คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชิงทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 588 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระชากทรัพย์โดยไม่มีขู่เข็ญ ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นลักทรัพย์
จำเลยเพียงแต่ถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหยุดยืนอยู่ห่างผู้เสียหายประมาณ 2 เมตร และขณะที่ผู้เสียหายตกใจวิ่งหลบหนี จำเลยวิ่งไล่ตามไปจนทันแล้วกระชากสร้อยข้อมือที่ผู้เสียหายสวมอยู่จนขาดติดมือจำเลยไป โดยไม่ได้ใช้มีดจี้ขู่เข็ญหรือแสดงท่าทีให้เห็นว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้มีดแทงประทุษร้ายผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ และการที่จำเลยกระชากสร้อยข้อมือที่ผู้เสียหายสวมอยู่เป็นเพียงการลักเอาทรัพย์สินไปจากความครอบครองของผู้เสียหายเท่านั้นไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามความหมายของกฎหมายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แต่ผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธและโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8344/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาอาญา: แก้ไขบทและโทษ vs. แก้ไขเฉพาะโทษ และความผิดฐานชิงทรัพย์/ลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิตฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและลงโทษประหารชีวิตฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้หนึ่งในสามลงโทษจำคุก 33 ปี 4 เดือน และจำคุกตลอดชีวิตตามลำดับ จึงเป็นการแก้เฉพาะโทษ กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี ดังนี้ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตายตกไปตามกันอันหมายถึงให้ลงโทษประหารชีวิตซึ่งเป็นฎีกาดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ซึ่งหมายความถึงโจทก์ร่วมด้วยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคสอง
ส่วนความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนลดโทษให้คนละหนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ทั้งบทและโทษกรณีเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6724/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยขู่เข็ญและใช้ยานพาหนะหลบหนี จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ใช่กรรโชกทรัพย์
ขณะที่ผู้เสียหายทั้งสามเดินไปตามทางเท้า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดเทียบใกล้ ๆ และแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจบัตรประจำตัวและขอค้นตัวหรือตรวจหายาเสพติดให้โทษ แล้วพูดจาขู่บังคับให้ส่งมอบเงินและทรัพย์สินมีค่าแก่ตนหากขัดขืนจะยิงให้ตาย พร้อมกับทำท่าจะล้วงเอาอาวุธออกมาผู้เสียหายทั้งสามเกิดความกลัวผู้เสียหายที่ 2 กับที่ 3 จึงส่งกระเป๋าเงินให้จำเลยล้วงหยิบเอาเงินสดในกระเป๋าไป ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ถอดนาฬิกาข้อมือให้จำเลย จากนั้นจำเลยก็หลบหนีไปการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ มิใช่กรรโชกทรัพย์ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยจะเป็นผู้ล้วงหยิบเอาทรัพย์นั้นเองหรือผู้เสียหายเป็นผู้หยิบส่งให้ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดลักทรัพย์ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
เมื่อผู้เสียหายเห็นจำเลยทั้งสองกำลังลักเอามะม่วงอยู่ และกำลังจะนำมะม่วงที่เด็ดจากขั้วไว้แล้วออกไปนอกสวน ผู้เสียหายจึงเข้าจับกุมตัวจำเลยที่ 1เห็นได้ว่าเหตุการณ์ตอนนี้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยังดำเนินอยู่ไม่ขาดตอน จำเลยที่ 2 ซึ่งในตอนแรกได้วิ่งหลบหนีไปสักครู่เดียวก็กลับมาพร้อมกับถือท่อนไม้ไผ่ตรงเข้าเงื้อจะตีทำร้ายผู้เสียหาย และในทันทีนั้นได้พูดขู่ผู้เสียหายว่า "วางเมียผมเดี๋ยวนี้ หากไม่วางจะตีพ่อใหญ่ให้ตาย" ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ได้พูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยตัวจำเลยที่ 1 ให้พ้นจากการจับกุมอันเป็นการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ และการพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำผิด
คำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ จะแปลข้อความไปในทางที่เป็นผลร้ายว่า จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ใช้รถจักรยานยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กำลังประทุษร้ายต่อคนร้ายร่วมกระทำความผิด ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
การใช้กำลังประทุษร้ายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก ต้องเป็นการ ประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น มิใช่กระทำต่อคนร้ายผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากเหตุที่ทำให้ผู้กระทำผิด ได้รับโทษหนักขึ้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ถึงวรรคห้า อันได้แก่การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย ผลของการกระทำล้วนเกิดแก่ผู้อื่นทั้งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กำลังทำร้ายผู้ร่วมกระทำผิดไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ องค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์
การใช้กำลังประทุษร้ายอันจะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแรก นั้น ต้องเป็นการประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น มิใช่กระทำต่อคนร้าย ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ถีบหลังจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนร้ายร่วมกระทำความผิดด้วยกันล้มลงแม้จะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายจำเลยที่ 1 ในขณะจำเลยที่ 1 เดินตามผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคแรก
จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้ชี้มือไปทางผู้เสียหายและวิ่งตามไป แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีอาวุธใดติดตัวมาด้วยหรือแสดงอากรหรือวาจาข่มขู่ผู้เสียหาย จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์และทำให้การกระทำของจำเลยทั้งสามขาดองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง จำเลยทั้งสามคงมีความผิดฐานร่วมลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 336 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานรับฟังได้ ชี้ตัวผู้กระทำผิด พยานเบิกความสอดคล้องกัน ยืนยันความผิดฐานชิงทรัพย์
แม้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนมาเบิกความเป็นพยานในชั้นพิจารณา แต่โจทก์อ้างส่งบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนเป็นพยานโดยมีพนักงานสอบสวนผู้สอบปากคำผู้เสียหายมาเบิกความประกอบและรับรองเอกสารดังกล่าว ผู้เสียหายให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุเพียงประมาณ 2 ชั่วโมง และไปให้การทันทีหลังจากไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลแล้ว จึงไม่มีเวลาและโอกาสคิดปรุงแต่งเรื่องเพื่อกลั่นแกล้งให้การปรักปรำจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยมีสาเหตุโกรธเคืองหรือมีเหตุอื่นใดที่จะเป็นมูลเหตุจูงใจให้จำต้องให้การเช่นนั้นเชื่อว่าผู้เสียหายให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริง เมื่อพนักงานสอบสวนให้ชี้ตัวคนร้ายในคืนเกิดเหตุ ผู้เสียหายก็สามารถชี้ตัวจำเลยได้ถูกต้อง ทั้งยืนยันว่าสร้อยคอพร้อมพระเครื่องและธนบัตรเป็นของตนโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์นอกจากนี้โจทก์ยังมี ธ. และสิบตำรวจโท ป. ซึ่งพบเห็นเหตุการณ์และช่วยกระชากตัวจำเลยและพวกออกจากการทำร้ายผู้เสียหาย คำเบิกความของพยานทั้งสองสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบกันมีเหตุผลและน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย
ที่จำเลยฎีกาว่ามิได้เป็นจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อและให้การรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันโดยสำคัญผิดนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในศาลชั้นต้น เพิ่งมาโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 59