คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดุลพินิจศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดี, ดุลพินิจศาล, และอำนาจศาลอุทธรณ์
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีก พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13(2) ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษคดีจราจรและการไม่แก้ไขโทษที่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ฐานขับรถขณะเมาสุรา และมาตรา 78 วรรคหนึ่งฐานไม่หยุดให้การช่วยเหลือและแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนต้องกันมาให้รอการลงโทษแก่จำเลยกับให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ ดังนี้ แต่โจทก์มิได้ฎีกาศาลอุทธรณ์ฎีกามาแต่เฉพาะในปัญหาว่าไม่ควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกโดยคุมความประพฤติจำเลยไว้เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน: ศาลมีดุลพินิจในการคิดดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องได้
++ เรื่อง สัญญา ค้ำประกัน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 69 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลเมื่อมีเหตุจำเป็นหรือไม่สมควร
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้งครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วย ครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลยไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าวเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี
การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเอง คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้ดุลพินิจของศาลที่ไม่ต้องตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการ
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกทนายจำเลยอ้างว่าจำเลยป่วยครั้งที่สองทนายจำเลยอ้างว่า ไปงานเลี้ยงดึกและ ตอนเช้าท้องเสีย ไม่สามารถสืบพยานได้ ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยโดยกำชับ ทนายจำเลยไว้ทั้ง 2 ครั้ง ว่าให้เตรียมพยานมาให้พร้อม เมื่อถึงวันนัดครั้งที่สามผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยนำคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยมายื่นต่อศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าทนายจำเลย ไม่สามารถมาว่าความได้เพราะได้ว่าความในตอนเช้าและมีอาการ ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แต่ทนายจำเลย ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าอาการปวดศีรษะดังกล่าว เป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อันจะเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรจึงเป็นการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้ที่มาศาลไม่ได้ว่าผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดให้ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยเสมอไป ดังนี้เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของผู้นั้นและศาลชั้นต้นพิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าผู้นั้นยังสามารถมาศาลได้เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการเจ็บป่วยนั่นเองคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ร้องในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 7 วัน ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ทั้งกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็เป็นเวลาที่สมควรแล้วการที่ผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ซึ่งศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ ตามมาตรา 132(1)ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการนำหมายไว้แล้วก็ตาม แม้หากจะฟังได้ว่าเป็นความจริงก็หาทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ แม้กรณีจะถือว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ แต่มาตรา 132แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้อำนาจศาลที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม สำหรับกรณีของผู้ร้องนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาว่า ผู้ร้องได้วางเงินค่าธรรมเนียมการส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์แล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องทางฝ่ายเจ้าพนักงานศาลเองที่ไม่ส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานเดินหมายเช่นนี้ กรณีจึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องศาลฎีกามีคำสั่งให้ผู้ร้องจัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสี่นั้น กฎหมายมิได้บังคับว่าเมื่อมีผู้ยื่นคำร้องขอดังกล่าวศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี เมื่อคำร้องขอไม่ได้ระบุว่าจำเลยมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอื่นใดอันจะทำให้เห็นว่าฐานะของจำเลยมิได้เป็นดังเช่นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขอที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเดินเผชิญสืบ: ดุลพินิจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริง
คู่ความตอกลงกันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดีโดยไม่ติดใจสืบพยานอื่นใดอีกต่อไปและตามข้อตกลงของคู่ความมีลักษณะให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นประสงค์จะหาข้อเท็จจริงเพียงใดจากการเดินเผชิญสืบก็ได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับให้ศาลชั้นต้นต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาท และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการเดินเผชิญสืบจะต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาทดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทพร้อมกับทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของที่ดินพิพาท ลักษณะของลำรางพิพาทว่าเป็นอย่างไร และมีอยู่อย่างไรแล้ววินิจฉัยคดีไปโดยไม่สอบถามพยานบุคคลหรือตรวจสอบพยานเอกสารอื่นอีกถือได้ว่าศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อตกลงของคู่ความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดและการปรับปรุงเบี้ยปรับ: สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยสูงสุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ดุลพินิจศาล
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลยให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14ต่อปี
ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และหากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมาสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงินดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 25