คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5641/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ชำระเงินก่อนรับโอน, หักกลบลบหนี้ต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษาเมื่อโจทก์เลือกที่จะรับโอนที่ดินพิพาทโจทก์จึงต้องชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา การที่โจทก์เลือกใช้วิธีถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 ในการโอนที่ดินพิพาท และโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนเองโดย จำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงด้วยนั้นย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องนอกคำพิพากษา ฉะนั้นหากโจทก์เสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจะขอหักกลบลบหนี้ทำให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่ โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอให้หักกลบลบหนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน ลำพังแต่เพียงระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมและภาษีในการโอนโดยจำเลยที่ 1 ยังโต้แย้งจำนวนหนี้อยู่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลงดจ่ายเงินค่าที่ดินตามคำพิพากษาที่วางต่อศาลให้แก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะรับเงินค่าที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาที่โจทก์วางชำระไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและค่าธรรมเนียม
แม้โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 ก็ตาม แต่สำหรับวัตถุประสงค์ในการให้บริการออกบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์นั้น สมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากร้านค้าหรือสถานบริการแทนการชำระด้วยเงินสดโดยโจทก์จะออกเงินทดรองชำระแก่เจ้าหนี้ค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังอันเป็นลักษณะการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและบริการ ส่วนการให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าวก็มีลักษณะให้เป็นบริการส่วนหนึ่งประกอบการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกของโจทก์ และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนหรือให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้า แล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมาโจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ผู้ขายต้องดำเนินการจำนองให้ผู้ซื้อก่อนชำระเงินส่วนที่เหลือ
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงานตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดจ่ายเงินที่แน่นอน
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตาม แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้าน: การชำระเงินไม่ตรงเวลา, การสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จ, และผลกระทบต่อการเลิกสัญญา
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแต่คู่สัญญาจะถือปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งการนำสืบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ชำระหนี้ตามงวดไม่ตรงเวลาที่กำหนดไม่ใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารและที่จำเลยผ่อนผันให้โดยยินยอมรับชำระไว้แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินตามงวดเคร่งครัดตามสัญญาดังนั้นเมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ยังไม่ชำระจำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387หากโจทก์ไม่ชำระจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ไม่ชำระจำเลยไม่เคยแจ้งโจทก์ให้ชำระในเวลาที่กำหนดและมิได้ปฏิบัติตามมาตรา387ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจึงไม่เลิกกัน สัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์ในวันที่โจทก์จะชำระเงินงวดสุดท้ายซึ่งตามปกติจะต้องมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ในสัญญาด้วยแต่ข้อตกลงในสัญญามีว่าเงินงวดสุดท้ายจะชำระให้ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารณสำนักงานที่ดินโดยไม่ได้กำหนดเวลาการปลูกบ้านให้แล้วเสร็จไว้ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องปลูกบ้านในที่ดินให้แล้วเสร็จและพร้อมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระงวดสุดท้ายได้แม้โจทก์จะขอชำระในงวดที่10ก่อนงวดสุดท้ายซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาชำระตามสัญญามา1ปีแต่ปรากฏว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยยังปลูกบ้านไม่แล้วเสร็จจึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือทั้งหมดได้โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนอากรขาเข้าเริ่มนับแต่วันชำระเงิน การแสดงเจตนาสำคัญผิดเป็นโมฆะ
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับโจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้วแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา87(เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้ หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีกแต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาและคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรดังนั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีนับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมที่ได้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่10กันยายน2527สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไปจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2538พ้นกำหนด10ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเช่าโดยปริยาย: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาและเจตนาของคู่สัญญา
ก่อนทำสัญญาเช่านั้นจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จแล้วเพียงแต่ยังมิได้ตบแต่งเท่านั้นโจทก์ตกลงจะชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยเป็นเงิน1,000,000บาทโดยโจทก์จะจ่ายให้ในวันจดทะเบียนการเช่าแม้ตามสัญญาเช่าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าเมื่อใดแต่โจทก์กับจำเลยยอมรับกันว่าได้ตกลงกันจะไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่5มกราคม2535ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าอีก100,000บาทกับเงินช่วยค่าก่อสร้างจำนวน1,000,000บาทให้แก่จำเลยตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่าแต่ปรากฏว่าในวันนัดจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่100,000บาทและเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยและจำเลยเองก็ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่ากันอีกต่อไปทั้งหลังจากนั้นโจทก์และจำเลยต่างปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการเช่าและมิได้เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาจนเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงวันที่11มิถุนายน2535โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขอบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่โจทก์กรณีเช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้วสัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไปฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ดังนั้นโจทก์และจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391 สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่งซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้นแต่ค่าเสียหายอื่นๆนอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การไม่ชำระเงินตามสัญญาทำให้สิทธิขาดเสีย
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่า ขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นว่า แม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลา แต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้า โดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่ 31ตุลาคม 2538 ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าว ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่า ฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ 14 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลังจากนั้น ฉ.จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้ โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 มาท้ายคำฟ้องด้วย จากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ฉ.กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามเอกสารหมาย จ.1 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเอกสารหมาย จ.1 มีข้อความระบุว่า โจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 และ ช.จะต้องนำเงินคนละ 4,400 บาท ไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 ภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และ ช.บิดาโจทก์ที่ 4 ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้ว แต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมาย จ.1 และเสนอชำระเงินคนละ4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช.จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา สำหรับโจทก์ที่ 1 แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1และที่ 2 สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 ภายในกำหนด 5 ปี บัดนี้จะครบกำหนด 5 ปีแล้ว ก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้ โจทก์ที่ 1 จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้อง โดยไม่มีข้อความว่า โจทก์ที่ 1 ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งที่ดิน: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ หากไม่ชำระเงินตามกำหนดและแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์
จำเลยทั้งห้ากล่าวในคำร้องขอขยายระยะเวลาที่ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับว่าขอความกรุณาศาลขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไปมีกำหนด30วันนับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกาทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นว่าแม้ในคำร้องของจำเลยทั้งห้าจะขอขยายระยะเวลาแต่คงมิได้หมายความถึงการขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เฉพาะเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งห้าประสงค์เพียงขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เวลาแก่จำเลยทั้งห้าโดยให้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับได้ภายในวันที่31ตุลาคม2538ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็ได้ยื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับภายในกำหนดดังกล่าวดังนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ตามคำฟ้องมีข้อความตอนหนึ่งว่าฉ.ขอยืมเงินจำเลยที่1และที่2ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วทำสัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนละ14ไร่1งานโดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ4,400บาทแก่จำเลยที่1และที่2หลังจากนั้นฉ. จึงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ต่อมาเมื่อโจทก์ทั้งสี่ทราบถึงสัญญาจึงไปขอรับชำระหนี้แต่จำเลยที่1และที่2บ่ายเบี่ยงไม่ยอมแบ่งให้โดยโจทก์ทั้งสี่ได้แนบสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1มาท้ายคำฟ้องด้วยจากถ้อยคำในคำฟ้องและสำเนาสัญญาเอกสารหมายจ.1ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าฉ. กับจำเลยที่1และที่2ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามเอกสารหมายจ.1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น สัญญาเอกสารหมายจ.1มีข้อความระบุว่าโจทก์ที่1ถึงที่3และช.จะต้องนำเงินคนละ4,400บาทไปชำระให้แก่จำเลยที่1และที่2ภายใน5ปีนับแต่วันทำสัญญาเสียก่อนแล้วจำเลยที่1และที่2จึงจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่2ที่3และช.บิดาโจทก์ที่4ซึ่งได้ทราบถึงข้อกำหนดในสัญญาแล้วแต่มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่2ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเอกสารหมายจ.1และเสนอชำระเงินคนละ4,400บาทภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาโจทก์ที่2ที่3และโจทก์ที่4บุตรของช. จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาสำหรับโจทก์ที่1แม้จะได้ไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภายในกำหนด5ปีนับแต่วันทำสัญญาเอกสารหมายจ.1ก็ตามแต่คำขออายัดดังกล่าวมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1และที่2สัญญาจะแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่1ภายในกำหนด5ปีบัดนี้จะครบกำหนด5ปีแล้วก็ยังไม่ยินยอมแบ่งให้โจทก์ที่1จึงขออายัดที่ดินพิพาทเพื่อจะไปฟ้องร้องโดยไม่มีข้อความว่าโจทก์ที่1ได้ชำระหรือเสนอจะชำระเงิน4,400บาทให้แก่จำเลยที่1และที่2ตามข้อกำหนดในสัญญาเอกสารหมายจ.1แต่อย่างใดโจทก์ที่1จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1และที่2แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3ถึงที่5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงที่ดินจากสัญญาจะซื้อจะขาย แม้สัญญาไม่เป็นหนังสือ แต่มีการชำระเงินและส่งมอบการครอบครองแล้ว
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องพิจารณาคำฟ้องตลอดทั้งเรื่อง มิใช่ถือเอาข้อความในคำฟ้องตอนใดตอนหนึ่งมาวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายใจความว่า ผ.เสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงซื้อในราคา 3,000 บาท ได้ชำระราคาให้ ผ.รับไปแล้ว และ ผ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และโจทก์ได้บรรยายข้อความต่อไปว่า ผ.รับปากว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในภายหลัง แต่แล้วก็หายหน้าไปเลย โดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ คำฟ้องดังกล่าวเห็นได้ว่า แม้ ผ.จะรับเงินค่าที่ดินไปจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ผ.ก็ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ เพียงแต่ให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง คำฟ้องดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
ผ.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริง โดยได้รับเงินค่าที่ดินพิพาทแล้วและได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาแม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อมีการชำระหนี้กันแล้วก็มีผลใช้บังคับกันได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง เมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้ ผ.จะถึงแก่ความตายแล้วกว่า 30 ปี โจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ผ.ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 และมาตรา 193/27คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
of 19