คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี และการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อใช้สิทธิโต้แย้งภายหลัง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2546 เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษามาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกฟ้องโดยอาศัยข้อกฎหมายและเป็นการพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีของโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน & การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืนคู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า และขอให้รอการลงโทษมานั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และการโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองและหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว ปรับ 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ดังนี้ แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี คดีนี้จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลอุทธรณ์แก้โทษลดลง ไม่เกิน 5 ปี ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม, 277 วรรคแรก เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 5 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 9 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 รวมจำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องคงลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงเช่นเดิม เพียงแต่ให้ยกคำขอที่ให้เพิ่มโทษ โจทก์มิได้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่เพิ่มโทษ จึงมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องไม่เพิ่มโทษซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดทั้งสองฐานความผิดจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ลงโทษจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) (ที่ถูกมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) ด้วย) ลงโทษจำคุก 4 ปี แม้จะเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ทั้งบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การบังคับคดี – ไม่ขายทรัพย์สินรวม – ราคาต่ำเกินสมควร
อุทธรณ์ของผู้ร้องมีอยู่ 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษารวมกันไปทั้งหมด เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำเกินสมควร เป็นการกระทำไม่สุจริตตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 309 ทวิวรรคสอง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นที่สอง โดยรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องฎีกาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเพียงเล็กน้อย และการฎีกาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 จำคุก 3 ปี ส่วนความผิดฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43 (4) , 157 ซึ่งเป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญานั้น ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยไว้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทความผิดฐานขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งเป็นความผิดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง กับแก้โทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ให้เบาลงจากจำคุก 3 ปี เหลือเพียงจำคุก 1 ปี จึงนับเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเล็กน้อยเท่านั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
of 50