คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซ่อมแซม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายร้ายแรงอาคารเช่า ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ซ่อมแซม และสิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อใช้ประโยชน์ไม่ได้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์มีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองหากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วย ค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้นนั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้นผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่อาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์ให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าสำหรับเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้นถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้ฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซ่อมแซมและผลกระทบจากอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถยนต์ประมาทตัดหน้ารถไฟโจทก์เป็นเหตุให้รถไฟโจทก์ชนและเสียหายค่าใช้จ่ายในโรงงานที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ105.5 ของค่าแรง 1 หน่วย และค่าควบคุมอัตราร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโรงงาน และค่าที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนเหตุที่เกิดละเมิด แม้พนักงานของโจทก์อ้างว่าเป็นระเบียบของโจทก์ให้ถือปฏิบัติโดยนำวิธีการคำนวณมาจากสถิติก็ตาม ถือไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลจากการทำละเมิด ค่ายกรถตกรางซึ่งโจทก์คิดเป็นค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมเพิ่มขึ้นมานั้น สำหรับค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ กับค่าควบคุมซึ่งคิดในอัตราร้อยละ 51 และร้อยละ 25 ของค่าแรงยกรถตามลำดับ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการซ่อมอย่างไร และมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิดส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงาน โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน ค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายซึ่งโจทก์เพิ่มค่าควบคุมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 สำหรับรถโดยสารและในอัตราร้อยละ 15 สำหรับรถสินค้า พนักงานของโจทก์อ้างว่าคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขุดเจาะทำลายทรัพย์สินใต้ดิน และขอบเขตความรับผิดสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
ทางเท้าที่เกิดเหตุเป็นของทางราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ที่จะทำการขุดเจาะทางเท้าจะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่ฝังอยู่ใต้ทางเท้านั้น การที่คนงานของจำเลยที่ 1 ขุดเจาะทางเท้าจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สายเคเบิลไฟฟ้าใต้ดินของโจทก์ที่ฝังอยู่ใต้ดินโดยชอบ เป็นการประมาทและละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้ที่มีส่วนผิดอยู่ด้วยในส่วนของการงานที่สั่งให้จำเลยที่ 1 ทำ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายดังกล่าว พนักงานของโจทก์ที่ไปทำการซ่อมแซมได้รับเงินเดือนประจำจากโจทก์แต่ถ้าไม่มีการทำละเมิดจนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายโจทก์ย่อมใช้พนักงานไปทำงานอื่นของโจทก์ได้โดยไม่ต้องให้ไปทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย และนอกจากนี้หากโจทก์จ้างเหมาให้บุคคลอื่นไปทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหาย จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ชดใช้ค่าแรงงานที่โจทก์จ้างเหมาบุคคลอื่น ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับค่าแรงงานตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททางจราจรและการประเมินค่าเสียหายจากการชน การซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายและสิทธิเรียกร้องค่าแรง
แม้ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(2) คนขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 5 มีสิทธิขับรถผ่านสี่แยกไปก่อนได้ก็ ไม่ได้หมายความว่าจะมีสิทธิขับรถเข้าไปในสี่แยกโดยไม่คำนึงหรือไม่ระมัดระวังหรือไม่ดูว่ามียานพาหนะอื่นแล่นเข้ามาในสี่แยกหรือไม่ ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยกมีทางเดินรถหลายช่องทาง ผู้ขับขี่ยวดยานทุกคนต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าการขับไปตามถนนอย่างธรรมดา การที่คนขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 5 ขับรถด้วยความเร็วสูงเข้าไปในสี่แยกทั้ง ๆ ที่มีรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 3แล่นเข้ามาพร้อมกันจนชนกันอย่างแรงถือว่าเป็นความประมาทของคนขับรถของจำเลยที่ 5 ด้วย แม้คนงานของโจทก์จะมีเงินเดือนประจำ และมีงานทำเป็นปกติแต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าวและมาทำงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกค่าแรงในการทำงานดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการปฏิบัติการชำระหนี้โดยการซ่อมแซม เสาอากาศวิทยุ แทนการชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หลังจากจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของเสาอากาศวิทยุให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย คงประสงค์ให้จำเลยซ่อมแซมและติดตั้งเสาอากาศวิทยุให้ใหม่เท่านั้น อุปกรณ์การซ่อมแซมของจำเลยรายใดไม่เป็นไปตามมาตรฐานของทางราชการ โจทก์ก็เร่งรัดให้จำเลยแก้ไขโดยไม่ได้เรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ใช้เสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่มาโดยตลอด แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาเสาอากาศวิทยุที่จำเลยติดตั้งให้ใหม่แทนการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ตกลงกันไว้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงเป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานการซ่อมแซม แม้ไม่มีการรับรอง ก็ใช้ได้หากมีพยานยืนยัน และการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงเชื่อ ได้ว่าโจทก์ได้จัดการซ่อมรถแทรกเตอร์ให้แก่จำเลยมีรายการตามเอกสารจริง แม้เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเอง โดยไม่มีจำเลยหรือตัวแทนของจำเลยรับรองความถูกต้องกรณีดังกล่าวก็ไม่อยู่ในบังคับกฎหมายให้จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยต้องลงชื่อรับรองความถูกต้อง ศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ คำฟ้องโจทก์ขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ค้างชำระจนถึงวันที่จำเลยจะชำระเสร็จ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมความเสียหายจากการละเมิด และค่าแรงพนักงานที่ถูกใช้ในการซ่อมแซม ถือเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิด
แม้ค่าใช้จ่ายและค่าควบคุมการซ่อมจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่โจทก์จะต้องใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่โจทก์ต้องเสียไปในการซ่อมความเสียหายที่ได้รับ ซึ่งสามารถคิดคำนวณเฉลี่ยออกมาได้ จึงถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการซ่อมที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
เงินค่าแรงที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการซ่อมแซมความเสียหายเกี่ยวกับรถไฟ เสาโทรเลข สายควบคุมพร้อมอุปกรณ์และอื่น ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้ว แต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปซ่อมแซม เพราะถ้าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปทำงานนั้น หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องจ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าแรงดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2506/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการละเมิด: การคำนวณต้นทุนการซ่อมและค่าแรงพนักงานที่เกี่ยวข้อง
จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ค่าใช้จ่ายและค่าควบคุมการซ่อมจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำที่โจทก์จะต้องใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่โจทก์ต้องเสียไปในการซ่อมความเสียหายที่ได้รับ ซึ่งสามารถคิดคำนวณเฉลี่ยออกมาได้ จึงถือได้ว่าเป็นต้นทุนในการซ่อมที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนเงินค่าแรงที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการซ่อมแซมความเสียหายเกี่ยวกับรถไฟ เสาโทรเลข สายควบคุมพร้อมอุปกรณ์ และอื่น ๆ อันเกิดจากการทำละเมิดนั้น แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์ไปทำงานนั้น หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องจ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าแรงดังกล่าวให้โจทก์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายเพื่อตอบแทนพนักงานถึงแก่กรรมและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามตามประมวลรัษฎากร
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วยมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่าสตาฟรีไทร์เมนท์เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ. 2519 และตกลงให้ พ. รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ. ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ. 2520โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ. จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ. เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ. 2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การตีความลักษณะสัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษหรือไม่ และผลต่อการบังคับสัญญา
สัญญาเช่าห้องพิพาทไม่มีข้อความบ่งว่ามีข้อตกลงพิเศษที่โจทก์จะให้เช่าถึง 10 ปี ที่จำเลยเข้าซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงห้องพิพาทกับจ่ายเงินกินเปล่าแก่โจทก์ จึงเป็นธรรมดาของผู้เช่าที่จะต้องกระทำเพื่อซ่อมแซมตกแต่งปรับปรุงให้สวยงามและมีความสะดวกในการใช้สอยให้ได้รับอย่างสมประโยชน์ ส่วนเงินกินเปล่าย่อมถือเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า สัญญาเช่าห้องพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา.(ที่มา-เนติ)
of 10