พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด
คำฟ้องของโจทก์บรรยายรายละเอียดไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์หลายครั้ง รวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า "คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับใบสั่งซื้อตั้งแต่รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 60 ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อของจำเลยทั้งสองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า "โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" แปลได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 อาจซื้อสินค้าไปจากโจทก์จริงดังฟ้องก็ได้ ส่วนคำให้การที่มีมาก่อนหน้านั้นที่ว่า "ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อขายของจำเลยทั้งสอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์" เป็นฟ้องขยายความให้การที่ว่าไม่ขอรับรองเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันปฏิเสธ คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปรวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้ยืม ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดหากสูงเกินส่วน
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25,16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 461 และเลขที่ 2378พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอแต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก. จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่ 462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 461 และเลขที่ 2378พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอแต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก. จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่ 462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินควร
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาท ได้กำหนดไว้เป็น 2 อัตรา คืออัตราสูงสุดสำหรับกรณี ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดลงได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อดอกเบี้ยอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดซึ่งใช้สำหรับ กรณีที่ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาว่าประสงค์จะให้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยกำหนดเป็นค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายอนุญาต
อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าตามปกติที่สัญญากำหนดไว้ ซึ่งไม่เกินอัตราที่กฎหมายอนุญาตให้โจทก์คิดได้ มิใช่ลดลงมาต่ำกว่าอัตราดังกล่าว สัญญากู้ข้อ 2 ระบุให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญา และโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญา แต่หลังจากวันที่ประกาศของโจทก์ลงวันที่ 5 มีนาคม 2541 ข้อ 2 ที่ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ระบุอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดได้ไม่เกินอัตราดังกล่าว ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นลดจำนวนเบี้ยปรับโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องร้อยละ 15 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราที่ระบุในประกาศข้อ 2 ดังกล่าว จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาซื้อขายลดเช็ค ศาลฎีกาชี้ว่าดอกเบี้ยผิดนัดเกินอัตราตามสัญญา ลดลงได้เฉพาะส่วนที่เกิน
ข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มในกรณีลูกหนี้ผิดนัดนั้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปียังไม่ถูกต้อง เพราะตามสัญญามีข้อตกลงจะชำระดอกเบี้ยตามปกติโดยไม่ผิดนัดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีและถ้าผิดนัดจึงจะคิดเพิ่มขึ้นจากนี้ ดังนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับเฉพาะส่วนที่เกินจากร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปี การลดลงจึงลดลงได้ต่ำสุดในอัตราร้อยละ 14 และ 13.75 ต่อปีจะลดลงให้ต่ำกว่านี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญา, การลดดอกเบี้ยผิดนัด, และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณซ้ำซ้อน
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้นข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาล เห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้น จะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ย ครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไปขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปีดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีกศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดและการปรับปรุงเบี้ยปรับ: สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยสูงสุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ดุลพินิจศาล
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลยให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14ต่อปี
ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และหากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมาสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงินดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และหากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมาสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงินดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ