คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) กฎหมายบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง ว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงเป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71 (1) การกระทำของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่งระบุว่า บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และในวรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่มให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 69 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8910/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการแก้ไขคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมาย
ขณะศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ทั้งคำฟ้องและหมายเรียกคดีแพ่งสามัญศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ชัดเจน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากไม่พบหรือไม่มีผู้รับแทนโดยชอบให้ปิดหมายและเจ้าหน้าที่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ทนายจำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนด ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้โดยชอบและคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าหมายเรียกที่ส่งพร้อมสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจะต้องระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้เช่นกัน จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์หาได้ไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำให้การของจำเลยไม่ว่าจะในวันที่จำเลยยื่นคำให้การหรือในวันหลังจากนั้นและได้นัดสืบพยานโจทก์ตามที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ลบล้างวันนัดสืบพยานโจทก์ที่กำหนดไว้ในคำฟ้องและหมายเรียก จำเลยย่อมไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยหรือทนายจำเลยไม่ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจึงเป็นการขาดนัดพิจารณา
โจทก์อ้างเหตุขอแก้ไขคำฟ้องว่าโจทก์พิมพ์ข้อความจำนวนสตางค์ผิดพลาด จึงขอแก้ไขจำนวนสตางค์ให้ตรงกับความจริงตามเอกสารท้ายฟ้อง อีกทั้งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้โดยไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้าเพื่อให้โอกาสจำเลยมีโอกาสคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่และเหตุการณ์ต่อเนื่องที่ทำให้เกิดอันตราย
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่มิให้กลุ่มวัยรุ่นกลุ้มรุมทำร้าย ถ. เมื่อจำเลยยิงปืนขึ้นฟ้านัดที่ 3 แล้ว ได้มีกลุ่มวัยรุ่นเข้ามาทุบที่ด้านหลังของจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยล้มลงและกระสุนจากอาวุธปืนที่จำเลยถืออยู่ได้ลั่นขึ้น 1 นัด ถูกผู้เสียหายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาได้รับอันตรายแก่กายและถูกผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ดังกล่าวถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน จึงย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนและของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ แม้การกระทำของจำเลยก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้เสียหายและผู้ตายโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 60 จำเลยก็ไม่มีความผิดเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติดด้วยสายลับชอบด้วยกฎหมาย หากมีเหตุผลจำเป็นและแสวงหาหลักฐานอย่างถูกต้อง
การใช้สายลับช่วยล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นเพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยตามอำนาจใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมด้วยพยานหลักฐาน ดังนี้ การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ จึงมิใช่เป็นการใช้ให้ไปกระทำความผิดและแม้จะไม่ได้นำตัวสายลับมาเป็นพยานในชั้นศาลเนื่องจากเพื่อประโยชน์แก่ราชการในภายหน้าหรือเพื่อความปลอดภัยของสายลับก็ตาม ย่อมอยู่ในดุลพินิจของโจทก์ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าพยานหลักฐานที่นำสืบมาเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้แล้ว ก็หาจำต้องนำตัวสายลับดังกล่าวมาเป็นพยานในชั้นศาลด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลล่างสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง มิใช่ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดีตามจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 200 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 1 ข้อ (2)(ข)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์และปิดประกาศโฆษณาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์ประพฤติชั่ว ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำละเมิด และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดีทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีนี้ เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนอง: แม้เลขโฉนดผิดพลาด แต่หากจำเลยไม่โต้แย้งถือว่าเป็นการบอกกล่าวที่ชอบแล้ว
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่าหนังสือบอกกล่าวจะต้องมีรายการอะไรบ้าง เพียงแต่บัญญัติไว้กว้าง ๆ ว่า เมื่อจะบังคับจำนองผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าว หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง เพียงมีข้อความให้ผู้จำนองเข้าใจได้ว่าถูกบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดรวม 8 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ และโจทก์ฟ้องหนี้เงินกู้รายนี้กับขอให้บังคับจำนองที่ดินรวม 8 โฉนด พร้อมแนบสำเนาหนังสือจำนอง และสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องด้วย สำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องนั้นตรงกับสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองเอกสารหมาย จ.11 ระบุเลขโฉนดที่ดินจำนองผิดไป คงบอกถูกเพียงฉบับเดียวคือ โฉนดเลขที่ 27641 เท่านั้น แต่อ้างถึงสัญญากู้ที่จำเลยกู้ไปถูกต้อง ชั้นให้การต่อสู้คดีจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การให้เป็นประเด็นแต่ประการใดเลยว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบเพราะเหตุที่ว่ามิได้บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลง คงสู้แต่เหตุอื่นคือ ผู้ลงนามในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ เพราะไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากโจทก์ให้มีอำนาจทำหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายแทนโจทก์ ถือว่าโจทก์ยังมิได้มีการบังคับจำนอง แสดงว่าจำเลยเข้าใจได้ดีว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่จำนองไว้ หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ถือว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินแปลงอื่นอีก 7 แปลง ที่จำนองไว้ รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 27641 โจทก์ย่อมบังคับจำนองเอากับที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยครบทุกประเด็นข้อต่อสู้ จำเลยฎีกาไม่ขึ้น จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยมีข้อต่อสู้รวม 16 ประเด็น แต่คดีไม่มีการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นจึงนำประเด็นต่าง ๆ ในคำให้การของจำเลยบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกันมาวินิจฉัยรวมกันเป็น 9 ประเด็น โดยมิได้วินิจฉัยเรียงตามประเด็นในคำให้การของจำเลย ซึ่งจำเลยก็อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้ง 9 ประเด็น และขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่อ้างว่าขาดไป 7 ประเด็นด้วย ศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยโดยยกประเด็นที่เห็นว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยขึ้นมาวินิจฉัยให้ก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และในตอนท้ายศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าสำหรับอุทธรณ์นอกจากนี้ของจำเลยไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้แสดงว่าเมื่อจำเลยอุทธรณ์ตามข้อต่อสู้ในคำให้การทั้ง 16 ประเด็นศาลอุทธรณ์ก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนหนึ่งประเด็น เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีและศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย จากนั้นได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาวินิจฉัยจนครบถ้วนทุกประเด็น และได้ตรวจวินิจฉัยอุทธรณ์ที่เหลือแล้วเห็นว่าไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยครบทั้ง 16 ประเด็น ตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) จึงไม่มีเหตุให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ประมูลเพียงคนเดียว และการปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้ประกาศขายทอดตลาดให้ประชาชนทั่วไปทราบแล้ว ทั้งได้แจ้งส่งประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยทราบและจำเลยได้มาดูแลขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยด้วยการที่มีโจทก์เข้าประมูลสู้ราคาเพียงคนเดียว ก็มิทำให้การขายทอดตลาดครั้งนี้เสียไป
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แสดงอาการเคาะไม้เมื่อตกลงขายทรัพย์ให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยที่มาดูแลการขายก็รู้ว่าได้มีการตกลงขายทรัพย์ให้แก่โจทก์แล้วและจำเลยก็มิได้คัดค้านขณะนั้น แม้แท่งไม้ที่ใช้เคาะเป็นไม้เล็ก ๆ มิได้เกิดเสียงดังมากให้ได้ยินกันทั่วห้องที่ทำการขายทอดตลาดเช่นที่จำเลยฎีกาก็ตาม ก็ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะผู้ทอดตลาดได้ปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 509 แล้ว
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯ ข้อ 81 กำหนดให้เจ้าพนักงานผู้ขายปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาด ก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่สนใจ จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ทราบว่าสถานที่แห่งนั้นมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินกันเท่านั้น เมื่อผู้สนใจที่จะเข้าประมูลสู้ราคารู้สถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาดดีแล้ว แม้การขายทอดตลาดนั้นผู้ทอดตลาดมิได้ปักธงสัญลักษณ์การขายทอดตลาดก็มิได้หมายความว่า จะทำให้การขายทอดตลาดนั้นต้องเสียไปแต่อย่างใด เพราะระเบียบของกระทรวงยุติธรรม ดังกล่าวมิใช่กฎหมาย ดังนั้น แม้ธงสัญลักษณ์การขายทอดตลาดจะปัก อยู่ ที่หน้าห้องสมุดของศาลซึ่งเป็นคนละอาคารกับสำนักงานบังคับคดี ที่ทำการขายทอดตลาดก็ตามแต่อาคารทั้งสองแห่งก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน ทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ได้ความว่าการที่ไม่มีธงสัญลักษณ์ปักอยู่ที่ สำนักงานบังคับคดีที่ทำการขายทอดตลาดนั้นเกิดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี มีเจตนาทุจริตอย่างไร การอ้างเพียงไม่มีธงสัญลักษณ์ปักไว้ที่ทำการ ขายทอดตลาดเท่านั้น ไม่พอที่จะฟังว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาลักทรัพย์ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ชอบ แม้ไม่ได้โต้เถียงดุลพินิจพยาน
แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังคำเบิกความของ จ. และ ว. ประจักษ์พยานโจทก์ว่ามีข้อพิรุธหรือไม่น่าเชื่อถืออย่างไรแต่การที่จำเลยอุทธรณ์โดยกล่าวว่าการที่ ป. ได้โยนถาดทองเหลืองออกมาจากกุฏิของผู้เสียหายเพื่อให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเกรงกลัว และเพื่อที่จะเปิดทางหลบหนีไป ทั้งเมื่อ ป. หลบหนีไปก็มิได้มาเอา ถาดทองเหลืองนั้นไปด้วย ป. มิได้มีเจตนายึดถือเอาถาดทองเหลือง เป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ป. จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ทำให้จำเลยซึ่งร่วมไปกับ ป. ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ไปด้วยนั้น ย่อมเห็นได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่ง นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธโดยนำสืบอ้างฐานที่อยู่จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์ ในข้อนี้ได้ หาใช่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแต่ประการใดไม่
of 51