกัน การที่ผู้เสียหายนำเงินมามอบให้จำเลยทั้งสองกับพวกเล่นการพนันกำถั่วเพื่อโกง ท. จึงเชื่อได้ว่าผู้เสียหายสมัครใจเข้าร่วมเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10617/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสาร การใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง: ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยทำสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาแบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือมอบอำนาจเป็นเพียงเอกสารซึ่งผู้มอบอำนาจมอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทน มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิ ทั้งมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการ ส่วนสำเนาแบบคำขอโอนและรับโอนทะเบียนรถยนต์แม้จะเป็นแบบพิมพ์ของกรมการขนส่งทางบก แต่ก็เป็นแบบพิมพ์สำหรับผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนและรับโอนรถยนต์นำไปกรอกข้อความลงไปได้เอง แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนเท่านั้น มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการ อีกทั้งมิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 266 (1) และใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (1) จำเลยคงมีความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก กระทงหนึ่ง , มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก และ 341 ที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนโดยมิได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226-5227/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษฐานฉ้อโกงจัดหางาน แม้ไม่เข้าฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าชดใช้
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี เป็นบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำผิดและโทษไว้เป็นการเฉพาะ มิได้อาศัยฐานความผิดอื่นฐานใดฐานหนึ่งในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี ได้แม้จำเลยมิได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,80
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 80,000 บาทศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในเรื่องนี้จึงไม่มีอำนาจสั่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายทั้งสองนั้นแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343 และข้อหาจัดหางานให้คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และยกฟ้องความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดทั้งสองฐานจึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยกระทำผิดสองฐานนี้อีกไม่ได้ และเมื่อฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์นายจ้างโดยใช้เอกสารเท็จ: การกระทำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่ธนาคารโจทก์ร่วมยอมให้มีการโอนเงินไปตามเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยกระทำ มิได้ขึ้นอยู่กับข้อความในเอกสารเป็นความจริงหรือความเท็จ แต่เป็นเพราะเอกสารใบถอนเงินที่จำเลยได้รับมอบอำนาจให้กระทำได้มีรายการครบถ้วนและมีลายมือชื่อกับรหัสประจำตัวของจำเลย การอนุมัติให้มีการโอนเงินออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการที่จำเลยหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความในเอกสารอันเป็นเท็จ การที่จำเลยทำเอกสารใบถอนเงิน โดยมีข้อความอันเป็นเท็จแล้วเสนอไปตามขั้นตอนเพื่อให้มีการอนุมัติโอนเงินตามเอกสารนั้น จึงเป็นเพียงวิธีการที่จะทำให้จำเลยเอาเงินของโจทก์ร่วมออกไปจากบัญชีของโจทก์ร่วมโดยทุจริต มิใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ฉ้อโกง, และการกำหนดโทษสำหรับความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าร้านค้า โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบกิจการอยู่ในร้านค้านั้น ต่อมาจำเลยที่ 3 เป็นผู้นำใบบันทึกการขายปลอมรวม 4 ฉบับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใบบันทึกการขายปลอมจำนวน 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมได้โอนเงินให้แล้ว ส่อแสดงให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องกันในกิจการร้านค้าที่จำเลยที่ 1 ทำการค้าขายอยู่นั้นด้วย ในการนำใบบันทึกการขายและใบสรุปยอดการขายบัตรเครดิตไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คงมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 หมุนเวียนกันไปโดยไม่มีบุคคลอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาในคดีร่วมกันปลอมและใช้บัตรเครดิตและใบบันทึกการขายอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกง โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ต้องหาดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการปลอมและใช้บันทึกการขายปลอม และมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันปลอมใบบันทึกการขายรวม 25 ฉบับ ของผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมต่างรายกัน โดยสภาพของการกระทำจำเลยทั้งสามต้องทำใบบันทึกการขายดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยทั้งสามปลอมใบบันทึกการขายฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้วกระทงหนึ่ง การปลอมใบบันทึกการขายของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหลายกรรมเป็น 25 กระทง
ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอกสารสิทธิปลอมไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตามเนื้อความของเอกสารสิทธิปลอมแต่ละฉบับนั้น การนำเอกสารสิทธิหลายฉบับไปใช้ก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนเอกสารสิทธิที่นำไปใช้ได้ แม้จะนำเอกสารสิทธิปลอมหลายฉบับนั้นไปใช้ในคราวเดียวกันก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำในใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปยื่นต่อโจทก์ร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 เมษายน 2537 และระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2537 ถึงวันที่ 1 เมษายน 2537 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนานำใบบันทึกการขายปลอมรวม 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ร่วม ซึ่งน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมตามเนื้อความของใบบันทึกการขายปลอมแต่ละฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมหลายกรรมรวม 25 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ เป็นคนละกรรมกัน แม้ศาลยกฟ้องฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ หลุดไปด้วย
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งยังได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศอันเป็นเท็จ จนเป็นเหตุให้ได้เงินหรือทรัพย์สินจากคนหางานนั้น เป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยในความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตตั้งแต่แรกเป็นสำคัญ: ลักทรัพย์ vs ฉ้อโกง และการพิจารณาลดโทษจากค่าชดใช้
จำเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวกมีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปตั้งแต่เบื้องต้น ส่วนการหลอกลวงว่าจะรับซื้อที่ดินจำนวนมากก็ดี หรือการหลอกลวงว่าจะพาไปซื้อรถยนต์ราคาถูกก็ดี ล้วนเป็นการสร้างกลอุบายเพื่อให้บรรลุผลเอาเงินสดของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่