พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำของจำเลยที่ช่วยให้ผู้เสียหายเชื่อถือคำหลอกลวงของสามี
สามีจำเลยได้ประกาศชักชวนหลอกลวงประชาชนในหมู่บ้านว่าสามารถจัดหางานให้ไปทำที่ประเทศสิงค์โปร์ได้ เมื่อผู้เสียหายมอบเงินให้สามีจำเลย จำเลยก็นั่งอยู่ด้วย สามีจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้วส่งให้จำเลย จำเลยรับเงินไว้และพูดว่าหากไม่ได้ไปจะคืนเงินให้แสดงว่าจำเลยรู้ว่าความจริงสามีจำเลยไม่สามารถพาพวกผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ การที่จำเลยรับเงินและพูดดังกล่าวจึงเป็นการพูดสนับสนุนให้พวกผู้เสียหายเชื่อในคำชักชวนของสามีจำเลยยิ่งขึ้นอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่สามีจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกงประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและการล้มละลายเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยขายหุ้นหรือทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป โดยตกลงทยอยซื้อคืนเป็นงวดรายเดือนและให้กำไรเป็นเงินสองเท่า เป็นการซื้อหรือทำสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกำไรเป็นสองเท่าโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุน หาใช่เป็นการซื้อหุ้นเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะต้องร่วมในการขาดทุนด้วย ดังบริษัททั่วไป หรือทำสัญญาเพื่อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยไม่ ดังนั้นการขายหุ้นและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินของจำเลยก็คือการรับเงินโดยผู้กู้ยืมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมอันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายใน พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 และเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พนักงานอัยการโจทก์ดำเนินคดีเองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความศาลย่อมไม่กำหนดค่าทนายความให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจากธุรกิจจัดหางาน จำเลยมีส่วนร่วมรับรู้และจัดการเอกสาร
จำเลยเป็นภริยาของ จ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งโจทก์ระบุว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลย แม้จำเลยจะมิได้หลอกลวงให้ผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานยังต่างประเทศกับ จ.ก็ตาม แต่ในวันสมัครงานจำเลยก็เข้ามาจัดการตรวจดูเอกสารที่ผู้เสียหายยื่นประกอบใบสมัครงานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ โดยมีจ. เป็นผู้รับเงินค่าบริการ สถานที่รับสมัครงานก็คือสำนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย ที่พักอาศัยของ จ. และจำเลยก็อยู่ด้านหลังสำนักงานนั้นเอง จำเลยจึงย่อมทราบว่ามีคนไปสมัครงานกับ จ. เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ไปทำงานยังต่างประเทศและมาติดตามเรื่อง จำเลยก็รับทำหน้าที่แทน จ.และพยายามหาเงินใช้คืนผู้เสียหาย ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยร่วมรับรู้ถึงการทำงานของ จ. มาโดยตลอด ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกับ จ. ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่ชำระหนี้และการฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาหลอกลวงแต่ไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยที่ 1 ได้เปิดกิจการรับซื้อใบยาสูบที่โกดังของจำเลยที่ 1โดยแอบอ้างขึ้นป้ายโฆษณาว่าเป็นสถานที่รวบรวมใบยาสูบของบริษัทบ. มีจำเลยที่ 4 ออกทุนให้ดำเนินการแล้วรวบรวมใบยาสูบส่งไปให้ส.กับพวกนำไปขายแก่บริษัทบ.ในโควตาของจำเลยที่ 5ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไม่เคยค้างชำระค่าใบยาสูบแก่ผู้ขายรายใดผู้เสียหายได้ปลูกใบยาสูบโดยไม่ชอบและได้นำไปขายที่โกดังของจำเลยที่ 1 โดยรู้ดีว่าไม่ใช่สถานที่รับซื้อใบยาสูบของบริษัท บ.แต่ไม่ได้รับชำระค่าใบยาสูบจากจำเลยที่ 1 เพราะ ส. ยังขายใบยาสูบของผู้เสียหายไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้เพียงว่า จำเลยแอบอ้างชื่อบริษัท บ. ใช้โฆษณาเพื่อให้ประชาชนนำใบยาสูบมาขายให้เท่านั้น จำเลยหาได้มีเจตนาจะไม่ชำระค่าใบยาสูบอันจะถือว่าเป็นการกระทำโดยทุจริตแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนซึ่งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ไม่ได้ฎีกาให้ไม่ต้องรับโทษด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs. ฉ้อโกงประชาชน: การเช่าพระเครื่องแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ และความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหาย 4 คนได้ทราบว่าที่วัด พ. มีพระเครื่องซึ่งเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้เช่าบูชา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นผู้นำออกให้เช่าผู้เสียหายทั้งสี่จึงไปเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับรองว่าพระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งความจริงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวและไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โฆษณาให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการให้เช่าพระเครื่อง หากเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายทั้งสี่ทราบข่าวมาเองแล้วมาติดต่อขอเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการให้เช่าพระเครื่องส่วนหนึ่งไปปรับปรุงซ่อมศาลากรรมฐานของวัดดังกล่าว แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการร้ายแรงนำความเสื่อมเสียมาสู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและพุทธศาสนาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนต้องหลอกลวงบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง การจัดหางานต้องมีเจตนาจัดหางานจริง
คำว่า "ประชาชน" ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หมายถึง บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด และไม่ถือจำนวน มากน้อยเป็นสำคัญจำเลยหลอกลวง ว. แล้ว ว.พาจำเลยไปหาช.จำเลยจึงหลอกลวงช. แม้เหตุการณ์ในบ้านของจำเลยจะมีคนอื่นอยู่ด้วยอีกสองคน ก็ไม่ใช่บุคคลทั่วไป ตามความหมายของกฎหมายบทนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณา แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. เป็นผู้ดำเนินงานจัดหางานให้คนงานไปทำงานยังต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่มีเจตนาที่จะส่งคนไปทำงานต่างประเทศ และไม่สามารถจัดหางานแก่คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และข้อเท็จจริงคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการ จัดหางานให้คนหางานได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ แสดงว่าจำเลย มิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้าง ข้อความเท็จเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานจริงหรือไม่? ศาลตัดสินคดีฉ้อโกงประชาชน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำการโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าจำเลยสามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายและประชาชนไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนผู้ประสงค์จะไปทำงานในประเทศมาเลเซียได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะจัดหางานดังกล่าวอย่างจริงจังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใดจำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกงประชาชนที่ขัดแย้งกับข้อหาจัดหางานเถื่อน ศาลพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่า ความจริงจำเลยกับพวกมิได้มีความสามารถในการจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายและประชาชนดังที่โฆษณากล่าวอ้างเลยแสดงว่าจำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30, 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนและ พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว แต่ผิดหลายบท
จำเลยทั้งสองกับพวกจัดตั้งบริษัทขึ้นและหลอกลวงประชาชนโดยกระทำต่อเนื่องกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนมอบเงินให้จำเลยทั้งสองกับพวกคนละคราวกัน ก็ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 กระทงหนึ่ง และเมื่อพ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงกระทำผิดต่อไปอีก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4, 5, 12 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว อีกกระทงหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้