พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อน และการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้อีกเพราะเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก แม้จะมีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียก่อน
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ผู้คัดค้านจะเพิ่งยกเรื่องคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีก่อนขึ้นอ้างในฎีกาโดยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาก่อน แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องหรือร้องขอเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์: การพิจารณาคำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาทและการขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากเสมียนทนายแจ้งวันนัดต่อทนายโจทก์คลาดเคลื่อน ทนายโจทก์ติดตามสำนวนคดีมาตลอดแต่ไม่อาจตรวจสอบได้ โจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเกินคำขอ และการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษในคดียาเสพติด
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4, 7, 8, 26, 76 โดยมิได้ระบุมาตรา 76/1 มาด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพซึ่งเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ และถือว่าโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 76/1 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้นเกินคำขอไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษไม่ได้แก้กำหนดโทษเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย: เหตุต้องห้ามการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและฎีกาไม่ชัดแจ้ง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มีกำหนด 4 ปี แม้จะมีการเพิ่มโทษหนึ่งในสามเนื่องจากกระทำความผิดซ้ำตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน ก็เป็นการเพิ่มโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิน 5 ปี จึงยังถือว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย อันเป็นเหตุให้คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หมายถึงเฉพาะโทษจำคุกในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มีกำหนด 4 ปี แม้จะมีการเพิ่มโทษหนึ่งในสามเนื่องจากกระทำความผิดซ้ำ ตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน ก็เป็นการเพิ่มโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิน 5 ปี จึงยังถือว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในข้อหานี้ไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงว่าขอให้ศาลฎีกาหยิบยกเรื่องเวลาจับกุม และการที่โจทก์ไม่ขอหมายเรียกพยานบางปากมาเบิกความขึ้นพิจารณาอีกครั้ง โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 คลาดเคลื่อนอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ & การลงโทษตามมาตรา 277/285 ไม่ถือเป็นการเพิ่มโทษ
คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงประการเดียว การกระทำความผิดตามฟ้องของจำเลยเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การกระทำความผิดของจำเลยต้องตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งตามมาตรา 285 เป็นเรื่องที่ต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 277 วรรคสอง หนึ่งในสาม จึงหาใช้เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ กรณีไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้
การกระทำความผิดของจำเลยต้องตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งตามมาตรา 285 เป็นเรื่องที่ต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ในมาตรา 277 วรรคสอง หนึ่งในสาม จึงหาใช้เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ กรณีไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการฟ้องขับไล่พร้อมเรียกค่าเสียหาย: การพิจารณาเรื่องทุนทรัพย์และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้ จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ โจทก์ฟ้องขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 15,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 7,000 บาท โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาย่อมถือว่าในขณะยื่นคำฟ้องนั้น ที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่าคำเบิกความของโจทก์มีพิรุธฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นฎีกาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
ในเรื่องค่าเสียหาย ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 7,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2540 คำนวณถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันฟ้อง ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลฎีกาเกินสองแสนบาทไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในเรื่องค่าเสียหาย ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 7,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2540 คำนวณถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2542 อันเป็นวันฟ้อง ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลฎีกาเกินสองแสนบาทไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.ม.216 โต้แย้งเฉพาะศาลชั้นต้น ไม่โต้แย้งศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 กล่าวถึงคำฟ้องโจทก์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จากนั้นเริ่มเนื้อหาเหตุผลของฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และลงท้ายว่าด้วยเหตุผลดังที่ได้กราบเรียนมาข้างต้นขอศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยที่ 1 พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ข้อความเนื้อหาในฎีกาที่เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคำฎีกาในส่วนนี้คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216