พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7033/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องชำระบัญชี
โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่1และที่2กับฉ.ดำเนินการทำสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมโจทก์ทั้งห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์ที่3ถึงที่5มิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่3ถึงที่5ไม่ได้และข้อความตามสัญญาแบ่งคืนทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฎในสัญญาเป็นของผู้ใดในขณะทำสัญญาก็คงให้เป็นของผู้นั้นสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสองตกลงให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันไม่จำต้องชำระบัญชีกันอีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลหลังเลิกห้าง: ภูมิลำเนาผู้ชำระบัญชีและสำนักงานเดิม
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่422 ซอยสันติสุข ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26พฤษภาคม 2535 การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2537 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยขณะยื่นฟ้องผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ และจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครพนม ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างและชำระบัญชีเสร็จแล้วถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประกอบกิจการต่อไป จึงถือเอาสำนักงานใหญ่เดิมเป็นภูมิลำเนาหรือที่ประกอบธุรกิจในขณะยื่นฟ้องมิได้ กรณีนี้จำเลยที่ 1 คงมีได้แต่เพียงภูมิลำเนาเฉพาะการ คือภูมิลำเนาของผู้ชำระบัญชีซึ่งปรากฏว่าอยู่นอกเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างและเสร็จการชำระบัญชีเกินกว่า 1 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการเป็นนิติบุคคลหลังเลิกบริษัท สิทธิในการเช่าช่วง และการโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระบัญชี
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้วแต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่ว่าจะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีโจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และอ. ได้ แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่าด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดีกำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดีหรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของด.ก็ตามล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด.ทั้งสิ้นคู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้นหาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับม.และอ. ข้อ6และข้อ7แล้วจะเห็นได้ว่าในข้อ7นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้แต่ในข้อ6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นจะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ2,000บาทดังนั้นในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงแต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่าโจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับม. และอ. อยู่ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่าการโอนสิทธิการเช่าให้ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไรแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม.เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของด.ผู้เช่าช่วงเมื่อด.ถึงแก่กรรมไปโจทก์และม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับด.ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด. เลิกกันไปเพราะความตายของด.แล้วโจทก์ยินยอมให้ม.สืบสิทธิของด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตามผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1250และ1259(2)(3)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วต้องชำระบัญชีก่อนฟ้องเรียกเงิน หากไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน มีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญเลิก: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังมิได้จัดการทรัพย์สินตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญต้องมีการชำระบัญชี หากยังไม่ได้ชำระบัญชี โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้าง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเข้าหุ้นส่วน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการชำระบัญชี
ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างจะลงหุ้นโดยชำระเงินค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการฝ่ายละครึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1026แล้วแม้ฝ่ายหนึ่งจะไม่ส่งเงินหรือทรัพย์สินตามที่ตกลงก็หาทำให้สัญญาเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเสียไปไม่ แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญาร่วมลงทุนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องบอกเลิกสัญญาเสียก่อนเมื่อจำเลยยังไม่ได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์สัญญาร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เลิกกันโจทก์จึงมีสิทธิขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: การแบ่งทรัพย์สินและกำไรต้องทำหลังชำระบัญชี
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สิน ย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามป.พ.พ. มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีทรัพย์สินก่อนเรียกร้องเงินปันผล-ส่วนแบ่ง
โจทก์จำเลยตกลงกันเข้าเป็นหุ้นส่วนค้าขายผ้าไหมเพื่อแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนของเงินลงทุน ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วนและจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ครบถ้วนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สินย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อน จึงจะทราบว่าหุ้นส่วนมีทรัพย์สินอยู่เพียงใดชอบที่โจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนก่อน และปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วนต้องชำระบัญชี การฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยไม่มีการชำระบัญชีก่อนเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกันแต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สินย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้