คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซ้ำซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีค่าเสียหาย: ไม่ถือเป็นการซ้ำซ้อนหากเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่างานเพิ่มและค่าปรับให้แก่โจทก์จำนวน 17,328,145.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวเป็นจำนวน3,718,526.33 บาท พร้อมดอกเบี้ย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดต่อโจทก์เพิ่มขึ้นอีก3,533,741.03 บาท นั้น มิได้เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำนวน 17,328,145.10 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน แม้ตามพินัยกรรมต่างฉบับ ศาลไม่รับคำร้องหากจัดการมรดกรายเดียวกัน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้วายชนม์ไว้แล้วโดยมิได้จำกัดอำนาจของผู้จัดการมรดก การที่ผู้ร้องมาร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้วายชนม์อีกจึงเป็นการร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกซ้อนกัน แม้จะเป็นการร้องขอจัดการมรดกตามพินัยกรรมต่างฉบับกันก็เป็นการขอจัดการมรดกรายเดียวกัน ศาลไม่รับคำร้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521-2522/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทจ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชย: ศาลยืนตามศาลแรงงานกลาง ไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จซ้ำซ้อนหากค่าชดเชยสูงกว่า
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 กำหนดว่า ถ้าบริษัทเลิกจ้างโดยพนักงานไม่มีความผิด จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยตามข้อบังคับฯ ข้อ 9.9 ทั้งหมดแทนเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และหากเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยที่คำนวณไว้ตามข้อ 9.9 มีจำนวนน้อยกว่าเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บริษัทก็จะจ่ายเพิ่มให้เท่ากับเงินค่าชดเชยตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ของทางราชการเพียงอย่างเดียวเช่นกัน มีความหมายว่า หากลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จมีจำนวนน้อยกว่าค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แล้ว ลูกจ้างก็คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ได้รับค่าชดเชยไปถูกต้องแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับดังกล่าวอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการซ้ำซ้อน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้กลับคำพิพากษาเดิม
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้กับคดีก่อนในข้อหาความผิดอย่างเดียวกันการกระทำความผิดทั้งสองคดีอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันและคาบเกี่ยวกัน ผู้เสียหายส่วนมากเป็นรายเดียวกันและพยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกัน หากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ดังนี้เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้ แม้ศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน ก็จะลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวน และให้นับโทษต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่มาตรา 91 บัญญัติไว้ และกรณีนี้แม้คดีที่ศาลสั่งให้นับโทษต่อถึงที่สุดแล้วก็ตาม จำเลยก็ยื่นคำร้องขอไม่ให้นับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาซ้ำซ้อนและการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 รวม 5 กระทง จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพเมื่อสืบพยานไปบ้างแล้วลดโทษให้ 1 ใน 3 คงลงโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 8เดือน ฐานพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก4 เดือน ฐานใช้รถที่ไม่ได้จดทะเบียนและเสียภาษี ปรับ 1,200 บาทฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งประโยชน์อันเกิดจากการที่ตนทำผิดอย่างอื่น จำคุก 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ จำคุก 33 ปี 4 เดือนรวมแล้วคงจำคุก67 ปี 8 เดือน กับปรับ 1,200 บาท แต่โทษจำคุกคงให้จำคุกเพียง50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91(3) นั้น ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วกรณีไม่ใช่นับโทษและลดโทษโดยการนำโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1ที่ศาลลงโทษไว้สองกระทงรวมกันแล้วเปลี่ยนเป็นโทษจำคุก 50ปี ลดโทษลง 1 ใน 3 คงเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน แล้วรวมโทษจำคุกกระทงอื่นเข้าด้วยอีกคงเป็นโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 34 ปี4 เดือนนั้นไม่ตรงตาม ป.อ. มาตรา 91(3).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความยุติคดีแล้ว ห้ามเรียกร้องค่าเสียหายซ้ำซ้อนจากการเลิกจ้าง
โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมขอให้จ่ายค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าการที่โจทก์เลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีก ดังนี้ การที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากโจทก์อีก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างของโจทก์แล้ว ไม่สมควรให้โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเพื่อจดทะเบียนสมรสซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องฐานทำให้ผู้อื่นกระทำความผิด
โจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับน้องสาวของโจทก์ไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยแจ้งต่อนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ให้จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสาร ราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส ณ ที่ใดมาก่อนเพื่อขอจดทะเบียนสมรส กับโจทก์ นายทะเบียนจึงจดทะเบียนสมรสให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่ากะซ้ำซ้อนกับค่าทำงานในวันหยุด และการเรียกร้องเงินคืนจากความผิดพลาดในการคำนวณค่าจ้าง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 นั้น หากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมายังไม่เพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเอง แต่ต้องให้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่คู่ความอุทธรณ์ต่อไป
เดิมโจทก์ซึ่งทำงานเป็นกะจะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดเฉพาะที่ทำงานตรงกับวันหยุด ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะ กำหนดอัตราเงินเพิ่มให้แก่ผู้ปฏิบัติงานกะทุกคนโดยให้ทุกคนมีสิทธิได้รับทุกวันที่มาปฏิบัติงาน แม้จะไม่ตรงกับวันหยุดและโจทก์ได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวนมาก ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะจ่ายเงินเพิ่มค่ากะดังกล่าวเป็นค่าทำงานในวันหยุดไปในตัวทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้กำหนดการจ่ายเงินค่ากะโดยให้รวมค่าทำงานในวันหยุดไว้ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลยอีกได้.
โจทก์ได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามข้อบังคับเดิมจากจำเลยไปแล้วจำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะโดยให้มีผลบังคับย้อนหลังไปด้วย และโจทก์ได้รับเงินเพิ่มสำหรับผู้ปฏิบัติงานกะไปตามข้อบังคับใหม่ครบถ้วนแล้วซึ่งเป็นการซ้ำซ้อนกับเงินที่ได้รับไปแล้วเช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทำงานในวันหยุดที่จ่ายตามข้อบังคับเดิมพร้อมดอกเบี้ยคืนจากโจทก์ได้.
of 7